RSUSSH 2020
NA20-006 การพัฒนาความรู้และความสามารถในการเขียนโปรแกรมเบื้องต้น โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2
นำเสนอโดย: อนุชิต พรานกวาง
มหาวิทยาลัยพะเยา, ไทย
Abstract
การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาความรู้เดิมของนักเรียน เกี่ยวกับการเขียนโปรแกรมเบื้องต้น โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 2) เพื่อศึกษาความสามารถก่อนเรียนของนักเรียน เกี่ยวกับการเขียนโปรแกรมเบื้องต้น โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 3) เพื่อเปรียบเทียบความรู้การเขียนโปรแกรมเบื้องต้น ก่อนเรียนและหลังเรียน โดยกิจกรรมพัฒนาความรู้ในการเขียนโปรแกรมเบื้องต้น โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 และ 4) เพื่อเปรียบเทียบความสามารถการเขียนโปรแกรมเบื้องต้น ก่อนเรียนและหลังเรียน โดยกิจกรรมพัฒนาความสามารถในการเขียนโปรแกรมเบื้องต้น โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ประชากรที่ศึกษา คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนบ้านห้วยไร่สามัคคี จำนวน 60 คน กลุ่มตัวอย่าง 30 คน วิธีการสุ่มแบบง่าย (Simple Random Sampling) โดยการใช้ห้องเรียนเป็นหน่วยสุ่ม ซึ่งสุ่มจากการจับฉลาก
เครื่องที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบทดสอบความรู้ในการเขียนโปรแกรมเบื้องต้น โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน และแบบวัดความสามารถในการเขียนโปรแกรมเบื้องต้น โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน ที่มีการหาค่าดัชนีความสอดคล้อง ค่าคะแนนเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน คำนวณหาค่าระดับความยากง่าย ค่าอำนาจจำแนก และหาค่าสัมประสิทธิ์ความเชื่อมั่นของแบบทดสอบ โดยใช้สูตร KR-20 ของ คูเดอร์-ริชาร์ดสัน
ผลการวิจัยพบว่า
1. นักเรียนมีความรู้เกี่ยวกับการเขียนโปรแกรมเบื้องต้นเพิ่มสูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 หลังจากการเรียนรู้โดยการใช้ปัญหาเป็นฐาน ซึ่งเป็นไปตามสมมติฐานที่ตั้งไว้
2. นักเรียนมีความสามารถในการเขียนโปรแกรมเบื้องต้นเพิ่มสูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 หลังจากการเรียนรู้โดยการใช้ปัญหาเป็นฐาน ซึ่งเป็นไปตามสมมติฐานที่ตั้งไว้
Citation format:
อนุชิต พรานกวาง. (2020). การพัฒนาความรู้และความสามารถในการเขียนโปรแกรมเบื้องต้น โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2. เอกสารสืบเนื่องจากการประชุมระดับชาติมหาวิทยาลัยรังสิต ประจำปี 2563. วันที่ 1 พฤษภาคม 2563.QUESTIONS & ANSWERS
ทำไมผู้วิจัยจึงเลือกใช้ปัญหาเป็นฐานในการพัฒนาความรู้และความสามารถในการเขียนโปรแกรม วิธีนี้ดีกว่าวิธีอื่นอย่างไร
เพราะว่าการใช้ การจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน (Problem–based Learning : PBL) นั้นสร้างให้นักเรียนได้ทำการคิดแก้ปัญหาเองจากโจทย์ที่ให้ไป เช่น การเขียนโปรแกรมโดยภาษา HTML นั้นนักเรียนเขียนโปรแกรมแล้วเกิดข้อผิดพลาดหรือ error ของการเขียนโปรแกรมนั้นๆแล้ว นักเรียนสามารถเกิดการคิดวิเคราะห์ในการแก้โจทย์หรือปัญหาเองได้ โดยการใช้ขั้นตอนการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน เข้ามาใช้เป็นขั้นๆครับผม
ขอบคุณค่ะ