RSUSSH 2020
NA20-126 การศึกษาเชิงวิเคราะห์กลวิธีการแปลและการปรับบทแปลจากเรื่องสั้น “คนกวาดถนน”
นำเสนอโดย: นาวาตรีหญิง สุมณฑา ประดิษฐ์ศิลป์
มหาวิทยาลัยรังสิต, ไทย
Abstract
การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษากลวิธีการแปลและการปรับบทแปลเรื่องสั้นภาษาอังกฤษเรื่อง “คนกวาดถนน” แต่งโดย เอ.เอ็ม.เบอร์เรจ ซึ่งปรากฏอยู่ในหนังสือ “Roald Dahl’s Book of Ghost Stories” รวบรวมโดย โรอัลด์ ดาห์ล แปลเป็นภาษาไทยใช้ชื่อ “ชั่วโมงผี” โดย สาลินี คำฉันท์ ในกระบวนการศึกษาผู้วิจัยได้นำหลักการปรับบทแปลของ สัญฉวี สายบัว (2550) มาเป็นเกณฑ์ในการวิเคราะห์ โดยการจำแนกเนื้อความทั้งหมดออกมาจำนวน 20 ตัวอย่าง ซึ่งประกอบด้วย 2 ระดับ คือการปรับระดับคําและการปรับระดับโครงสร้างภาษา จากการวิเคราะห์การปรับบทแปลทั้งสองระดับ สามารถสรุปได้ว่า กลวิธีการแปลนั้น ส่วนใหญ่เป็นการแปลแบบเอาความมากกว่าการแปลแบบตรงตัว เนื่องจากเป็นการแปลที่เป็นธรรมชาติใกล้เคียงกับภาษาที่ผู้อ่านคุ้นเคย ในส่วนของการปรับบทแปลระดับคําที่พบมากที่สุดคือ การตัดคําหรือสํานวนทิ้งไป และการใช้วลีหรือประโยคแทนคํา ซึ่งพบเท่ากันทั้งสองประเภท ส่วนการปรับบทแปลระดับโครงสร้างภาษาที่พบมากที่สุดเท่ากันสองประเภทเช่นเดียวกันคือ การปรับระเบียบวิธีเรียงคําในประโยคหรือวลี และการปรับระดับเสียง หรือการทับศัพท์
Citation format:
สุมณฑา ประดิษฐ์ศิลป์, และนครเทพ ทิพยศุภราษฏร์. (2020). การศึกษาเชิงวิเคราะห์กลวิธีการแปลและการปรับบทแปลจากเรื่องสั้น “คนกวาดถนน”. เอกสารสืบเนื่องจากการประชุมระดับชาติมหาวิทยาลัยรังสิต ประจำปี 2563. วันที่ 1 พฤษภาคม 2563.QUESTIONS & ANSWERS
1. เหตุใด นักวิจัยจึงเลือก เรื่องสั้นภาษาอังกฤษเรื่อง “คนกวาดถนน” มีข้อเด่นอย่างไร
2. เมื่อวิเคราะห์กลวิธีการแปลได้แล้ว นำใช้ประโยชน์ อะไรต่อจากนี้
ขอบพระคุณสำหรับคำถามนะคะ
1. เนื่องจากตัวผู้เขียน และผู้รวบรวม ต่างเป็นผู้ที่มีผลงานโดดเด่น มีชื่อเสียงมายาวนาน รวมถึงผู้วิจัยมีความประสงค์ที่จะศึกษาผลงานแปลของสาลินี คำฉันท์ เนื่องด้วยมีผลงานการแปลวรรณกรรมที่มีชื่อเสียง และเป็นที่ยอมรับมากมายหลายเล่ม อาทิเช่น แม่รี่ป๊อปปิ้นส์ มาทิลดา นักอ่านสุดวิเศษ โรงงานชอคโกแลตมหัศจรรย์ และลิฟท์มหัศจรรย์ ฯลฯ
2. เมื่อวิเคราะห์กลวิธีการแปลได้แล้ว ก็ทำให้ทราบว่าผู้แปลได้ใช้วิธีการแปลแบบเอาความเป็นส่วนใหญ่ ซึ่งสามารถนำไปศึกษาการปรับบทแปล เรื่องอื่นๆของ สาลินี คำฉันท์เพิ่มเติมได้ ว่ามีการใช้กลวิธีการปรับบทแปลที่เหมือนกัน หรือแตกต่างกันอย่างไร เพื่อให้งานวิจัยมีความครอบคลุมทุกๆด้านมากยิ่งขึ้น