RSUSSH 2020

NA20-025 ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจใช้บริการเรียกรถโดยสารส่วนบุคคล (Grab Car) ผ่านแอปพลิเคชั่น Grab ของประชาชนในเขตพระโขนง กรุงเทพมหานคร

นำเสนอโดย: ปณียา อินทกาศ
มหาวิทยาลัยกรุงเทพสุวรรณภูม, ไทย

Abstract

                การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อศึกษาข้อมูลส่วนบุคคลที่ตัดสินใจใช้บริการเรียกรถโดยสารส่วนบุคคล (Grab Car) ผ่านแอปพลิเคชั่น Grab ของประชาชนในเขตพระโขนง กรุงเทพมหานคร (2) เพื่อศึกษาปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่มีผลต่อการตัดสินใจใช้บริการเรียกรถโดยสารส่วนบุคคล (Grab Car) ผ่านแอปพลิเคชั่น Grab ของประชาชนในเขตพระโขนง กรุงเทพมหานคร กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นผู้บริโภคที่ตัดสินใจใช้บริการเรียกรถโดยสารส่วนบุคคล (Grab Car) ผ่านแอปพลิเคชั่น Grab ในเขตพระโขนง กรุงเทพมหานคร จำนวน 400 ตัวอย่าง เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลจากนั้นได้นำข้อมูลที่ได้รับจากแบบสอบถามทำวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา (Descriptive Statistics) ได้แก่ ค่าความถี่ (Frequency) ร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (X) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) เพื่อบรรยายข้อมูลทั่วไป และสถิติเชิงอนุมาน (Inferential Statistics) สำหรับการวิเคราะห์ทดสอบสมมติฐานใช้สถิติค่า t-test, F-test วิเคราะห์ค่า Sig ในระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.05

                ผลจากการศึกษาพบว่าส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง อายุ 20 - 30 ปี ระดับการศึกษาปริญญาตรี อาชีพพนักงานบริษัทเอกชน รายได้ต่อเดือน 10,000 - 20,000 บาท ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่มีผลต่อการตัดสินใจใช้บริการเรียกรถโดยสารส่วนบุคคล (Grab Car) ผ่านแอปพลิเคชั่น Grab ของประชาชนในเขตพระโขนง กรุงเทพมหานคร พบว่าโดยรวมผู้ตอบแบบสอบถามให้ความสำคัญในระดับมากโดยมีค่าเฉลี่ย 4.17 เมื่อพิจารณาทั้ง 7 ด้าน โดยเรียงลำดับความสำคัญจากมากไปน้อย พบว่า ด้านผลิตภัณฑ์ ด้านลักษณะทางกายภาพและการนำเสนอ  ด้านช่องทางการจัดจำหน่าย ด้านกระบวนการ ด้านการส่งเสริมการตลาด ด้านบุคลากร และด้านราคา ให้ความสำคัญระดับมากทุกด้าน ผลการทดสอบสมมติฐาน ข้อมูลส่วนบุคคลของผู้ตอบแบบสอบถามแตกต่างกัน ให้ความสำคัญต่อปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดในการเลือกใช้บริการเรียกรถโดยสารส่วนบุคคล (Grab Car) ผ่านแอปพลิเคชั่น Grab ของประชาชนในเขตพระโขนง กรุงเทพมหานครแตกต่างกัน พบว่า โดยภาพรวมอาชีพแตกต่างกันให้ความสำคัญต่อปัจจัยส่วนประสมทางการตลาด ได้แก่ ด้านผลิตภัณฑ์ ด้านราคา ด้านช่องทางจัดจำหน่าย ด้านการส่งเสริมการตลาด ด้านบุคคล ด้านกระบวนการ และด้านลักษณะทางกายภาพและการนำเสนอแตกต่างกัน

Keywords: การตัดสินใจ; ปัจจัยส่วนประสมการตลาด; บริการเรียกรถโดยสารส่วนบุคคล

Citation format:

ปณียา อินทกาศ. (2020). ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจใช้บริการเรียกรถโดยสารส่วนบุคคล (Grab Car) ผ่านแอปพลิเคชั่น Grab ของประชาชนในเขตพระโขนง กรุงเทพมหานคร. เอกสารสืบเนื่องจากการประชุมระดับชาติมหาวิทยาลัยรังสิต ประจำปี 2563. วันที่ 1 พฤษภาคม 2563.

QUESTIONS & ANSWERS

Surasit Udomthanavong (Participant)

คำถามครับ

1.จากปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดทั้ง 7 ด้าน ด้านไหนมีความสำคัญที่สุดที่จะทำให้ผู้บริโภคหรือลูกค้าตัดสินใจใช้บริการ เพราะอะไร และควรดำเนินการอย่างไร

2.ในช่วงภาวะโควิด-19 ผู้ใช้บริการอาจจะไม่มั่นใจ หรือกังวลในการใช้บริการรถแท็กซี่ ท่านจะเสนอวิธีการทางการตลาดอย่างไรให้ลูกค้ามั่นใจในการใช้บริการผ่าน grab

ขอบคุณครับ

ศุภกร สมจิตต์

ปณียา อินทกาศ (Presenter)

ตอบคำถามค่ะ

1. ปัจจัยที่ผู้บริโภคตัดสินใจใช้บริการมากที่สุด คือ ด้านผลิตภัณฑ์ เพราะมีค่าเฉลี่ยสูงสุด เท่ากับ 4.21 โดยสิ่งที่ผู้บริโภคให้ความสำคัญกับผลิตภัณฑ์ในเรื่องรถยนต์โดยสารมีให้บริการหลายหลายรูปแบบ และการบริการของGrab Car มีความปลอดภัยน่าเชื่อถือ ดังนั้น ผู้ประกอบการควรจัดหารถยนต์โดยสารที่หลากหลายรูปแบบให้บริการลูกค้า และควรคัดกรองและอบรมผู้ขับรถโดยสารส่วนบุคคลให้บริการลูกค้าด้วยความปลอดภัย 

2. ใช้วิธีการสื่อสารในเรื่องมาตรการรับผู้โดยสารและจำนวนผู้ใช้บริการแต่ละครั้ง รวมทั้งการป้องกันเชื้อโควิดของผู้ขับรถโดยสารส่วนบุคคลและผู้ใช้บริการ การดูแลความสะอาดรถโดยให้ปราศจากเชื่อ ผ่านช่องทางออนไลน์ และช่องทางสื่อสารอื่น ๆ เพื่อสื่อสารให้ผู้บริโภคได้รับทราบ และมั่นใจในการใช้บริการมากขึ้น เช่น สื่อสารเกี่ยวกับการกำหนดจำนวนผู้โดยสารในการขึ้นรถโดยสาร การกำหนดที่นั่งให้ผู้โดยสารระหว่างใช้บริการ การตรวจสุขภาพของผู้ขับรถโดยสารส่วนบุคคลก่อนให้บริการ การมีอุปกรณ์ป้องกันการติดต่อเชื้อโควิด เช่น แมส เจลล้างมือ ให้บริการเพิ่มเติม การทำความสะอาดห้องโดยสารด้วยยาฆ่าเชื้อ เป็นต้น

Khathamart Khaomuang (Participant)

คำถามค่ะ

1.ผู้วิจัยคิดว่าในการทำการตลาดของรถโดยสารส่วนตัว (Grab Car) ผ่านแอปพลิเคชั่น มีแนวทางในการพัฒนาในอนาคตที่ดี และควรมีจุดเน้นและพัฒนาเพื่อให้ตอบสนองต่อผู้ใช้บริการในอนาคตอย่างไรบ้างค่ะ