RSUSSH 2020

NA20-093 สาเหตุและปัจจัยที่ก่อให้เกิดพฤติกรรมรุนแรงของนักศึกษาในกรุงเทพมหานคร

นำเสนอโดย: ณัฐกร เทียนจันทร์
มหาวิทยาลัยรังสิต, ไทย

Abstract

     การศึกษาเรื่องสาเหตุและปัจจัยที่ก่อให้เกิดพฤติกรรมรุนแรงของนักศึกษาในกรุงเทพมหานคร โดยมีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อเปรียบเทียบสถานการณ์พฤติกรรมความรุนแรงนักศึกษาในกรุงเทพมหานคร 2) เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมความรุนแรงของนักศึกษาสถาบันในกรุงเทพมหานคร 3) เพื่อเสนอแนวทางในการป้องกันและแก้ไขสถานการณ์ความรุนแรงของของนักศึกษาในกรุงเทพมหานคร ใช้รูปแบบการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยการสัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้ให้ข้อมูลคนสำคัญ โดยแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่ 1) กลุ่มนักศึกษาสถาบัน เอ จำนวน 3 ท่าน และกลุ่มนักศึกษาสถาบัน บี จำนวน 3 ท่าน (โดยมีคุณสมบัติ มีประสบการณ์ในการก่อเหตุและมีประสบการณ์เกี่ยวกับเหตุทะเลาะวิวาทระหว่างสถาบัน) และ 2) กลุ่มเจ้าหน้าที่ตำรวจสถานีตำรวจนครบาลปทุมวัน จำนวน 4 ท่าน (โดยมีคุณสมบัติ มีประสบการณ์ในทำงานในสายงานไม่ต่ำกว่า 3 ปี ) รวมจำนวนผู้ให้ข้อมูลคนสำคัญทั้งหมด 10 ท่าน

     ผลการวิจัยพบว่า สาเหตุที่สำคัญที่จะทำให้เกิดเหตุการณ์ทะเลาะวิวาทซึ่งเป็นพฤติกรรมความรุนแรง มีสาเหตุหลักอยู่ทั้งหมด 3 ปัจจัย ดังต่อไปนี้ 1) การปลูกฝังจากรุ่นพี่ ศิษย์เก่า  2) ข่าว และสื่อสังคมออนไลน์ และ 3) ความคึกคะนองของวัยรุ่น และการยั่วยุ ซึ่งทั้ง 3 สาเหตุนั้นกลายเป็นปัจจัยหลักที่สำคัญที่เกิดขึ้นในสังคมปัจจุบันที่สะท้อนให้เห็นถึง รากเหงาปัญหาที่แท้จริง แต่จากการศึกษาในครั้งนี้พบว่าปัจจัยภายนอก คือ ข่าว และสื่อสังคมออนไลน์ ที่ส่งผลทำให้ภาพลักษณ์ของนักศึกษาทั้งสองสถาบันทะเลาะวิวาทเหล่านี้ ไม่ได้จางหายไปไหน แต่ยังคงกลายเป็นควันหลงของพฤติธรรมความรุนแรงที่รอแรงกระตุ้นขึ้นได้ทุกเวลา อีกทั้งอาจจะทำให้เกิดการมองข้ามสาเหตุที่แท้จริงจากปัจจัยภายในสถาบัน แต่กลับมองพฤติกรรมความรุนแรงในภาพรวมของนักศึกษาทั้งสองสถาบันว่าจะต้องใช้ความรุนแรงเท่านั้น

Keywords: พฤติกรรมรุนแรง; นักศึกษา; กรุงเทพมหานคร

Citation format:

ณัฐกร เทียนจันทร์, และจอมเดช ตรีเมฆ. (2020). สาเหตุและปัจจัยที่ก่อให้เกิดพฤติกรรมรุนแรงของนักศึกษาในกรุงเทพมหานคร. เอกสารสืบเนื่องจากการประชุมระดับชาติมหาวิทยาลัยรังสิต ประจำปี 2563. วันที่ 1 พฤษภาคม 2563.

QUESTIONS & ANSWERS

Assoc.Prof.Dr. Thamavit Terdudomtham (Visitor)

ผู้บริหารและอาจารย์สถาบันการศึกษาทั้งสองแห่งควรมีบทบาทในการแก้ปัญหานี้อย่างไรบ้างครับ

ณัฐกร เทียนจันทร์ (Presenter)

ขอขอบพระคุณสำหรับคำถามครับ 

       แนวทางของผู้บริหารและอาจารย์ทั้งสองสถาบัน

       1) ควรเน้นปลูกฝังค่านิยมใหม่ว่าสถาบันที่ได้ร่ำเรียนนั้นเป็นสถาบันที่ควรให้ความเคารพมากกว่าการสร้างชื่อเสียให้กับสถาบัน โดยวัตถุประสงค์หลักของสถาบันการศึกษา คือ การได้ศึกษาเรียนรู้จากครูบาอาจารย์ เพื่อนำความรู้นั้นไปประกอบอาชีพที่สุจริต สร้างสรรค์สังคมและพัฒนาประเทศชาติ

       2) มุ่งเน้นให้นักศึกษามุ่งมั่นในเรื่องของการประสบความสำเร็จในการศึกษา ซึ่งเป็นเป้าหมายสูงสุดในการศึกษามากกว่าการยึดติดกับชื่อสถาบัน เพราะสถาบันจะมีชื่อเสียงก็มาจากความประสบความสำเร็จนักศึกษา ที่นำความรู้ ความดี ไปสู่สังคม

       3) ยกเลิกระบบการรับน้องที่สร้างความรุนแรง และสร้างมาตรการที่รุนแรงและเด็ดขาดในเรื่องของการลงโทษนักศึกษารุ่นพี่ที่ชักจูง กดดัน รุ่นน้อง ให้ก่อเหตุความรุนแรง

rapeephan petchanankul (Visitor)

1. ขอเสนอแนะ เรื่องการใช้ลักษณนาม  เราใช้คำว่า "คน" ไม่ใช่ "ท่าน" นะคะ โดยเฉพาะจำนวนคนในงานวิชาการวิจัย

2. ในอดีตนานมากแล้ว ประมาณ 30 ปี มีการปิดสถาบันที่เกิดปัญหาซ้ำซาก เช่น แถวๆ พระรามหก และแถวๆ บางซ่อนเป็นต้น อีกแนวทางหนึ่งคือเปลี่ยนชื่อสถาบัน เช่น "ช่างกล", "เทคนิค" ต่าง ๆ ให้ไพเราะและมีนามเป็นมงคลเพื่อโน้มน้าวให้เห็นคุณค่าของชื่อสถาบันไปในทิศทางบวก ก็ลดปัญหาลงไปได้บ้าง แต่นั่นคือปลายเหตุ

3. มีการศึกษาต้นเหตุด้านจิตวิทยา ครอบครัว สิ่งแวดล้อม ในช่วงปฐมวัยร่วมด้วยบ้างหรือไม่