RSUSSH 2020

NA20-030 การจัดการขยะในมหาวิทยาลัยรังสิต

นำเสนอโดย: ณัฐชนน ชลวัฒนาธนากร
มหาวิทยาลัยรังสิต, ประเทศไทย

Abstract

     ขยะหรือสิ่งของเหลือใช้ในปัจจุบันนั้นมีอยู่จำนวนมากซึ่ง ได้ถูกทิ้งไว้อย่างไม่มีคุณค่า จนกลายเป็นสิ่งไม่พึงประสงค์และกลายเป็นมลพิษต่อสิ่งแวดล้อมในท้ายที่สุด โดยเฉพาะในสถานที่ที่มีผู้คนใช้ชีวิตอยู่ร่วมกันเป็นจำนวนมาก ผู้วิจัยตระหนักถึงปัญหานี้ในขณะที่ศึกษาอยู่ในมหาวิทยาลัยจึงต้องการออกแบบวิธีแก้ปัญหาเพื่อนำขยะหรือสิ่งของเหลือใช้เหล่านี้มาสร้างคุณค่าโดยการแปรรูปใหม่ผ่านกระบวนการออกแบบและสื่อสารให้ผู้คนได้ตระหนักถึงปัญหาและร่วมกันเปลี่ยนขยะและของเหลือใช้ให้กลับมามีประโยชน์อีกครั้ง โครงการนี้เริ่มต้นการรณรงค์และให้ข้อมูลต่าง ๆ แก่นักศึกษารวมทั้งบุคลากรในมหาวิทยาลัยรังสิตเกี่ยวกับการนำขยะมาใช้ประโยชน์เพื่อเปลี่ยนเป็นผลงานออกแบบและเครื่องใช้ในชีวิตประจำวัน โดยจัดทำเว็บไซต์ที่ประกอบด้วยภาพกราฟิกขั้นตอนการแปรรูปขยะที่เข้าใจง่ายและสามารถโน้มน้าวให้ผู้คนอยากมีส่วนร่วมถ่ายทอดผลงานสร้างสรรค์จากขยะในรูปแบบของตนเองและเผยแพร่ผ่านสื่อโซเชียลมีเดียเพื่อขยายขอบเขตการรณรงค์ไปสู่พื้นที่อื่นต่อไป โดยกระบวนการออกแบบและรณรงค์ทั้งหมดผ่านการนำเสนอต่อผู้ทรงคุณวุฒิทางการออกแบบเพื่อนำข้อบกพร่องมาพัฒนารูปแบบการรณรงค์ที่มีประสิทธิภาพที่สุด โครงการนี้มุ่งหวังจะเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการจัดการขยะเพื่อสร้างสรรค์สังคมที่มีสิ่งแวดล้อมที่สะอาดแบบยั่งยืนต่อไป

Keywords: ขยะ; ของเหลือใช้; การใช้ซ้ำ; สิ่งแวดล้อม; โครงการรณรงค์

Citation format:

ณัฐชนน ชลวัฒนาธนากร, สุวิทย์ รัตนานันท์, และSridhar Ryalie. (2020). การจัดการขยะในมหาวิทยาลัยรังสิต. เอกสารสืบเนื่องจากการประชุมระดับชาติมหาวิทยาลัยรังสิต ประจำปี 2563. วันที่ 1 พฤษภาคม 2563.

QUESTIONS & ANSWERS

Sataporn (Visitor)

ขอถามว่า การแบ่งสิ่งประดิษฐ์ตัวอย่างออกเป็น 1.สิ่งที่มีอยู่แล้ว 2.สิ่งที่น่าสนใจ และ 3.innovative ความแตกต่างของกลุ่มที่ 1 และ 2 เป็นอย่างไร และในอนาคตการแบ่งกลุ่มจะสามารถเปลี่ยนไปได้หรือไม่ อย่างไร

ขอบคุณครับ

ณัฐชนน ชลวัฒนาธนากร (Presenter)

@SATAPORN

ขอบคุณสำหรับคำถามครับ

1. ความแตกต่างของกลุ่มที่1และ2  คือ กลุ่มแรกนั้นคือสิ่งของที่คนเห็นทั่วไปว่าปกติแล้วก็มักจะนำขยะมาทำสิ่งเหล่านี้    ส่วนกลุ่มที่2ใช้คือสิ่งที่คนหลายๆคนอาจจะไม่เคยรู้มาก่อนมาสามารถที่จะทำได้ครับ

ซึ่งในอนาคตการแบ่งกลุ่มจะมีการเปลี่ยนแปลงแน่นอนครับโดยการปรับเปลี่ยนหัวข้อของสิ่งประดิษฐ์ใหม่เป็นเนื้อหาที่สามารถที่จะแบ่งแยกประเภทของสิ่งประดิษฐ์ได้ชัดเจนมากยิ่งขึ้นและทำให้ผู้คนเข้าใจได้มากยิ่งขึ้นครับโดย เปลี่ยนลำดับความยากง่ายของการทำสิ่งประดิษฐ์นั้นๆแทนครับ