RSUSSH 2020
NA20-071 การพัฒนาบทปฏิบัติการเคมี เรื่อง การหาปริมาณน้ำตาลโดยใช้อุปกรณ์ตรวจวิเคราะห์บนกระดาษร่วมกับการวิเคราะห์แบบเทียบสี เพื่อส่งเสริมทักษะการเรียนรู้และนวัตกรรมสำหรับนิสิตระดับปริญญาตรี
นำเสนอโดย: จันทะลังสอน กองกา
มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, ไทย
Abstract
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อการพัฒนาบทปฏิบัติการเคมี เรื่อง การหาปริมาณน้ำตาลโดยใช้อุปกรณ์ตรวจวิเคราะห์บนกระดาษร่วมกับการวิเคราะห์แบบเทียบสี เพื่อส่งเสริมทักษะการเรียนรู้และนวัตกรรมสำหรับนิสิตระดับปริญญาตรี โดยการเปรียบเทียบคะแนนก่อนเรียนและหลังเรียน ในด้านทักษะความคิดสร้างสรรค์และนวัตกรรม ด้านการใช้นวัตกรรม กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในงานวิจัย คือ นิสิตหลักสูตรการศึกาษาบัณฑิต ชั้นปีที่ 4 สาขาเคมี ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2562 คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ กรุงเทพมหานคร จำนวน 22 คน ที่ได้มาจากการเลือกแบบเจาะจง ซึ่งเครื่องมือที่ใช้ประกอบด้วย การพัฒนาบทปฏิบัติการเคมี เรื่อง การหาปริมาณน้ำตาลโดยใช้อุปกรณ์ตรวจวิเคราะห์บนกระดาษร่วมกับการวิเคราะห์แบบเทียบสี เพื่อส่งเสริมทักษะการเรียนรู้และนวัตกรรมสำหรับนิสิตระดับปริญญาตรีและแบบประเมินทักษะความคิดสร้างสรรค์และนวัตกรรม ด้านการใช้นวัตกรรม ผลวิจัยพบว่า คะแนนหลังเรียนที่จัดการเรียนรู้ด้วยการพัฒนาบทปฏิบัติการเคมี เรื่อง การหาปริมาณน้ำตาลโดยใช้อุปกรณ์ตรวจวิเคราะห์บนกระดาษร่วมกับการวิเคราะห์แบบเทียบสี เพื่อส่งเสริมทักษะการเรียนรู้และนวัตกรรมสำหรับนิสิตระดับปริญญาตรี ในด้านทักษะความคิดสร้างสรรค์และนวัตกรรม ด้านการใช้นวัตกรรม มีคะแนนเฉลี่ยหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
Citation format:
จันทะลังสอน กองกา, และปิยรัตน์ ดรบัณฑิต. (2020). การพัฒนาบทปฏิบัติการเคมี เรื่อง การหาปริมาณน้ำตาลโดยใช้อุปกรณ์ตรวจวิเคราะห์บนกระดาษร่วมกับการวิเคราะห์แบบเทียบสี เพื่อส่งเสริมทักษะการเรียนรู้และนวัตกรรมสำหรับนิสิตระดับปริญญาตรี. เอกสารสืบเนื่องจากการประชุมระดับชาติมหาวิทยาลัยรังสิต ประจำปี 2563. วันที่ 1 พฤษภาคม 2563.QUESTIONS & ANSWERS
1. ในสไลด์หน้า 8 แบบประเมินชิ้นงานด้านทักษะความคิดสร้างสรรค์และนวัตกรรมที่เป็นเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย เป็นแบบประเมินเดียวกันกับ pretest และ post-test ในหน้า 10 หรือไม่ ถ้าไม่ใช่แบบทดสอบเดียวกัน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยควรจะต้องมี pretest และ post-test ในหน้า 10 ด้วยไหมค่ะ และถ้าไม่ใช่แบบทดสอบเดียวกัน ควรนำเสนอผลการประเมินของแบบประเมินชิ้นงานด้านทักษะความคิดสร้างสรรค์และนวัตกรรม
2. แบบทดสอบ pretest และ post-test เป็นแบบทดสอบวัดทักษะทางด้านใด วัดความเข้าใจในเนื้อหาวิชาเคมีหรือวัดทักษะเพิ่มเติมอะไรบ้าง
3. การเปรียบเทียบคะแนนก่อนเรียนและหลังเรียนซึ่งส่วนใหญ่คะแนนหลังเรียนจะได้มากกว่าคะแนนก่อนเรียน ดังนั้นเพื่อบอกประสิทธิภาพของบทปฏิบัติการที่พัฒนาขึ้นควรมีผลการวิจัยที่เป็นพฤติกรรมของผู้เรียนขณะเรียนด้วยบทปฏิบัติการเคมีนี้
คำตอบของ ผศ.ดร.อรจิรา อารักษ์สกุลวงศ์ (CHAIRPERSON)
- ผู้วิจัยได้นำเสนอในสไลด์หน้าที่ 8 แบบประเมินชิ้นงานด้านทักษะความคิดสร้างสรรค์และนวัตกรรมที่ใช้ในการวิจัย เป็นแบบประเมินเดียวกันกับ pretest และ post-test ในหน้า 10 ค่ะ
- แบบทดสอบ pretest และ post-test เป็นแบบทดสอบวัดทักษะทางด้านความคิดสร้างสรรค์และนวัตกรรมที่ประกอบด้วย ความคิดสร้างสรรค์ การทำงานร่วมกันและการใช้นวัตกรรม ผู้วิจัยได้ประเมินให้คะแนนชิ้นงานที่นิสิตได้ออกแบบแล้วสร้างเป็นชิ้นงานจริง ผู้วิจัยไม่ได้วัดเนื้อหาวิชาเคมีค่ะ
- บทปฏิบัติการเคมีได้ประเมินความเหมาะสมจากผู้เชี่ยวชาญ 3 ท่าน และได้ทดลองใช้ในเบื้องต้นก่อนนำมาใช้จริง ในส่วนพฤติกรรมของนิสิตขณะเรียน พบว่า ขณะนิสิตปฏิบัติกิจกรรม นิสิตแสดงออกถึงทักษะการคิดสร้างสรรค์อย่างชัดเจน โดยพิจารณาได้จากพฤติกรรมการทำงานและชิ้นงานที่นิสิตได้สร้างขึ้น ผู้วิจัยจะนำส่วนนี้มาปรับปรุงค่ะ
ขอบคุณค่ะ