RSUSSH 2020

NA20-077 แนวทางการสร้างพื้นที่อยู่ร่วมกันสำหรับสัตว์ป่าและมนุษย์

นำเสนอโดย: อานันท์ สมบูรณ์จันทร์
มหาวิทยาลัยรังสิต, ไทย

Abstract

     การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อหาวิธีการออกแบบพื้นที่อยู่ร่วมกันระหว่างมนุษย์และสัตว์ป่าที่ไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ในอนาคตโดยใช้กรอบแนวคิดการออกแบบการจัดการเชิงพื้นที่และสถาปัตยกรรม การดำเนินการวิจัยเริ่มที่ศึกษาพฤติกรรมกรรมของสัตว์ป่าแต่ละชนิดที่มีต่อมนุษย์ในแต่ละรูปแบบพื้นที่และระบบนิเวศที่เป็นปัจจัยหลักในการดำรงชีวิตของสัตว์ป่าเหล่านั้น เก็บรวบรวมและจัดหมวดหมู่เรียงลำดับความสำคัญของข้อมูลนำมาวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อหาปัจจัยที่สามารถเชื่อมโยงระหว่าง สัตว์ป่ากับมนุษย์ เพื่อกำหนดแนวทางการดำเนินการออกแบบปรับเปลี่ยนพื้นที่ให้เหมาะสมกับการดำรงชีวิตของสัตว์ป่าและมนุษย์บนพื้นที่เดียวกันได้อย่างปลอดภัย  ผลการศึกษาพบว่า ความปลอดภัยเป็นหลักพิจารณาพื้นฐานที่สำคัญต่อการกำหนดรูปแบบของพื้นที่ที่ส่งผลโดยตรงต่อกลไกการอยู่ร่วมกันระหว่างสัตว์ป่าแต่ละชนิดกับมนุษย์ในพื้นที่รูปแบบที่มีระบบนิเวศที่แตกต่างกัน กระบวนการในการออกแบบประกอบด้วย 1.การเว้นระยะการอยู่ร่วม 2. การออกแบบเชิงพื้นที่  3.การใช้องค์ประกอบทางสถาปัตยกรรม  ผู้วิจัยได้ออกแบบการจัดการเชิงพื้นที่และสถาปัตยกรรมที่แบ่งตามความเหมาะสมโดยคำนึงถึงความปลอดภัยทั้งของสัตว์ป่าและมนุษย์

Keywords: การจัดการเชิงพื้นที่; พื้นที่อยู่ร่วมกัน; สัตว์ป่าและมนุษย์

Citation format:

อานันท์ สมบูรณ์จันทร์, และธนัฐวัสส์ วงศ์ทิมารัตน์. (2020). แนวทางการสร้างพื้นที่อยู่ร่วมกันสำหรับสัตว์ป่าและมนุษย์. เอกสารสืบเนื่องจากการประชุมระดับชาติมหาวิทยาลัยรังสิต ประจำปี 2563. วันที่ 1 พฤษภาคม 2563.

QUESTIONS & ANSWERS

Sutthipan Udom (Visitor)

เงื่อนไขทางการออกแบบว่าสุดท้ายแล้ว จากการศึกษาควรเน้นที่การจัดการพื้นที่ในเชิงผังบริเวณ หรือ สามารถแก้ปัญหาการอยู่ร่วมได้ด้วยการออกแบบทางสถาปัตยกรรมในรูปแบบอาคาร?

อานันท์ สมบูรณ์จันทร์ (Presenter)

ผู้วิจัยเน้นศึกษาในส่วนการของการออกแบบเชิงพื้นที่ในรูปแบบต่างๆ ที่จะนำไปปรับใช้กับพื้นที่อยู่อาศัยของมนุษย์หรือบริเวณตัวอาคาร

ไม่เกี่ยวข้องกับการออกแบบอาคารโดยตรง เนื่องจากผลสุดท้ายแล้วผู้ใช้อาคารก็เป็นมนุษย์ซึ่งสัตว์ป่าไม่ได้มีส่วนร่วมกับการใช้อาคาร

Mrs. Supattra Radsiri (Visitor)

ในการนำเสนอกระบวนการออกแบบ ส่วนที่ 3 การใช้องค์ประกอบทางสถาปัตยกรรม กรณีการใช้พื้นที่ในแนวราบร่วมกัน (พื้นที่ระดับเดียวกัน) มิติทางความสูง ซึ่งมีผลต่อความปลอดภัยและความรู้สึก (เช่น ความอึดอัด, ความหวาดกลัว ฯลฯ) ของทั้งคนและสัตว์ป่า มีแนวทางในการออกแบบอย่างไร 

Thanunchai Limpakom (Visitor)

จากหลักการทั้ง 3 ข้อ ที่กล่าวมา พร้อมแนวทางทีทดลองที่นำเสนอนั้น ล้วนแต่ไม่ต่างกับการสร้างขอบเขตเพื่อกั้นมนุษย์และสัตว์ให้เจอกันแบบห่างๆ หรือมีขอบเขตที่ชัดเจน ขอบใครของมัน ทำให้รู้สึกถึงสวนสัตว์ ซึ่งเป็นการใช้สถาปัตยกรรมในกาแก้ปัญหา แต่ที่นี่ประเด็นที่น่าสนใจจากที่ผู้วิจัยนำเสนอคือการจัดการเรื่องพื้นที่ ซึ่งอยากให้นำเสนอในเชิงลึกว่ามีหลักการอย่างไร หรือมีลักษณะอย่างไร เพื่อความชัดเจน

Thanunchai Limpakom (Visitor)

จากหลักการทั้ง 3 ข้อ ที่กล่าวมา พร้อมแนวทางทีทดลองที่นำเสนอนั้น ล้วนแต่ไม่ต่างกับการสร้างขอบเขตเพื่อกั้นมนุษย์และสัตว์ให้เจอกันแบบห่างๆ หรือมีขอบเขตที่ชัดเจน ขอบใครของมัน ทำให้รู้สึกถึงสวนสัตว์ ซึ่งเป็นการใช้สถาปัตยกรรมในกาแก้ปัญหา แต่ที่นี่ประเด็นที่น่าสนใจจากที่ผู้วิจัยนำเสนอคือการจัดการเรื่องพื้นที่ ซึ่งอยากให้นำเสนอในเชิงลึกว่ามีหลักการอย่างไร หรือมีลักษณะอย่างไร เพื่อความชัดเจน

Supayada (Visitor)

อยากทราบว่า เรามีข้อจำกัดในการสร้างพื้นที่ระหว่างมนุษย์และสัตว์อย่างไรบ้างคะ 

ถ้ามนุษย์เป็นผู้ใช้อาคาร แล้วมิติของสัตว์ที่อยู่ร่วมกับมนุษย์ สามารถมีการดำรงชีวิตได้อย่างไรบ้าง แบบไหนได้บ้างคะ 

ขอบคุณค่ะ เป็นประเด็นที่น่าสนใจมากค่ะ

สมสฤทธิ์ ตาณพันธุ์ (Participant)

น่าสนใจครับ

แนวคิดคล้ายกับการออกแบบสวนสัตว์เปิด

ส่วนตัวแล้วสัตว์ป่าก็ควรอยู่ป่า คนก็อยู่ในชุมชนและเมือง เพียงแต่ว่าจะทำอย่างไรที่คนจะมีจิตสำนึกในการรักษ์ป่ารักษ์สัตว์ร่วมโลกเพื่อคนรุ่นต่อไป

และหากกรณ๊ที่เกิดขึ้นแล้วเป็นปัญหาที่น่าสนใจ เช่น จ ลพบุรี คนกับลิง ผังชุมชนและการออกแบบสถาปัตยกรรมจะช่วยแก้ปัญหานี้ได้อย่างไร

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

สัตว์ร่วมโลกเรา 

อานันท์ สมบูรณ์จันทร์ (Presenter)

เรียนคุณ MRS. SUPATTRA RADSIRI 

การออกแบบหรือการได้มาขององค์ประกอบทางสถาปัตยกรรม ต้องผ่านกระบวนการวิเคราะห์จากสัตว์ป่าชนิดนั้นๆ ควบคู่กับมนุษย์ ทั้ง ทางพฤติกรรม ทางกายภาพ และทางการรับรู้ต่างๆ จึงจะได้ชิ้นส่วนทางสถาปัตยกรรมที่เหมาะสม ซึ่งรูปแบบจะต่างกันออกไปตามประเภทของสัตว์ป่ารวมถึงบริบท

อานันท์ สมบูรณ์จันทร์ (Presenter)

เรียนคุณ THANUNCHAI LIMPAKOM

การจัดการเชิงพืื้นที่ มีหลายรูปแบบขึ้นอยู่กับการใช้งานของมนุษย์รวมถึงชนิดของสัตวป่าแต่ละชนิด ผ่านการทดลองศึกษารูปแบบพื้นที่ ที่มีความเป็นไปได้ระหว่างสัตว์ป่าชนิดนั้นกับมนุษย์ ยกตัวอย่างจากการวิจัย เช่น เมื่อช้างอยู่ด้านบนคนอยู่ด้านล่าง หรือช้างอยู่ด้านล่างคนอยู่ด้านบน การรับรู้ต่างกันอย่าง และระหว่าง 2 รูปแบบนี้ มีข้อดีข้อเสียต่างกันอย่างไร เมื่อพิสูจน์ ทั้ง 2 รูปแบบในทุกมิติการรับรู้แล้วจึงนำรูปแบบที่เหมาะสมที่สุดไปสร้างเป็น typology บวกกับองค์ประกอบทางสถาปัตยกรรมต่อไป

อานันท์ สมบูรณ์จันทร์ (Presenter)

เรียนคุณ SUPAYADA 

ข้อจำกัดของการสร้างพื้นการอยู่กัน คือ จำนวนประชากรของสัตว์ป่าและการใช้งาน ซึ่งเป็นส่วนสำคัญที่จะต้องศึกษาอย่างรอบคอบ ซึ่งมนุษยสามารถควบคุมมนุษยกันเองผ่านระบบ ระเบียบ กฎเกณฑ์ เพื่อควบคุมการใช้งานพื้นที่ได้ แต่มนุษย์ไม่สามารถควบคุมการใช้พื้นที่ของสัตว์ป่าได้ ซึ่งในส่วนของรูปแบบการอยู่ร่วมกัน มีหลายลักษณะไม่ได้มีเพียง อยู่กันแบบใกล้ชิด ซึ่งหมายถึง สัตว์และมนุษย์สามารถอยู่ร่วมกันผ่านการ รับรู้ ในการมอง การได้ยินเสียง หรือการได้กลิ่น โดยทั้งนี้ถือเป็นพื้นฐานการอยู่ร่วมกันเบื้องต้นซึ่งจะค่อยๆพัฒนาความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์และสัตว์ดียิ่งขึ้นจนสามารถใกล้ชิดกันได้

ขอบคุณครับ

อานันท์ สมบูรณ์จันทร์ (Presenter)

เรียนคุณ สมสฤทธิ์ ตาณพันธุ์

ในกรณีของลิงกับมนุษย์ โดยจากการวิจัยที่ได้แบ่งประเภทสัตว์ออกเป็น 4 ประเภทตามลำดับ ซึ่งลิงจัดอยู่ในรูปแบบประเภทสุดท้ายที่มีความยากในการสร้างพื้นที่มากที่สุด การออกแบบเชิงพื้นที่จะมีลักษณะตายตัวและมีข้อจำกัด ทั้ง ศักยกาพการดำรงชีวิตของลิงที่สามารถเข้าถึงพื้นที่ได้ทุกรูป ซึ่งการแก้ไขปัญหาจึงต้องมองถึงระบบเมือง และมุ่งเน้นในส่วนการทดลองใช้ชิ้นส่วนของสถาปัตยกรรมที่สามารถจำกัดการเข้าถึงของลิงในพื้นที่มนุษย์ว่าจะมี รูปแบบใดบาง โดยกรณีลิงกับมนุษย์ถือเป็นหลักฐานสำคัญอีกหนึ่งกรณีว่าการปล่อยปัญหาการอยู่กันระหว่างสัตว์ป่าและมนุษย์ จะส่งผลกระทบคืนมาสู่มนุษย์เองด้วย ซึ่งคาดว่าถ้าชุมชนเมืองนี้ไม่ได้รับการแก้ไข จะเกิดผลกระทบในวงกว้างมากกว่าที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน

ทั้งนี้การอยู่ร่วมกันระหว่างสัตว์ป่าและมนุษย์ ยังคงไม่สามารถเกิดขึ้นได้ทั้งหมด เนื่องจากตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา มนุษย์ได้ส่งต่อความคิดที่ว่า สัตว์ป่าต้องอยู่ในป่า มนุษย์ต้องอยู่ในเมือง จึงเกิดเป็นปัญหาถึงทุกวันนี้ เพราะฉะนั้นผลลัพธ์ของการศึกษางานวิจัยในครั้งไม่ใช่เพียงแค่สร้างพื้นที่อยู่ร่วมกัน แต่จะเป็นการพัฒนาความคิดและส่งต่อแนวคิดที่ว่า มนุษย์และสัตว์ป่าสามารถอยู่ร่วมกันได้

ขอบคุณครับ