RSUSSH 2020

NA20-021 การออกแบบเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการขนส่ง

นำเสนอโดย: จีรายุส แสงประชุม
มหาวิทยาลัยรังสิต, ไทย

Abstract

       การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในด้านการขนส่ง โดยผู้วิจัยได้ศึกษาข้อมูลและหาปัญหาในระบบการขนส่งในกรุงเทพฯ โดยเน้นที่พฤติกรมการใช้รถจักรยานยนต์เพื่อการขนส่งของคนกรุงเทพฯในปัจจุบัน พบว่านอกจากการใช้รถจักยานยนต์เพื่อการขนส่งคนแล้ว ปัจจุบันมีการใช้รถจักรยานยนต์เพื่อขนส่งสิ่งของมากขึ้น เช่น การขนส่งไปรษณีย์ บริการส่งอาหารออนไลน์ หรือการใช้ขนส่งสินค้าของผู้ประกอบการร้านค้าทั่วไป เช่น ขนส่งแก๊ส อะไหล่ยานยนต์ เป็นต้น ดังนั้นผู้วิจัยต้องการออกแบบรถจักรยานยนต์ที่ช่วยในการขนส่งสิ่งของ โดยผู้วิจัยได้ใช้เครื่องมือเป็นสังเกตแบบสัมภาษณ์ จากกลุ่มคนที่ใช้รถจักรยานยนต์อยู่เป็นประจำ ได้แก่ กลุ่มที่ใช้รถจักรยานยนต์ทั่วไปและกลุ่มผู้ใช้รถจักรยานยนต์ในการประกอบอาชีพ โดยสอบถามเกี่ยวกับปัญหาในการใช้งานและการให้บริการ เพื่อนำไปใช้ในการออกแบบและพัฒนารถจักรยานยนต์ให้มีประสิทธิภาพในการขนส่งมากขึ้น ผลการสังเกตและสอบถามพบว่า กลุ่มผู้ใช้งานส่วนใหญ่มีปัญหากับช่องเก็บสัมภาระของรถจักรยานยนต์ ซึ่งการวิจัยในครั้งนี้ได้นำข้อมูลที่ได้มาใช้ในการออกแบบและพัฒนารถจักรยานยนต์ เพื่อแก้ปัญหาดังกล่าว ผลที่ได้ผู้วิจัยได้ออกแบบเป็นรถจักรยานยนต์ที่มีส่วนพ่วงในการช่วยเก็บสัมภาระ โดยสามารถปรับเปลี่ยนส่วนพ่วงนี้ให้มีความเหมาะสมกับความต้องการของผู้ใช้งานที่แตกต่างกัน

Keywords: รถจักยานยนต์; การขนส่ง; ประสิทธิภาพในการขนส่ง; ส่วนพ่วง

Citation format:

จีรายุส แสงประชุม, เดวิด ชัพเฟอร์, และวราวรรณ สุวรรณผาติ. (2020). การออกแบบเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการขนส่ง. เอกสารสืบเนื่องจากการประชุมระดับชาติมหาวิทยาลัยรังสิต ประจำปี 2563. วันที่ 1 พฤษภาคม 2563.

QUESTIONS & ANSWERS

ทิพากร ณ บางช้าง (Participant)

สอบถามค่ะ

การออกแบบนี้แตกต่างการออกแบบที่เคยเห็นทั่วไป (เช่น กล่องของgrab) หรือไม่

และการที่ผู้ใช้เลือกซื้อมอเตอร์ไซค์ จุดประสงค์อย่างหนึ่งคือความคล่องตัวที่มากกว่ารถประเภทอื่นๆ หากออกแบบการขนของให้มีลักษณะพ่วงท้าย อาจจะทำให้ความคล่องตัวหายไป ผู้ออกแบบมีวิธีแก้ไขอย่างไรคะ

ด้วยความเคารพ

ทิพากร ณ บางช้าง

จีรายุส แสงประชุม (Presenter)

การออกแบบนี้แตกต่างการออกแบบที่เคยเห็นทั่วไป (เช่น กล่องของgrab) หรือไม่ -----ตอบ แตกต่างครับการออกแบบครั้งนี้เป็นการออกแบบรถมอเตอร์ไซค์ที่ช่วยเพิ่มพื้นที่ในการบรรทุกของครับ แตกต่างจากกล่องของgrab คือสามารถเพิ่มพื้นที่ในการบรรุกของโดยไม่ทำให้พื้นที่ในการนั้งของผู้ขับขี่ลดลง

จุดประสงค์อย่างหนึ่งคือความคล่องตัวที่มากกว่ารถประเภทอื่นๆ หากออกแบบการขนของให้มีลักษณะพ่วงท้าย อาจจะทำให้ความคล่องตัวหายไป ผู้ออกแบบมีวิธีแก้ไขอย่างไรคะ-----ตอบ การออกแบบนี้เป็นการเพิ่มพื้นที่บรรทุกของให้กับรถจักรยานยนต์ โดยถือว่าเป็นการออกแบบมอเตอร์ไซค์เพื่อเป็นอีกหนึ่งทางเลือกสำหรับผู้ขับขี่ที่มีอาชีพส่งสินค้าโดยตรงครับโดยส่วนพ่วงนี้จะสามารถถอดแยกกับตัวรถมอเตอร์ไซค์และยังสามารถพับเก็บไว้กับตัวรถมอเตอร์ไซค์ ทำให้ผู้ขับขี่สามารถเลือกได้ว่าจะใช้อุปกรณ์พ่วงท้ายนี้ตอนไหน แล้วตอนที่ไม่ได้ใช้ก็สามารถเก็บไว้กับตัวรถมอเตอร์ไซค์เพื่อไม่ให้เกะกะตอนขับขี่ซึ่งจะแตกต่างกับตัวพ่วงในปัจจุบันที่เป็นการติดตั้งถาวร 

ด้วยความเคารพ

นายจีรายุส แสงประชุม