RSUSSH 2020
NA20-091 การหาองค์ประกอบโครงการเพื่อใช้ในการออกแบบรีสอร์ทสำหรับกลุ่มเกย์โดยใช้วิธีฐานนิยม
นำเสนอโดย: เบญจวรรณ แสนขำ
มหาวิทยาลัยรังสิต, ไทย
Abstract
งานวิจัยนี้ศึกษาการออกแบบโรงแรมบูติค รีสอร์ท พื้นที่ซึ่งตอบโจทย์ความต้องการเฉพาะกลุ่มเกย์ (Gay) โดยงานวิจัยชิ้นนี้ทำการสำรวจเนื้อหาและองค์ประกอบของโรงแรมและรีสอร์ทแบบบูติคสำหรับกลุ่มเกย์จำนวน 60 แห่งจากเว็บไซต์จากอินเตอร์เน็ท เพื่อเก็บข้อมูลความต้องการในด้านต่างๆ เนื้อหาดังกล่าวประกอบด้วยส่วนของที่ตั้งโครงการ กิจกรรม พื้นที่ใช้สอย รูปแบบการให้การบริการ การดำเนินการ ราคา ตลอดจนรูปแบบทางกายภาพ ฯลฯ ข้อมูลดังกล่าวถูกนำมาวิเคราะห์โดยใช้วิธีฐานนิยม จากนั้นข้อมูลที่ได้จะถูกนำมาปรับใช้ในขั้นตอนการจัดทำโปรแกรมการออกแบบของโครงการรีสอร์ทสำหรับกลุ่มเกย์ตามที่ได้กล่าวมา จากการสำรวจพบว่าข้อมูลที่ได้สามารถสะท้อนให้เห็นถึงภาพลักษณ์ของโครงการประเภทนี้ โดยส่วนใหญ่มีการออกแบบที่เรียบหรูทันสมัย มีรสนิยม ซึ่งสะท้อนอยู่ในหน่วยการใช้สอยส่วนต่างๆ และมีส่วนการใช้สอยเพื่อรองรับและส่งเสริมกิจกรรมด้านสุขภาพของนักท่องเที่ยวกลุ่มนี้ จากข้อมูลที่ได้ผู้วิจัยแบ่งเนื้อหาของหน่วยการใช้สอยออกเป็น 5 ส่วนตามองค์ประกอบหลักๆของโครงการรวมทั้งกิจกรรมพิเศษส่วนต่างๆ จากนั้นข้อมูลจากการสำรวจถูกนำมาปรับและสร้างเป็นโปรแกรมการออกแบบของโครงการขั้นต้นเพื่อนำไปปรับใช้ในการออกแบบโครงการรีสอร์ทสำหรับกลุ่มเกย์สัมพันธ์กับบริบทในด้านต่างๆในขั้นต่อไป ซึ่งคาดว่าผลที่ได้น่าจะสามารถตอบความต้องการของนักท่องเที่ยวกลุ่มเกย์โดยทั่วไปได้อย่างเหมาะสม
Citation format:
เอก เจริญศิลป์, และเบญจวรรณ แสนขำ. (2020). การหาองค์ประกอบโครงการเพื่อใช้ในการออกแบบรีสอร์ทสำหรับกลุ่มเกย์โดยใช้วิธีฐานนิยม. เอกสารสืบเนื่องจากการประชุมระดับชาติมหาวิทยาลัยรังสิต ประจำปี 2563. วันที่ 1 พฤษภาคม 2563.QUESTIONS & ANSWERS
การหาองค์ประกอบโครงการเพื่อใช้ในการออกแบบรีสอร์ทสาหรับเกย์โดยใช้วิธีฐานนิยม โดยการเก็บรวบรวมข้อมูลจากเวบไซค์และการใช้วิธีการหาฐานนิยม(Mode) เพื่อใช้ในการกำหนดโปรแกรมการออกแบบโครงการ ในความเห็นของผู้วิจัยวิธีการนี้สามารถใช้กับโครงการทางสถาปัตยกรรมทุกประเภทได้หรือไม่
หัวข้องานวิจัยมีความน่าสนใจดีค่ะโดยเฉพาะกลุ่มเป้าหมายที่มีลักษณะและรสนิยมเฉพาะ เพื่อให้งานวิจัยมีความครบถ้วนมากยิ่งขึ้นจึงข้อเสนอแนะความคิดเห็นดังนี้
1.วิธีฐานนิยมคืออะไร คำนี้คงเป็น Keyword สำคัญของวิธีการศึกษา ดังนั้นควรอธิบายวิธีฐานนิยมให้ชัดเจน ให้ทราบถึงวิธีการวิเคราะห์หาองค์ประกอบโครงการได้อย่างไร
2.การได้มาของข้อมูลควรมีทั้งสองประเภท คือ ข้อมูลทุติยภูมิและข้อมูลปฐมภูมิ ซึ่งในงานวิจัยนี้ควรเพิ่มข้อมูลปฐมภูมิของกลุ่มเป้าหมายและการสำรวจพื้นที่ 60 แห่ง ซึ่งถ้าหากมีข้อจำกัดเรื่องเวลาอาจจะจัดเป็นกลุ่มประเภทโรงแรมหรือรีสอร์ทเพื่อให้การลงพื้นที่มีความกระชับมากขึ้น ข้อมูลปฐมภูมิเป็นข้อมูลเชิงลึกที่จะทำให้ผู้วิจัยได้เห็นถึงกิจกรรม ความต้องการ ความสนใจ ความชอบ ไลฟ์สไตล์ และด้านอื่นๆของกลุ่มเป้าหมายได้อย่างชัดเจนมากยิ่งขึ้น
เรียนสอบถามค่ะ
การหาค่าความถื่ เพื่อมาทำเป็นค่ากลางสำหรับการออกแบบเพื่อตอบโจทย์กลุ่มลูกค้านั้น ในการเลือกโรงแรม ได้คิดถึง Ranging ของโรงแรมว่าต้องเป็นประเภทเดียวกันหรือไม่
เช่น โรงแรม 3-5 ดาวเท่านั้น หรือคละกัน เพราะน่าจะส่งผลต่อค่ากลางซึ่งจะตอบโจทย์ผู้ใช้ในกลุ่มเฉพาะแบบทั่วไป แต่ในการออกแบบสถาปัตยกรรมบางครั้งต้องตอบโจทย์ Niche Market ที่มีฟังก์ชั่นอาจแตกต่างไปเลย นั่นหมายถึงค่ากลางนี้ก็จะไม่สามารถใช้ได้ในทุกโครงการใช่หรือไม่คะ
ด้วยความนับถือ
@ Kritaporn Lappimol
ขอขอบคุณคุณ Kritaporn Lappimol ที่กรุณาให้คำแนะนำที่ดีมากค่ะ
ทางทีมวิจัยจะนำคำแนะนำไปทำการปรับปรุงส่วนที่เป็นจุดอ่อนในขั้นต่อๆไปค่ะ
@สมสฤทธิ์ ตาณพันธุ์
ขอขอบคุณคุณ สมสฤทธิ์ ตาณพันธุ์ ที่กรุณาให้ความสนใจถามคำถามค่ะ
ในความเห็นของผู้วิจัยวิธีการดังกล่าวสามารถใช้กับโครงการทางสถาปัตยกรรมประเภทต่างๆได้ หากโครงการประเภทนั้นๆมีเนื้อหาในส่วนที่เราต้องการเก็บข้อมูลถูกแจกแจงอยู่ในฐานข้อมูลซึ่งสามารถถูกเข้าถึงได้หรือในอินเตอร์เนท ตัวอย่างเช่นสถาปัตยกรรมประเภทโรงแรมซึ่งเป็นรูปแบบสถาปัตยกรรมของโครงการนี้ ซึ่งสามารถใช้เสิร์ชเอ็นจินค้นหารายชื่อและเนื้อหารายละเอียดได้ใน google รวมทั้งเว็บไซต์ที่ใช้ค้นหาเพื่อการใช้งาน จอง หรือซื้อเช่น agoda.com หรือ hotel.com ซึ่งทำให้มีความสะดวกในการทำลิสท์รายการในส่วนต่างๆ
@ aamaal phakdeetham chimvilaisup
ขอขอบคุณคุณ aamaal phakdeetham chimvilaisup ที่กรุณาให้ความสนใจถามคำถามค่ะ
การเลือกรายชื่อเพื่อมาทำเป็นค่ากลางสำหรับการออกแบบเพื่อตอบโจทย์ "กลุ่มลูกค้าเฉพาะ" นั้น รายชื่อของโรงแรมที่เลือกมาควรต้องเป็นประเภทเดียวกัน ในที่นี้ผู้วิจัยตีกรอบไว้ว่าโครงการอาจเป็นได้ทั้งโรงแรมและรีสอร์ท
และถ้าเป็นไปได้ "ช่วง" ของโครงการนั้นนั้นควรเป็น "กลุ่ม" ของโครงการที่อยู่ในระดับเดียวหรือใกล้เคียงกัน เช่นเลือกเฉพาะ "กลุ่ม" ของโครงการที่มีราคาแพง หรือ เฉพาะ "กลุ่ม" ของโครงการที่รับเฉพาะชาวต่างชาติ ฯลฯ ซึ่งจะเป็นการควบคุมตัวแปรขั้นต้นได้มากขึ้น
ในกรณีของงานวิจัยชิ้นนี้ทำการสำรวจเนื้อหาและองค์ประกอบของโรงแรมและรีสอร์ทแบบบูติคสำหรับกลุ่มเกย์จำนวน 60 แห่งจากเว็บไซต์จากอินเตอร์เน็ท
พบว่าโครงการส่วนใหญ่ที่พบใช้คำว่า Gay-Friendly Hotels ซึ่งเปิดกว้างในการรับลูกค้ามากขึ้น แทนที่จะให้คำจำกัดความชัดเจนลงไปว่าเป็น Gay Hotels ซึ่งพบว่ามีจำนวนไม่มากนัก ทำให้จำนวนรายชื่อของโครงการที่ทำการสำรวจมีจำกัดและมีความเฉพาะเจาะจงลดลง ต่างไปจากโครงการประเภทบาร์หรือสถานบันเทิงซึ่งมีความเฉพาะเจาะจงเป็นอย่างมากทั้งยังมีปริมาณที่มากในหลากหลายพื้นที่ ในกรณีนี้ค่าฐานนิยมที่ได้จากงานวิจัยนี้อาจมีจุดบอดอยู่บ้างไม่ตอบโจทย์โครงการนี้ได้เต็มที่
อย่างไรก้อตามค่าฐานนิยมที่ได้จากการสำรวจองค์ประกอบส่วนต่างๆตามงานวิจัยซึ่งถือว่ามีความ "ตลาด" สูงสุด จะกลายเป็นข้อมูลตัวอย่างให้เรานำมาพิจารณาเพื่อสร้างจุดยืนทางการตลาด (Positioning) ให้กับเนื้อหาโปรแกรมการออกแบบโครงการของเรา โดยเราอาจทำเหมือนๆกับชุดข้อมูลต่างๆที่เราหามาได้ กลายเป็นกลยุทธ์ทางการตลาดแบบ "Me too" หรือคนส่วนใหญ่ทำ ฉันก้อขอทำด้วย
หรือเราอาจทำอะไรๆที่แตกต่างกับชุดข้อมูลต่างๆที่เราหามาได้ กลายเป็นกลยุทธ์ทางการตลาดแบบ " Niche Market " หรืออาจทำให้สามารถคิด "โมเดลทางการตลาด" แบบอื่นๆขึ้นมาได้จากค่าฐานนิยมที่ได้มาจากเนื้อหาส่วนต่างๆตามที่ได้กล่าวมา