RSUSSH 2020
NA20-037 การศึกษารูปแบบสถาปัตยกรรมเพื่อความยั่งยืนของรีสอร์ทแบบหลบซ่อนตัวบนเกาะเหลาเหลียง
นำเสนอโดย: ชัญญานุช รักษ์เจริญ
มหาวิทยาลัยรังสิต, ประเทศไทย
Abstract
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษารูปแบบสถาปัตยกรรมรีสอร์ทที่สร้างความเป็นส่วนตัวให้กับผู้คนและเพื่อศึกษาการไหลเวียนของลมที่ช่วยถ่ายเทอากาศเพื่อให้เกิดภาวะอยู่สบาย การวิจัยนี้เป็นการประเมินแนวความคิดจากการเปรียบเทียบรูปแบบผังรีสอร์ท รูปแบบอาคาร และรูปแบบห้องพัก วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการเปรียบเทียบและให้คะแนนรูปแบบที่ตอบโจทย์ในด้านความเป็นส่วนตัวและการไหลเวียนของลมที่ตอบสนองต่อพื้นที่บริบทบนเกาะเหลาเหลียง จังหวัดตรัง ผลการวิจัยนี้จึงได้แนวทางการออกแบบรูปแบบผังรีสอร์ทแบบ Linear Organizations รูปแบบอาคารที่ยกสูงเหนือพื้นดิน และรูปแบบช่องเปิด 3 ช่องเปิด ได้ผลออกมาในรูปแบบของรีสอร์ทที่อยู่ท่ามกลางธรรมชาติบนเกาะเหลาเหลียง ซึ่งมีรูปแบบการวางตัวอาคารไปตามแนวเส้นคอนทัวร์ของบริบท ตัวอาคารที่ยกสูงเหนือพื้นดินเพื่อไม่รบกวนธรรมชาติ สามารถรับลม ถ่ายเทอากาศได้ดี และยังสร้างความเป็นส่วนตัวให้กับผู้ใช้งานโดยไม่เห็นผู้อื่น เนื่องจากมีต้นไม้มาบดบังสายตาบริเวณด้านล่าง และได้รับทัศนียภาพที่ดี
Citation format:
ชัญญานุช รักษ์เจริญ, และทรงพล อัตถากร. (2020). การศึกษารูปแบบสถาปัตยกรรมเพื่อความยั่งยืนของรีสอร์ทแบบหลบซ่อนตัวบนเกาะเหลาเหลียง. เอกสารสืบเนื่องจากการประชุมระดับชาติมหาวิทยาลัยรังสิต ประจำปี 2563. วันที่ 1 พฤษภาคม 2563.QUESTIONS & ANSWERS
เป็นโครงการที่น่าสนใจ ขอสอบถามคำถามดังนี้ครับ
รูปทรงหลังคามีส่วนเกี่ยวข้องกับการหมุนเวียนของลมที่เข้าสู่ตัวอาคารหรือไม่ และช่วยป้องกันจากสภาพอากาศได้อย่างไร
ผมชอบภาวะอยู่สบาย และความเป็นส่วนตัวในการพักผ่อนแบบรีสอร์ท
อยากถามว่าจะมีปัจจัยเสริม และองค์ประกอบทางสถาปัตยกรรมอะไรอีกมัยที่จะช่วยให้เกิดภาวะอยู่สบายและความเป็นส่วนตัวครับ
ขอบคุณครับ
จากรูปแบบการจัดผังที่นำเสนอนั้น ไม่ทราบว่าได้มีการคิดถึงแง่มุมอื่นๆที่จะส่งเสริมการจัดผังบริเวณของรีสอร์ต และส่งเสริมชีวิตของแขกที่มาพักหรือไม่ ถ้ามีคืออะไรและส่งเสริมคุณภาพชีวิตหรือธรรมชาติแวดล้อมอย่างไร
@MONCHAI BUNYAVIPAKUL
ขอขอบคุณสำหรับคำถามเเละความให้ความสนใจในส่วนของหลังคาค่ะ
หลังคามีการยกสูงเพื่อช่วยให้ลมสามารถเข้ามาเเละหมุนเวียนภายในตัวอาคารได้ดี เนื่องจากมีข่องอากาศขนาดใหญ่ที่เป็นเหมือน
ฉนวนกันความร้อน อีกทั้งยังช่วยให้ความร้อนระบายออกไปได้ดีขึ้น ส่วนหลังคามีชายคายื่นออกมาจะช่วยคุ้มเเดดคุ้มฝน ด้วยตัวอาคาร
ที่ยกสูงขึ้น สามารถเปิดรับลงที่พัดผ่านเข้ามาได้ดี
@สมสฤทธิ์ ตาณพันธุ์
ขอขอบคุณสำหรับคำถามเเละความสนใจภาวะอยู่สบายและความเป็นส่วนตัวค่ะ
มีปัจจัยเสริมเเละองค์ประกอบทางสถาปัตยกรรมที่ช่วยให้เกิดภาวะอยู่สบายเเละความเป็นส่วนตัวดังนี้ค่ะ
1. การมีต้นไม้บริเวณรอบๆตัวอาคาร สามารถบดบังสายตาจากภายนอกให้เกิดความเป็นส่วนตัว
เเละเป็นการเติมความชื้นให้ลมร้อนที่พัดผ่านเข้ามากลายเป็นลมเย็นๆเข้าสู่ตัวอาคาร
2.คุ้มเเดดคุ้มฝนด้วยชายคาที่ยื่นยาวออกมา เป็นอีกหนึ่งวิธีที่ดีกับการรับสภาพอากาศของประเทศไทยค่ะ
@THANUNCHAI LIMPAKOM
ขอขอบคุณสำหรับคำถามเเละความสนใจการวางผังค่ะ
รูปเเบบการการผังที่ส่งเสริมให้เกิด ความเป็นส่วนตัว เนื่องจากตัวอาคารไม่ได้ถูกวางให้อยู่ติดกับจนมากเกินไปจึงเกิดช่องว่างระหว่าง
ตัวอาคารให้กับธรรมชาติได้เข้ามากั้นเพื่อให้เกิดการบดบังสายตากับผู้คยภายนอกเเละกับผู้ใช้ภายในที่พัก อีกทั้งธรรมชาติยังช่วย
กรองความร้อนเเละเติมความชื้นให้ลมร้อนที่พัดเข้ามากลายเป็นลมเย็น เเละยังใช้ธรรมชาติเป็นนาฬิกาให้กับเเขกผู้เข้าพัก
เนื่องจากมาพักผ่อนไม่จำเป็นที่จะต้องพึ่งนาฬิกาปลุกเเละอยู่กับความเร่งรีบ เพียงเเค่เปิดม่านเพื่อรับเเสงเเดดของเช้าวันใหม่
ดีกว่าการตื่นเเบบตกใจด้วยนาฬิกาปลุกเหมือนกับชีวิตการทำงาน