RSUSSH 2020

NA20-124 การวิเคราะห์การปรับบทแปลและกลวิธีการแปลวรรณกรรม เรื่อง “ทรัพย์ในดิน”

นำเสนอโดย: หทัยกาญจน์ เหล็กดี
มหาวิทยาลัยรังสิต, ไทย

Abstract

     การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1. การปรับบทแปลและ 2. กลวิธีการแปลซึ่งนำมาใช้ใน วรรณกรรมเรื่อง “ทรัพย์ในดิน” (The Good Earth) ประพันธ์โดย เพิร์ล เอส. บั๊ก (Pearl S. Buck) และ สงบ สวนสิริ (สันตสิริ) เป็นผู้แปล โดยเลือกตัวอย่างจากทุก ๆ ย่อหน้าแรกของฉบับแปลบทที่ (1, 3, ...ถึง 33) นำมาวิเคราะห์จำนวนทั้งหมดรวม 20 ตัวอย่าง ซึ่งผู้วิจัยนำหลักเกณฑ์การปรับบทแปลและกลวิธีการแปลของ สัญฉวี สายบัว (2560) มาเป็นเกณฑ์ในการศึกษา 1.การปรับบทแปลสามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ระดับ คือการปรับระดับคำ และ การปรับระดับโครงสร้างของภาษา จากผลการศึกษาสรุปได้ว่า ประเภทการปรับบทแปลระดับคำที่พบมากที่สุด คือ การตัดคำหรือสำนวนทิ้งไปลำดับถัดมาคือการใช้วลีหรือประโยคแทนคำในส่วนของประเภทการปรับบทแปลใน ระดับโครงสร้างที่พบมากที่สุดคือการปรับระเบียบวิธีเรียงคำในวลีหรือประโยคลำดับถัดมาคือการเพิ่มหรือละคำในประโยค 2. กลวิธีการแปลในการศึกษาครั้งนี้โดยส่วนใหญ่ผู้แปลมุ่งเน้นการแปลแบบเอา ความเพื่อสื่อให้ผู้อ่านเข้าใจในบริบทได้ง่ายขึ้นและ มีความสอดคล้องกับรูปแบบของภาษาที่ผู้อ่านมีความคุ้นเคย

Keywords: การปรับบทแปล; กลวิธีการแปล; วรรณกรรมเยาวชน

Citation format:

หทัยกาญจน์ เหล็กดี, และนครเทพ ทิพยศุภราษฏร์. (2020). การวิเคราะห์การปรับบทแปลและกลวิธีการแปลวรรณกรรม เรื่อง “ทรัพย์ในดิน”. เอกสารสืบเนื่องจากการประชุมระดับชาติมหาวิทยาลัยรังสิต ประจำปี 2563. วันที่ 1 พฤษภาคม 2563.

QUESTIONS & ANSWERS

Supattra Deeying (Participant)

คุณหทัยกาญจน์เห็นด้วยกับเทคนิคการปรับบทแปลของนักแปลหรือไม่คะ มีเทคนิคไหนไหมคะที่คิดว่าควรใช้มากกว่านี้

หทัยกาญจน์ เหล็กดี (Presenter)

@K. Supattra Deeying

 

ขอบพระคุณสำหรับคำถามที่น่าสนใจนะคะ 

คำตอบ: ดิฉันเห็นด้วยค่ะและเทคนิคที่นำมาใช้ก็เหมาะสมกับเนื้อหา เนื่องจากว่าการแปลฉบับภาษาไทยของเขาทำให้สามารถเข้าถึงอรรถรสและเข้าใจง่ายตรงตามต้นฉบับภาษาอังกฤษค่ะ

พีรดนย์ เจริญผล (Visitor)

เรียนคุณหทัยกาญจน์ เหล็กดี จากการฟังการนำเสนอแล้ว ผมมีข้อคำถามดังนี้ครับ

จากเหตุผลที่กล่าวในการเลือก วรรณกรรมเรื่อง "ทรัพย์ในดิน" มาศึกษาการปรับบทแปล 
อยากทราบว่า วรรณกรรมเรื่องนี้ให้แรงบันดาลใจแก่ผู้อ่านอย่างไรบ้าง?

ขอบคุณ และขอแสดงความยินดีด้วยครับ

พีรดนย์ เจริญผล

หทัยกาญจน์ เหล็กดี (Presenter)

@ คุณพีรดนย์ เจริญผล 

ขอบพระคุณสำหรับคำถามที่น่าสนใจค่ะ

คำตอบ: เนื่องจากวรรณกรรมเรื่อง"ทรัพย์ในดิน" เป็นวรรณกรรมที่ถ่ายทอดเรื่องราวของชาวนาหวางหลุง (ตัวละครหลัก)ผู้ยากจนจนสามารถก่อร่างสร้างตัวจนกลายเป็นเจ้าของที่ดินผู้มั่งคั่ง อีกทั้งยังแสดงถึงความอดทนมานะบากบั่นจนสามารถเอาชนะอุปสรรคต่างๆได้ รวมถึงสอดแทรกชีวิตความเป็นอยู่ของชาวจีนอีกด้วยค่ะ