RSUSSH 2020

NA20-092 ศึกษาการใช้งานพันธุ์ไม้ช่วยลดมลภาวะทางอากาศเพื่อใช้ในโครงการคอนโดรักษ์สิ่งแวดล้อมในเมือง

นำเสนอโดย: นภัสวัลย์ เกิดนรินทร์
มหาวิทยาลัยรังสิต, ไทย

Abstract

    ผู้ดำเนินการวิจัยมีวัตถุประสงค์จะทำการออกแบบโครงการการพัฒนาอาคารที่อยู่อาศัยแนวตั้งในเมืองซึ่งนำธรรมชาติและเทคโนโลยีแบบพึ่งพาธรรมชาติมาช่วยในการแก้ไขปัญหาผลกระทบของมลภาวะด้านสิ่งแวดล้อมโดยเฉพาะฝุ่นละออง เพื่อสนับสนุนแนวคิดการสร้างความยั่งยืนของเมือง โดยมีแนวคิดหลักในการนำพันธ์ไม้ต่างๆซึ่งลดมลภาวะมาใช้งานรวมทั้งนำพันธ์ไม้ดังกล่าวมาสร้างเป็นชิ้นส่วนหรือองค์ประกอบของอาคารเพื่อช่วยแก้ปัญหาดังกล่าวให้มากที่สุด งานวิจัยชิ้นนี้ถูกจัดทำขึ้นเพื่อสนองตอบต่อแนวคิดดังกล่าวโดยเริ่มการวิจัยจากการออกแบบตารางที่เหมาะสมในการจัดกลุ่มพันธ์ไม้เพื่อใช้วิเคราะห์รูปแบบจากข้อมูลซึ่งถูกเผยแพร่ทางอินเทอร์เน็ตในปัจจุบันจากกระแสปัญหาฝุ่น PM 2.5 ทั้งในแง่การใช้งานเพื่อการป้องกันและลดมลพิษ ทั้งในแง่ความงามและการบำรุงรักษา เพื่อคัดเลือกรูปแบบพันธ์ไม้ที่เหมาะสมไปใช้เป็นส่วนประกอบในการออกแบบชิ้นส่วนขององค์ประกอบแนวตั้งและแนวนอนของอาคารในขั้นตอนการออกแบบสถาปัตยกรรมที่เหมาะสมในการป้องกันและแก้ไขปัญหามลภาวะของโครงการตามที่ได้กล่าวมาในขั้นต่อไป จากผลการวิจัยพบว่ามีพันธ์ไม้บางส่วนสามารถถูกนำมาใช้เป็นส่วนประกอบของชิ้นส่วนอาคารในการทำหน้าที่ปรับมลภาวะทางอากาศให้กับอาคารได้ตามวัตถุประสงค์ของการศึกษา หากยังต้องการความรู้ในการดูแลรักษาในรายละเอียดปลีกย่อยต่างๆ เช่นปริมาณการให้น้ำ, ปริมาณการรับแสง, ผลกระทบจากลมแรงเนื่องจากเป็นอาคารสูง วาระการสับเปลี่ยนกระถาง ฯลฯ ซึ่งควรต้องใช้ผู้เชี่ยวชาญทางด้านพันธ์ไม้โดยตรงมาเป็นที่ปรึกษาโครงการในกรณีเป็นโครงการจริง

Keywords: มลภาวะทางอากาศ; มลภาวะทางอากาศ; PM2.5; เทคโนโลยีแบบพึ่งพาธรรมชาติ

Citation format:

เอก เจริญศิลป์, และนภัสวัลย์ เกิดนรินทร์. (2020). ศึกษาการใช้งานพันธุ์ไม้ช่วยลดมลภาวะทางอากาศเพื่อใช้ในโครงการคอนโดรักษ์สิ่งแวดล้อมในเมือง. เอกสารสืบเนื่องจากการประชุมระดับชาติมหาวิทยาลัยรังสิต ประจำปี 2563. วันที่ 1 พฤษภาคม 2563.

QUESTIONS & ANSWERS

ส่งศักดิ์ อ่อนสุวรรณ์ (Participant)

ขอสอบถามเกณฑ์ในการแบ่งรูปแบบพันธ์ูไม้มีเกณฑ์ในการแบ่งอย่างไรครับ

ส่งศักดิ์ อ่อนสุวรรณ์ (Participant)

ขอสอบถามเกณฑ์ในการแบ่งรูปแบบพันธ์ุไม้มีเกณฑ์ในการแบ่งอย่างไรครับ

Songpol Atthakorn (Participant)

เป็นการรวบรวมข้อมูลขั้นต้นที่น่าสนใจครับ อยากทราบว่างานวิจัยได้มีการทดสอบเชิงวิทยาศาสตร์หรือเชิงสุนทรียภาพอย่างไร และผลจากการประยุกต์ใช้ในอาคารสูงน่าจะเป็นอย่างไรบ้างครับ

สมสฤทธิ์ ตาณพันธุ์ (Participant)

การนำพันธุ์ไม้ป้องกันปัญหามลภาวะมาใช้เป็นส่วนประกอบในการออกแบบชิ้นส่วนขององค์ประกอบแนวตั้ง และแนวนอนของอาคารสูง นอกจากข้อดีดังกล่าว จะมีข้อเสียด้านอื่นๆอะไรบ้างหรืออย่างไรบ้างหรือไม่ครับ

ขอบคุณครับ

นภัสวัลย์ เกิดนรินทร์ (Presenter)

@ ส่งศักดิ์ อ่อนสุวรรณ์
ขอขอบคุณสำหรับคำถามของคุณส่งศักดิ์ ที่กรุณาให้ความสนใจค่ะ

เกณฑ์ในการแบ่งรูปแบบพันธ์ุไม้ ใช้การแบ่งตามเกณฑ์จากเวบไซท์ที่ถูกนำมาใช้เป็นข้อมูลตามอ้างอิงเลยค่ะ

นภัสวัลย์ เกิดนรินทร์ (Presenter)

@Songpol Atthakorn
ขอขอบคุณสำหรับคำถามของคุณ Songpol Atthakorn ที่กรุณาให้ความสนใจค่ะ

ในประเด็นทางด้านความเป็นวิทยาศาสตร์
ตามที่ได้กล่าวมางานวิจัยใช้ข้อมูลซึ่งอ้างอิงคุณสมบัติด้านต่างๆของพันธ์ไม้จากอินเตอร์เนทจากกระแสปัญหามลภาวะ PM 2.5 ในช่วงปัจจุบัน
จึงไม่ได้มีการทดสอบความถูกต้องในส่วนนี้อย่างเป็นระบบ ผูวิจัยคิดว่าหากต้องการให้เนื้อหาในงานวิจัยมีความเที่ยงตรงและได้รับการยอมรับในทางวิทยาศาสตร์มากขึ้นควรเปลี่ยนการหาข้อมูลไปสู่แหล่งข้อมูลที่มีการพิสูจน์ในทางวิจัยหรือการยอมรับในทางวิชาการมากกว่านี้

ในประเด็นทางด้านสุนทรียภาพ
เป็นส่วนที่จะนำข้อมูลที่ได้ในขั้นต้นจากงานวิจัยชิ้นนี้ไปทำการออกแบบขั้นต่อไปในโครงการคอนโดรักษ์สิ่งแวดล้อมในเมือง
ทั้งนี้ในงานวิจัยชิ้นนี้ได้นำเสนอกรณีศึกษาของโครงการคอนโดแนวตั้งในเมืองจำนวน 2 โครงการอันเป็นโครงการตัวอย่างซึ่งเป็นที่ยอมรับและได้รับการชื่นชม

 

นภัสวัลย์ เกิดนรินทร์ (Presenter)

@สมสฤทธิ์ ตาณพันธุ์
ขอขอบคุณสำหรับคำถามของคุณสมสฤทธิ์ที่กรุณาให้ความสนใจค่ะ

ข้อเสียและปัญหาต่างๆที่คาดว่าจะเกิดขึ้นได้แก่ ความเข้าใจธรรมชาติของพันธ์ไม้แต่ละชนิด รายละเอียดปลีกย่อยในการดูแลรักษา เช่นปริมาณการให้น้ำ ปริมาณการรับแสง วาระการหมุนเวียนสับเปลี่ยนกระถาง ฯลฯ เป็นเรื่องซึ่งต้องใช้ผู้เชี่ยวชาญทางด้านพันธ์ไม้โดยตรงมาเป็นที่ปรึกษาโครงการในกรณีเป็นโครงการจริง นำมาซึ่งค่าใช้จ่ายในเรื่องการบำรุงรักษา