RSUSSH 2020

NA20-088 การศึกษาเชิงวิเคราะห์การปรับบทแปลและกลวิธีการแปลจากเรื่องสั้น “ผีเกาหลี”

นำเสนอโดย: ปุณยาพร ตรีอุทัย
มหาวิทยาลัยรังสิต, ไทย

Abstract

     การศึกษาค้นคว้านี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการปรับบทแปลและกลวิธีการแปลที่ใช้ในการแปลเรื่องสั้น “ผีเกาหลี” เขียนโดย อิม บาง แปลเป็นภาษาอังกฤษโดยเจมส์ เอส เกล และแปลเป็นภาษาไทยโดยผุสดี นาวาวิจิต และปาริฉัตร เสมอแข โดยจำแนกเนื้อหาทั้งหมดจากฉบับแปลภาษาไทยออกเป็น 20 ตัวอย่าง โดยใช้กลวิธีการแปลและหลักเกณฑ์การปรับบทแปลของ สัญฉวี สายบัว (2560) และ Mona Baker (1992) เป็นแนวทางในการวิเคราะห์ ซึ่งสามารถจำแนกได้ 2 ระดับคือ การปรับระดับคำ และการปรับระดับโครงสร้างของภาษา จากผลการวิเคราะห์สามารถสรุปได้ว่าประเภทการปรับบทแปลระดับคำที่พบมากที่สุดคือ การตัดคำหรือสำนวนทิ้งไป ลำดับถัดมาคือ การใช้วลีหรือประโยคแทนคำ ในส่วนของการปรับบทแปลในระดับโครงสร้างที่พบมากที่สุดคือ การปรับระเบียบวิธีเรียงคำในประโยค รองลงมาคือการปรับรูปกรรตุวาจกและกรรมวาจก ในส่วนของกลวิธีการแปล พบว่าผู้แปลใช้การแปลแบบเอาความมากกว่าการแปลแบบตรงตัวสลับกับการปรับบทแปลในทางทฤษฎีเพื่อให้เหมาะสมกับรูปแบบภาษาที่ผู้อ่านคุ้นเคย เพื่อให้งานแปลมีความเป็นธรรมชาติและยังคงความหมายที่ใกล้เคียงกับต้นฉบับ

Keywords: การปรับบทแปล; กลวิธีการแปล; นวนิยาย; ปาริฉัตร เสมอแข

Citation format:

ปุณยาพร ตรีอุทัย, นครเทพ ทิพยศุภราษฏร์, และศิริมน ศรีนพรัตน์. (2020). การศึกษาเชิงวิเคราะห์การปรับบทแปลและกลวิธีการแปลจากเรื่องสั้น “ผีเกาหลี”. เอกสารสืบเนื่องจากการประชุมระดับชาติมหาวิทยาลัยรังสิต ประจำปี 2563. วันที่ 1 พฤษภาคม 2563.

QUESTIONS & ANSWERS

Vorapon Mahakaew (Participant)

เรียนคุณปุณยาพร ตรีอุทัย

ขอแสดงความยินดีกับคุณปุณยาพรสำหรับการนำเสนอในครั้งนี้ครับ งานวิจัยนี้มีประโยชน์และน่าสนใจต่อผู้ที่สนใจการแปลและนักวิชาการท่านอื่นๆครับ จากการฟังการนำเสนอแล้ว ผมมีข้อคำถามดังนี้ครับ

คำถาม: 1. อยากทราบเหตุผลที่เลือกเรื่องสั้นเรื่อง "ผีเกาหลี"

             2. นอกจากนี้ไม่ทราบว่าผู้เขียนท่านดังกล่าวได้เขียนเรื่องสั้นเรื่องอื่นๆอีกหรือไม่ และมีการแปลออกเป็นภาษาไทยหรือไม่ หากมีไม่ทราบว่านักวิจัยใช้ขั้นตอนการเลือกแบบมีการสุ่มตัวอย่างทางสถิติหรือไม่ 

ขอบคุณครับ

อาจารย์วรพล มหาแก้ว

ปุณยาพร ตรีอุทัย (Presenter)

ข้อที่1. เหตุผลที่เลือกเรื่องสั่นผีเกาหลีเพราะว่ามีงานแปลหลายภาษาเช่นแปลจากภาษาเกาหลีมาเป็นภาษาอังกฤษ และนักแปลได้นำเรื่องสั้นมาแปลเป็นภาษาไทย และผู้ที่แปลเป็นภาษาไทยคือ ผุสดี นาวาวิจิต และปาริฉัตร เสมอแข เป็นนักแปลเรื่องสั้นที่มีชื่อเสียงของไทย 

ข้อที่2ผู้ที่แปลเรื่องสั้นผีเกาหลีได้มีการแปลเรื่องสั้นไว้มากมายเช่น ปาริฉัตร เสมอแขได้แปลเรื่องสั้นเรื่องผีญี่ปุ่น เถาวัลย์มหัศจรรย์ 

ผุสดี นาวาวิจิต ได้แปลเรื่องสั้น โต๊ะโตะจังเด็กหญิงข้างหน้าต่าง เด็กหญิงอีดะ และเรื่องสั้นอีกมากมายที่แปลจากภาษาญี่ปุ่นมาเป็นภาษาไทย เนื่องจากนักแปลท่านนี้มีความเชี่ยวชาญในด้านของภาษาญี่ปุ่น

การเลือกผู้วิจัยได้เลือกการสุ่มแบบเจาะจง โดยใช้ทุกๆย่อหน้าแรกของเรื่องผีเกาหลีในการวิเคราะห์ เพราะในทุกๆย่อหน้าแรกของเรื่องทั้งหมดจะเป็นเนื้อหาในส่วนของการบรรยาย