RSUSSH 2020

NA20-027 ความสัมพันธ์ระหว่างสภาพแวดล้อมในงานกับความกระตือรือร้นในการปฏิบัติงาน ของพนักงานฝ่ายผลิต

นำเสนอโดย: ณัฐชฎา พิมพาภรณ์
มหาวิทยาลัยกรุงเทพสุวรรณภูมิ, ไทย

Abstract

                งานวิจัยเรื่องความสัมพันธ์ระหว่างสภาพแวดล้อมในงานกับความกระตือรือร้นในการปฏิบัติงานของพนักงานฝ่ายผลิต โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับความกระตือรือร้นในการปฏิบัติงาน เพื่อเปรียบเทียบปัจจัยส่วนบุคคลกับระดับความกระตือรือร้นในการปฏิบัติงาน และเพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างสภาพแวดล้อมในงานกับความกระตือรือร้นในการปฏิบัติงาน โดยมีประชากรในวิจัย ได้แก่ พนักงานของบริษัทกรณีศึกษาแห่งหนึ่ง ในเขตลาดกระบัง ซึ่งมีการกำหนดกลุ่มตัวย่างในการวิจัยแบบเฉพาะเจาะจง ได้แก่ พนักงานฝ่ายผลิต จำนวน 150 คน ดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลโดย ใช้แบบสอบถาม 3 ส่วน ได้แก่ ปัจจัยส่วนบุคคล สภาพแวดล้อมในงาน และความกระตือรือร้นในการปฏิบัติงาน สถิติที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่า t-test, F-test ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน ซึ่งสรุปผลการวิจัย ดังนี้ ด้านข้อมูลปัจจัยส่วนบุคคล พบว่า กลุ่มตัวอย่างจำนวน 150 คน ส่วนใหญ่เป็นเพศชาย  มีอายุช่วง 26-30 ปี มีระดับการศึกษามัธยมศึกษาตอนปลาย/ปวช. เป็นพนักงานระดับปฏิบัติการ อายุการทำงาน 3 - 5 ปี มีสถานภาพสมรสแล้ว ด้านสภาพแวดล้อมในงาน จากผลการวิจัย สรุปได้ว่า ระดับความพึงพอใจต่อสภาพแวดล้อมในงานในภาพรวมของทั้ง 10 ด้าน ได้แก่ ด้านความมั่นคงปลอดภัย  ด้านโอกาสก้าวหน้าในงาน ด้านองค์การและการจัดการ ด้านค่าตอบแทน ด้านคุณลักษณะเฉพาะงานด้านการนิเทศงาน ด้านความสัมพันธ์กับผู้ร่วมงาน  ด้านการติดต่อสื่อสาร ด้านสภาพการทำงาน และด้านสวัสดิการและผลประโยชน์อื่นๆ อยู่ในระดับมาก (3.79) ด้านความกระตือรือร้นในการปฏิบัติงาน สรุปว่า กลุ่มตัวอย่างมีระดับความกระตือรือร้นในการปฏิบัติงานในภาพรวม พบว่า อยู่ในระดับมาก (3.86)

                ผลการทดสอบสมมติฐาน สรุปได้ว่า พนักงานที่มีปัจจัยส่วนบุคคลด้านเพศ อายุ ระดับการศึกษาตำแหน่งงาน อายุการทำงาน และสถานภาพแตกต่างกันมีความกระตือรือร้นในการปฏิบัติงานไม่แตกต่างกัน และ ความพึงพอใจต่อสภาพแวดล้อมในงานมีความสัมพันธ์กับความกระตือรือร้นในการปฏิบัติงาน (.000)** อย่างมีนัยสำคัญทางสติติที่ระดับ 0.01

                การจัดสภาพแวดล้อมในการปฏิบัติงานเป็นหน้าที่ของฝ่ายบริหาร ในการจัดทำให้ถูกต้องตามกฎหมายและจัดทำเพื่อดูแลคุณภาพชีวิตในการทำงานที่ดีให้แก่ผู้ปฏิบัติงาน ซึ่งจากผลการวิจัยทำให้ได้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์ เนื่องจากความพึงพอใจต่อสภาพแวดล้อมในงานมีผลต่อระดับความกระตือรือร้นในการปฏิบัติงาน ซึ่งหากหน่วยงานสามารถวางแผนจัดสภาพแวดล้อมในที่ทำงานให้สอดคล้องกับความต้องการของผู้ปฏิบัติงานได้ จนนำไปสู่การเพิ่มระดับความกระตือรือร้นในการปฏิบัติงาน ซึ่งการที่ผู้ปฏิบัติงานมีความกระตือรือร้นในการปฏิบัติย่อมส่งผลดีต่อประสิทธิภาพของงาน ช่วยส่งเสริมบรรยากาศที่ดีในการทำงาน และช่วยเพิ่มโอกาสในการเพิ่มประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของบุคลากรส่วนต่างๆในหน่วยงานได้อีกด้วย

Keywords: สภาพแวดล้อมในงาน; ความกระตือรือร้นในการปฏิบัติงาน; พนักงานฝ่ายผลิต

Citation format:

ณัฐชฎา พิมพาภรณ์, รัชเมธี รชตวัฒนกุล, และรัฐพงศ์ ประสุทธิ์. (2020). ความสัมพันธ์ระหว่างสภาพแวดล้อมในงานกับความกระตือรือร้นในการปฏิบัติงาน ของพนักงานฝ่ายผลิต. เอกสารสืบเนื่องจากการประชุมระดับชาติมหาวิทยาลัยรังสิต ประจำปี 2563. วันที่ 1 พฤษภาคม 2563.

QUESTIONS & ANSWERS

ปณียา อินทกาศ (Participant)

คำถามค่ะ

จากผลงานวิจัย ปัจจัยใดที่มีผลต่อความกระตือรือร้นในการปฏิบัติงานของพนังงานฝ่ายผลิตมากที่สุด และจะนำข้อมูลที่ได้จากการวิจัยครั้งนี้ไปกำหนดแผนปฏิบัติงานอย่างไร

ณัฐชฎา พิมพาภรณ์ (Presenter)

1.ปัจจัยที่มีผลต่อความกระตือรือร้นในการทำงานคือสภาพความแวดล้อมในงานทั้ง10ด้านค่ะ มีระดับความพึงพอใจระดับมาก ทุกด้าน

2.เมื่อผลวิจัยแสดงว่าพนักงานมีความพึงพอใจสภาพแวดล้อมในงานทั้ง10ด้านในระดับมาก อาจกล่าวได้ว่าหน่วยงานได้จัดและดูแลสภาพแวดล้อมเหมาะสมดีแล้ว ควรใช่เป็นแนวทางในการดูแลรักษาการจัดสภาพแวดล้อมให้ดีขึ้นต่อเนื่อง. และผลวิจัยแสดงว่าความพึงพอใจต่อสภสพแวดล้อมในงานมีความสัมพันธ์กับความกระตือรือร้นในการทำงานของพนักงานฝ่ายผลิต ยิ่งเป็นสัญญาณที่ดีต่อการใช้เป็นข้อมูลในการพัฒนาสภาพแวดล้อมในงานให้เหมาะสมทุกๆด้านและสอดคล้องกับสิ่งที่พนักงานต้องการ เพื่อนำไปสู่การเกิดผลงานที่ดีค่ะ

ณัฐชฎา พิมพาภรณ์ (Presenter)

1.ปัจจัยที่มีผลต่อความกระตือรือร้นในการทำงานคือสภาพความแวดล้อมในงานทั้ง10ด้านค่ะ มีระดับความพึงพอใจระดับมาก ทุกด้าน

2.เมื่อผลวิจัยแสดงว่าพนักงานมีความพึงพอใจสภาพแวดล้อมในงานทั้ง10ด้านในระดับมาก อาจกล่าวได้ว่าหน่วยงานได้จัดและดูแลสภาพแวดล้อมเหมาะสมดีแล้ว ควรใช่เป็นแนวทางในการดูแลรักษาการจัดสภาพแวดล้อมให้ดีขึ้นต่อเนื่อง. และผลวิจัยแสดงว่าความพึงพอใจต่อสภสพแวดล้อมในงานมีความสัมพันธ์กับความกระตือรือร้นในการทำงานของพนักงานฝ่ายผลิต ยิ่งเป็นสัญญาณที่ดีต่อการใช้เป็นข้อมูลในการพัฒนาสภาพแวดล้อมในงานให้เหมาะสมทุกๆด้านและสอดคล้องกับสิ่งที่พนักงานต้องการ เพื่อนำไปสู่การเกิดผลงานที่ดีค่ะ