RSUSSH 2020

NA20-011 การทดสอบความเป็นไปได้ของการวิเคราะห์ปริมาณสตรอนเชียม-90 ในน้ำทะเลในประเทศไทย

นำเสนอโดย: ดรุณวรรณ ชื่นบุบผา
สำนักงานปรมาณูเพื่อสันติ, ประเทศไทย

Abstract

          การวิเคราะห์ปริมาณสตรอนเชียม-90 (Sr-90) ในธรรมชาติ โดยวิธีการแบบดั้งเดิมนั้น จะต้องใช้ตัวอย่างประมาณ 100 ลิตร และใช้เวลาประมาณ 2-3 สัปดาห์ในการสกัด Sr-90 และยิเตรียม-90 (Y-90)  การทดลองนี้จึงศึกษาเทคนิคการแยกโดยการใช้วิธีการสกัดแบบ Liquid-Liquid Extraction โดยใช้ตัวทำละลาย Bis(2-ethylhexyl) phosphate (HDEHP) และทดสอบความใช้ได้ของการสกัดด้วยวัดด้วยเทคนิค Cerenkov counting โดยการลดปริมาณตัวอย่างที่ต้องใช้ในการวิเคราะห์ โดยพบว่าน้ำทะเลปริมาณ 30 ลิตร สามารถวิเคราะห์ปริมาณสตรอนเชียม-90 ในประเทศไทย มีค่า 0.0020 Bq/kg โดยวิธีการดังกล่าวนี้สามารถลดระยะเวลาในการวิเคราะห์ได้ถึง 2 สัปดาห์และลดปริมาณตัวอย่างที่ใช้วิเคราะห์ได้ร้อยละ 70 ได้โดยไม่จำเป็นต้องใช้เครื่องมือเฉพาะที่มีราคาสูง

Keywords: สตรอนเชียม-90; น้ำทะเล; เทคนิคการสกัด

Citation format:

ดรุณวรรณ ชื่นบุบผา, และสุภัทรา โรเบริตส์. (2020). การทดสอบความเป็นไปได้ของการวิเคราะห์ปริมาณสตรอนเชียม-90 ในน้ำทะเลในประเทศไทย. เอกสารสืบเนื่องจากการประชุมระดับชาติมหาวิทยาลัยรังสิต ประจำปี 2563. วันที่ 1 พฤษภาคม 2563.

QUESTIONS & ANSWERS

Asst.Prof.Patcharee Kamthita (Chairperson)

1. จากผลการวิจัย มีแนวโน้มว่าการใช้ปริมาณตัวอย่างน้ำทะเลสามารถใช้น้อยกว่า 30 ลิตร ก็สามารถวิเคราะห์ปริมาณ Sr-90 ได้ ใช่หรือไม่
2. การใช้ตัวอย่างน้ำทะเล 50 ลิตร มีค่า MDC 0.003 Bq/kg สูงกว่าปริมาณ Sr-90 ที่วิเคราะห์ได้ ( 0.000903 Bq/kg) จะมีผลต่อความถูกต้องในการวิเคราะห์หรือไม่ อย่างไร

รศ.ปัญญา มณีจักร์ (Chairperson)

1. ด้วยร้อยละผลผลิตต่ำ ประมาณ 70 นั้นแสดงให้เห็นว่า ถ้าใช้น้ำน้อยกว่านี้ ก็น่าจะได้มากกว่านี้  ซึ่งมมันจะส่งผลต่อผลวิเคราะห์ในการวัด ผู้วิจัยมีแนวทางอย่างไรที่จะทำให้ ผลผลิตร้อยละสูงขึ้นกว่านี้

ดรุณวรรณ ชื่นบุบผา (Presenter)

1. จากผลการวิจัย มีแนวโน้มว่าการใช้ปริมาณตัวอย่างน้ำทะเลสามารถใช้น้อยกว่า 30 ลิตร ก็สามารถวิเคราะห์ปริมาณ Sr-90 ได้ ใช่หรือไม่

    จากผลการวิจัยพบว่ามีแนวโน้มที่จะสามารถนำปริมาณน้ำทะเลที่ตำ่กว่า 30 ลิตรได้ คิดว่าสามารถลดปริมาณได้มากสุดคือ 20 ลิตร  ถ้าลดในปริมาณที่ต่ำกว่านี้ อาจจะไม่สามารถวัดค่าได้ เนื่องจากในธรรมชาติมีปริมาณที่น้อยมาก


2. การใช้ตัวอย่างน้ำทะเล 50 ลิตร มีค่า MDC 0.003 Bq/kg สูงกว่าปริมาณ Sr-90 ที่วิเคราะห์ได้ ( 0.000903 Bq/kg) จะมีผลต่อความถูกต้องในการวิเคราะห์หรือไม่ อย่างไร

   การใช้น้ำทะเลที่มีปริมาณ 50 ลิตรนั้นมีค่า MDC 0.003 Bq/kg ได้ทำการทดลอง ทั้งหมด 3 ซ้ำ ซึ่งได้ผลใกล้เคียงกัน  สำหรับเรื่องความถูกต้องในการวิเคราะห์นั้นตามสถิติคิดว่าถูกต้อง 

 

 

1. ด้วยร้อยละผลผลิตต่ำ ประมาณ 70 นั้นแสดงให้เห็นว่า ถ้าใช้น้ำน้อยกว่านี้ ก็น่าจะได้มากกว่านี้  ซึ่งมมันจะส่งผลต่อผลวิเคราะห์ในการวัด ผู้วิจัยมีแนวทางอย่างไรที่จะทำให้ ผลผลิตร้อยละสูงขึ้นกว่านี้

สำหรับร้อยละของผลผลิตที่ได้ค่าประมาณ 70 นั้น น่าจะเป็นข้อจำกัดของวิธีสกัดด้วยตัวทำละลายตามวิธีการของ IAEA ซึ่งพบว่าได้ค่า Yeild ประมาณ 70 - 75  โดยที่สาเหตุที่ทำให้ yeild ต่ำ นั้นอาจจะเกิดขึ้นในขั้นตอนการถ่ายน้ำทะเลหลังจากการสกัด ซึ่งตัวทำละลายจะหลุดออกไปได้มากจากการใช้วิธีการแบบกาลักน้ำ  

Fareeda Hayeeye (Participant)

ได้มีการคำนวณค่าทางสถิติมั้ยคะ ว่า การวิเคราะห์ด้วยวิธีนี้ มีความแม่นยำหรือถูกต้อง เมื่อเทียบกับวิธีดั้งเดิม?