RSUSSH 2020
NA20-069 การระบุตำแหน่งด้วยสัญญาณบูลทูธโดยใช้โครงข่ายประสาทเทียม
นำเสนอโดย: อภิรักษ์ ภักดีวงษ์
รังสิต, ไทย
Abstract
Bluetooth เทคโนโลยีเป็นช่องทางการสื่อสารในระยะสั้นที่มีความนิยมอย่างแพร่หลาย ซึ่งสัญญาณ Bluetooth เป็นเทคโนโลยีการสื่อสารพื้นฐานที่มีอยู่ใน อุปกรณ์โทรศัพท์มือถือ และอุปกรณ์พกพา ในงานวิจัยนี้ได้นำเสนอการระบุตำแหน่งของตนเองภายในอาคารโดยใช้ สัญญาณ Bluetooth ซึ่งในการศึกษา เป็นการนำค่าความเข้มของสัญญาณมาใช้ในการคำนวณหาระยะทางของตัวรับสัญญาณเพื่อนำมาคำนวณหาตำแหน่งที่ต้องการโดยใช้หลักการ Neural Network การทดลองเป็นการทดสอบเพื่อหาโครงสร้างของ Neural Network ที่เหมาะสมกับพื้นการระบุตำแหน่งภายในพื้นที่ทดลอง ผลการทดสอบการระบุตำแหน่งพบว่า สามารถคำนวณตำแหน่งที่มีความคลาดเคลื่อนในระยะไม่เกิน 1.5 เมตรได้ถึง 50 เปอร์เซ็นต์ของพื้นทดลอง ซึ่งถือว่ามีความแม่นยำในการระบุตำแหน่งค่อนข้างดี ในการศึกษานี้เป็นการนำเสนอการเทคนิคพื้นฐาน รวมถึงการเก็บข้อมูลสำหรับคำนวณตำแหน่งในอาคาร
Citation format:
อภิรักษ์ ภักดีวงษ์, สมหมาย บัวแย้มแสง, และชนินท์ วงษ์ใหญ่. (2020). การระบุตำแหน่งด้วยสัญญาณบูลทูธโดยใช้โครงข่ายประสาทเทียม. เอกสารสืบเนื่องจากการประชุมระดับชาติมหาวิทยาลัยรังสิต ประจำปี 2563. วันที่ 1 พฤษภาคม 2563.QUESTIONS & ANSWERS
LIVE PRESENTATION ON MAY 1, 2020