RSUSSH 2020
NA20-009 โครงการออกแบบแอนิเมชันที่ส่งเสริมการอยู่ร่วมกันของคนต่างวัย
นำเสนอโดย: ธิชากร เตือนวีระเดช
มหาวิทยาลัยรังสิต, ไทย
Abstract
งานวิจัยนี้เกิดขึ้นมาจากปัญหาสังคมเกี่ยวกับการอยู่ร่วมกันของผู้คนต่างวัยในครอบครัวเดียวกันจึงได้มีวัตถุประสงค์เพื่อที่จะศึกษาเกี่ยวกับความต่างของบุคลิกลักษณะของบุคคลแต่ละช่วงวัย และหาวิธีส่งเสริมการอยู่ร่วมกันของบุคคลภายในครอบครัวที่มีหลากหลายรุ่น ให้มีความเข้าใจต่อบุคคลต่างช่วงวัยภายในครอบครัวและสามารถอยู่ร่วมกันอย่างเข้าใจและพึ่งพากันมากขึ้น ซึ่งแอนิเมชันได้ใช้การนำเสนอเรื่องราวผ่านตัวละครสามมิติของครอบครัวหนึ่ง ที่มีบุคคลต่างรุ่นกันถึงสี่รุ่น และแทรกการบรรยายข้อมูลของคนแต่ละรุ่นผ่านภาพเคลื่อนไหวสองมิติ จากนั้นจึงนำแอนิเมชันนี้ให้กลุ่มตัวอย่าง ซึ่งอยู่ในช่วงวัยทั้งสี่ ประกอบด้วย เจเนอเรชันบี อายุ 55 ปีขึ้นไป เจเนอเรชันเอ็กซ์ อายุ 40-54 ปี เจอเนอเรชันวาย อายุ 22-39 ปี และเจเนอเรชันแซด อายุน้อยกว่า 21 ปี จำนวน 50 คนได้รับชมและประเมินโดยใช้แบบสอบถาม พบว่าผลการวิจัยอยู่ในเกณฑ์ดีถึงดีมาก กลุ่มตัวอย่างเข้าใจเนื้อหาและได้รับข้อมูลเกี่ยวกับรุ่นต่าง ๆ นอกจากนี้ยังได้รู้ถึงวิธีการนำไปใช้ในชีวิต และได้รับคำแนะนำถึงวิธีปรับปรุงต่อไปเพื่อให้ได้ผลงานที่สมบูรณ์ยิ่งขึ้น
Citation format:
ธิชากร เตือนวีระเดช, พิศประไพ สาระศาลิน, และชัยพร พานิชรุทติวงศ์. (2020). โครงการออกแบบแอนิเมชันที่ส่งเสริมการอยู่ร่วมกันของคนต่างวัย. เอกสารสืบเนื่องจากการประชุมระดับชาติมหาวิทยาลัยรังสิต ประจำปี 2563. วันที่ 1 พฤษภาคม 2563.QUESTIONS & ANSWERS
สวัสดีครับ ผมมี 2 คำถาม ดังนี้
1.การใช้กลุ่มตัวอย่าง 50 คน ใช้หลักเกณฑ์อะไรในการกำหนด และรายละเอียดของกลุ่มตัวอย่างเป็นอย่างไร
2.การทำแอนิเมชัน 3 มิติ ด้วย AE ใช้ plugins ตัวไหนบ้าง
ขอบคุณมากครับ
1.การใช้กลุ่มตัวอย่าง 50 คน ใช้หลักเกณฑ์อะไรในการกำหนด และรายละเอียดของกลุ่มตัวอย่างเป็นอย่างไร
ตอบ: สวัสดีค่ะ มีการใช้หลักเกณฑ์เดียวจากหัวข้อ คือ กลุ่มคน 4 เจเนอเรชัน อันประกอบไปด้วยเจเนอเรชันบี 1 คน เจเนอเรชันเอกซ์ 4 คน เจเนอเรชันวาย 42 คน และ เจเนอเรชันแซด 3 คน โดยที่ยึดหลักเกณฑ์นี้เพราะเป็นกลุ่มเป้าหมายที่ผู้วิจัยต้องการให้บุคคลช่วงวัยเหลืานี้ได้รับสื่อแอนิเมชันเรื่อง '4 Generations' โดยตรง เพื่อนำข้อมูลจากแบบสอบถามมาวิเคราะห์เกี่ยวกับประโยชน์ และข้อคิดเห็นจากแอนิเมชันค่ะ
2.การทำแอนิเมชัน 3 มิติ ด้วย AE ใช้ plugins ตัวไหนบ้าง
ตอบ: ในส่วนของแอนิเมชัน 3 มิตินั้น ทางผู้วิจัยได้ใช้โปรแกรม Maya ในการขึ้นโมเดล ใส่กระดูก และเคลื่อนไหวทั้งหมด จากนั้นจึงเรนเดอร์ภาพวีดีโอแยกออกมาตามแต่ละ Scene แล้วนำมาจัด Composite ใน AE ค่ะ
ซึ่งในส่วนของภาพ 3 มิตินั้น ไม่ได้ใช้ plugins ของตัว AE ค่ะ จะมีการใช่ AE ในส่วนของการเคลื่อนไหวภาพ 2 มิติค่ะ
ขอบคุณมากค่ะ