RSUSSH 2020
NA20-033 การพยากรณ์ความต้องการใช้แท็กซี่ของผู้โดยสารท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ โดยใช้เทคนิค Exponential Smoothing Method
นำเสนอโดย: คมชาญ เจือจ้อย
มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์, กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย
Abstract
การวิจัยนี้เป็นการพยากรณ์เชิงปริมาณ มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบการพยากรณ์รายวันด้านความต้องการใช้แท็กซี่ของผู้โดยสารท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ โดยประยุกต์ใช้เครื่องมือควบคุมคุณภาพ 7 ประการ ได้แก่ กราฟ และผังก้างปลา แล้วนำข้อมูลความต้องการใช้แท็กซี่ของผู้โดยสารในไตรมาสที่ 1 ของปี 2562 โดยใช้เทคนิค Single Exponential Smoothing Method, Double Exponential Smoothing Method และ Triple Exponential Smoothing Method เปรียบเทียบประสิทธิภาพของวิธีการพยากรณ์ที่ศึกษาด้วยค่า MAD และค่า MAPE ที่น้อยที่สุด พบว่า วิธีปรับเรียบเอ็กซ์โพเนนเชียลแบบง่ายมีค่า MAD เท่ากับ 62.50 และค่า MAPE เท่ากับ 23.21 เป็นวิธีการพยากรณ์ที่แม่นยำที่สุดในการพยากรณ์ความต้องการใช้แท็กซี่ของผู้โดยสาร จากนั้นทำการวิเคราะห์ช่วงเวลาที่มีความต้องการใช้มากที่สุดในแต่ละวันคือ ช่วงเวลา 14.00 ถึง 15.00 น. คิดเป็นร้อยละ 21.11 จากผลการศึกษา พบว่า ควรมีรถแท็กซี่รองรับความต้องการของผู้โดยสารไม่ต่ำกว่าค่าเฉลี่ยของความต้องการใช้แท็กซี่ในแต่ละวัน คือ 524 คัน
Citation format:
คมชาญ เจือจ้อย, และศุภรัชชัย วรรัตน์. (2020). การพยากรณ์ความต้องการใช้แท็กซี่ของผู้โดยสารท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ โดยใช้เทคนิค Exponential Smoothing Method. เอกสารสืบเนื่องจากการประชุมระดับชาติมหาวิทยาลัยรังสิต ประจำปี 2563. วันที่ 1 พฤษภาคม 2563.QUESTIONS & ANSWERS
ได้ใช้ข้อมูลของปี 61 มาทำนายปี 62 ไหมครับ ที่ถามคือ ทั้ง2 ปี เป็นผลที่เกิดจริง เอาปี 61 ไปประมาณปี 62 (ซึ่งมีผลจริง ๆ แล้ว)
ตอบคำถาม
จากงานวิจัยฉบับนี้ ได้นำข้อมูลจำนวนการใช้บริการของผู้โดยสารในปี 61 มาสำรวจข้างต้นพบว่าปริมาณการใช้บริการสนามบินสุวรรณภูมิ ในทุกๆ ปีมีจำนวนผู้โดยสารเพิ่มอย่างต่อเนื่องสูงขึ้นจนเกินขีดความสามารถรองรับการให้ ทางผู้โดยบริหารของสนามบินเร่งพัฒนาสิ่งอำนวยความสะดวกทุก ๆ ด้าน เช่น ตัวอาคาร ส่วนต่อขยายต่าง ๆ เพื่อรองรับการใช้บริการ
ทางผู้วิจัยได้นำข้อมูลปี 62 ในไตรมาสที่ 1 มาเปรียบเทียบในด้านการใช้บริการรถแท๊กซี่สาธารณะ เป็นรายเดือน รายสัปดาห์ รายวัน และรายชั่วโมง เป็นต้นและพบว่า การวิเคราะห์ความต้องการได้อย่างมีประสิทธิภาพและแม่นยำทำการในระยะสั้น ระยะกลาง หรือระยะยาว ตามวัตถุประสงค์ที่เหมาะสมกับรูปแบบของข้อมูล เช่น ระยะเวลาการพยากรณ์ 3 เดือน แบ่งเป็นการวิจัย 2 ช่วง ช่วงที่ 1 ทำการวิเคราะห์ผลการพยากรณ์ 2 เดือน ช่วงที่ 2 ทดสอบประสิทธิภาพการพยากรณ์ 1 เดือน เป็นต้น เพื่อความสมบูรณ์ของข้อมูลได้ผลทันต่อการรองรับการจัดเตรียม การให้บริการผู้โดยสารที่มาใช้บริการสนามบินสุวรรณภูมิ