RSUSSH 2020

NA20-047 กำลังแรงยึดเฉือนระหว่างแบร็กเกตจัดฟันโลหะกับวัสดุบูรณะเซอร์โคเนียที่ผ่านการปรับสภาพผิวที่แตกต่างกัน

นำเสนอโดย: พลอยลดา วิทวัสพันธุ์
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, ไทย

Abstract

          วัตถุประสงค์ของการทดลองนี้เพื่อเปรียบเทียบกำลังแรงยึดเฉือนระหว่างแบร็กเกตจัดฟันโลหะกับเซอร์โคเนียที่ผ่านการปรับสภาพผิวที่แตกต่างกัน โดยเตรียมเซอร์โคเนียขนาด 8 x 8 x 2 มิลลิเมตร และทำการเผาซินเทอร์ จำนวน 6 กลุ่ม กลุ่มละ 10 ชิ้น นำไปฝังลงในท่อพีวีซีด้วยยิปซัมทางทันตกรรมและขัดเรียบ ผิวของเซอร์โคเนียถูกปรับสภาพผิวโดยการพ่นผงอะลูมิเนียมออกไซด์ (S) การกรอด้วยเข็มกรอกากเพชร (G) การทาสารปรับปรุงผิวเซอร์โคเนียไพรเมอร์ (Z) การพ่นผงอะลูมิเนียมออกไซด์ร่วมกับทาสารปรับปรุงผิวเซอร์โคเนียไพรเมอร์ (SZ) การกรอด้วยเข็มกรอกากเพชรร่วมกับทาสารปรับปรุงผิวเซอร์โคเนียไพรเมอร์ (GZ) และกลุ่มที่ไม่ได้ปรับสภาพผิวเป็นกลุ่มควบคุม จากนั้นนำแบร็กเกตจัดฟันมาเชื่อมติดชิ้นงานด้วยเรซินแอดฮีซีฟทรานสบอนด์ เอ็กซ์ที (Transbond XT) และแช่ไว้ในน้ำกลั่นที่อุณหภูมิ 37 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 24 ชั่วโมง จากนั้นทดสอบค่ากำลังแรงยึดเฉือนด้วยเครื่องทดสอบอเนกประสงค์ โดยใช้ความเร็วในการทดสอบที่ 1 มิลลิเมตรต่อนาที ศึกษาลักษณะความล้มเหลวที่เกิดขึ้นด้วยกล้องจุลทรรศน์ชนิด สเตอริโอ และวิเคราะห์พื้นผิวของเซอร์โคเนียด้วยกล้องจุลทรรศน์อิเลคตรอนชนิดส่องกราด จากนั้นนำผลที่ได้มาวิเคราะห์ทางสถิติเปรียบเทียบโดยใช้การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว ที่ระดับนัยสำคัญ 0.05 จากผลการศึกษาพบว่ากลุ่มที่ GZ (6.90±0.80 MPa) มีค่ากำลังยึดเฉือนสูงที่สุด ตามด้วยกลุ่มที่ G (4.05±0.55 MPa) และกลุ่ม Z (3.63±0.41 MPa) โดยกลุ่มควบคุมมีแรงยึดเฉือนที่น้อยที่สุด (1.07±0.13 MPa) อย่างมีนัยสำคัญ (p<0.05) การปรับสภาพผิวเซอร์โคเนียด้วยการกรอด้วยเข็มกรอกากเพชรร่วมกับการทาสารปรับปรุงผิวเซอร์โคเนียไพรเมอร์มีประสิทธิภาพในการเพิ่มแรงยึดของแบร็กเกตจัดฟันซึ่งอาจลดปัญหาการหลุดของแบร็กเกตขณะรักษาและเพิ่มความสำเร็จของการรักษาได้

Keywords: แบร็กเกตจัดฟัน; แรงยึดเฉือน; เซอร์โคเนีย

Citation format:

พลอยลดา วิทวัสพันธุ์, และอธิคม สุรินทร์ธนาสาร. (2020). กำลังแรงยึดเฉือนระหว่างแบร็กเกตจัดฟันโลหะกับวัสดุบูรณะเซอร์โคเนียที่ผ่านการปรับสภาพผิวที่แตกต่างกัน. เอกสารสืบเนื่องจากการประชุมระดับชาติมหาวิทยาลัยรังสิต ประจำปี 2563. วันที่ 1 พฤษภาคม 2563.

QUESTIONS & ANSWERS

Asst. Prof. Umaporn Vimonkittipong, DDS. (Chairperson)

ผู้วิจัยมีการควบคุมปัจจัยเรื่องการ grinding  และการทาสารไพร์เมอร์อย่างไรบ้างคะ

พลอยลดา วิทวัสพันธุ์ (Presenter)

ขออนุญาตตอบคำถาม ผศ. ทญ. อุมาพร วิมลกิตติพงศ์ (CHAIRPERSON) ดังนี้ค่ะ

การควบคุมปัจจัยเรื่องการ grinding ใช้เข็มกรอกากเพชรรูปดับเบิลโคนความหยาบ 106 ไมครอน (Standard double cone shape bur, Intensive SA, Grancia, Switzerland) กรอด้วยหัวกรอความเร็วสูง (Alegra dental turbine, W&H company, Bürmoos, Austria) รอบการหมุน 330,000 RPM ควบคุมแรงที่ใช้ และทิศทางของหัวกรอโดยเครื่องกลึงคอมพิวเตอร์ซีเอ็นซี (CNC; Computer Numerical Control) โดยวางหน้าตัดเข็มกรอกากเพชรให้หน้าตัดรูปโคนด้านบนขนานและแนบบริเวณหน้าตัดของชิ้นงานเซอร์โคเนีย ดังรูปในวิดีโอนำเสนอ ตัวเครื่องทำงานโดยแท่นจับชิ้นงานของเครื่องกลึงคอมพิวเตอร์ซีเอ็นซีจะเคลื่อนที่เป็นเส้นตรงทิศทางเดียวจากซ้ายไปขวาในขณะที่หัวกรอทำงานอยู่กับที่ โดยทุกชิ้นงานจะได้รับแรงที่กด และระยะห่างระหว่างชิ้นงานและเข็มกรอเท่ากันค่ะ

การทาสารไพร์เมอร์ได้ทาตามคำแนะนำของบริษัทผู้ผลิตโดยผู้วิจัยคนเดียวกันทั้งหมดทุกชิ้นงาน โดยทาสารไพร์เมอร์ 1 ครั้ง ด้วยไมโครบลัช (micro brush) ลงบนชิ้นงานที่มีสติกเกอร์แปะเพื่อควบคุมพื้นที่การยึดติดไว้ เป่าด้วย air syringe 3 นาที ให้มีลักษะเคลือบเป็นฟิล์มบางๆค่ะ 

ขอบคุณค่ะ

พลอยลดา วิทวัสพันธุ์ (Presenter)

ขออนุญาตเพิ่มเติมค่ะ การ grinding เปลี่ยนเข็มกรอกากเพชรทุก 5 ชิ้นงานเพื่อป้องกันการทื่อของเข็มกรอ และนำไปวัด profilometer ทุกอัน เพื่อควบคุมความขรุขระให้เท่ากันค่ะ

Asst. Prof. Jirat Srihatajati, DDS (Chairperson)

จากผลการศึกษานี้ สามารถนำไปอ้างอิงทางคลินิกได้อย่างไรบ้างคะ

และการใช้หัวกรอในการศึกษานี้ที่มีความหยาบ 106 ไมครอนจะส่งผลต่อความแข็งแรงต่อชิ้นงาน หรือก่อให้เกิดรอยร้าวเล็กๆได้หรือไม่คะ เพราะในส่วนของที่รีวิวมา เขียนว่า หัวกรอที่มีความหยาบ 91 ไมครอนไม่ส่งผลต่อความแข็งแรง แต่ไม่แน่ใจว่า การใช้ความหยาบที่มากกว่าจะส่งผลต่อชิ้นงานหรือไม่ค่ะ

Prof., Clinic Issarawan Boonsiri (Chairperson)

Prof., Clinic Issarawan Boonsiri
STATUS: Chairperson

กลุ่มที่ สามใช้เข็มกรอกากเพชรรูปดับเบิลโคนความหยาบ 106 ไมครอน (Standard double cone shape bur, Intensive SA,
Grancia, Switzerland) กรอด้วยหัวกรอความเร็วสูง (Alegra dental turbine, W&H company, Bürmoos, Austria) เท่าไร ?

ควบคุมแรงกดได้อย่างไร ?

Prof., Clinic Issarawan Boonsiri (Chairperson)

Prof., Clinic Issarawan Boonsiri
STATUS: Chairperson

กลุ่มที่ สามใช้เข็มกรอกากเพชรรูปดับเบิลโคนความหยาบ 106 ไมครอน (Standard double cone shape bur, Intensive SA,
Grancia, Switzerland) กรอด้วยหัวกรอความเร็วสูง (Alegra dental turbine, W&H company, Bürmoos, Austria) เท่าไร ?

ควบคุมแรงกดได้อย่างไร ?

พลอยลดา วิทวัสพันธุ์ (Presenter)

ขออนุญาตตอบคำถามผศ ทญ จิรัฏฐ์ ศรีหัตถจาติ (CHAIRPERSON) ดังนี้ค่ะ

เนื่องจากการยึดติดแบร็กเกตจัดฟันกับตัวครอบฟันเซอร์โคเนียยังมีข้อจำกัด จากผลการศึกษา  การใช้เข็มกรอกากเพชรแบบ standard (106 ไมครอน) กรอที่ผิวเซอร์โคเนียเพื่อเพิ่มความขรุขระที่ผิวร่วมกับการทาสารปรับปรุงผิวเซอร์โคเนียไพรเมอร์ที่มีองค์ประกอบของอนุพันธ์กรดฟอสฟอริกหรือเท็นเอ็มดีพี สามารถเพิ่มค่ากำลังแรงยึดเฉือนระหว่างเซอร์โคเนียและแบร็กเกตจัดฟันโลหะได้ และได้ค่าเป็นที่ยอมรับในทางคลินิกค่ะ วิธีนี้อาจช่วยให้การยึดติดระหว่างแบร็กเกตจัดฟันกับตัวครอบฟันเซอร์โคเนียดีขึ้น เพิ่มความสำเร็จในงานจัดฟันได้ค่ะ

จากงานวิจัยของ Subasi MG และคณะ 2014 ได้ทำการวิจัยโดยใช้หัวกรอ diamond 110 ไมครอน โดยวัดการเปลี่ยนแปลงเฟสของเซอร์โคเนีย และ three-point flexural strength test พบว่ามีการเปลี่ยนแปลงไปของเฟสของเซอร์โคเนียจากเตตระโกนอลไปเป็นโมโนคลินิก แต่ไม่มีผลต่อ  flexural strength อย่างมีนัยสำคัญค่ะ สอดคล้องกับงานวิจัยก่อนหน้านี้ที่ได้รีวิวมาค่ะ 

ขอบคุณค่ะ

Subasi, M. G., Demir, N., Kara, O., Ozturk, A. N., & Ozel, F. (2014). Mechanical properties of zirconia after different surface treatments and repeated firings. J Adv Prosthodont, 6(6), 462-467. doi:10.4047/jap.2014.6.6.462

พลอยลดา วิทวัสพันธุ์ (Presenter)

ขออนุญาตตอบคำถามPROF., CLINIC ISSARAWAN BOONSIRI (CHAIRPERSON) ดังนี้ค่ะ

หัวกรอความเร็วสูง (Alegra dental turbine, W&H company, Bürmoos, Austria) รอบการหมุน 330,000 RPM ที่แรงดัน 2 บาร์ ตามคำแนะนำของบริษัทติดกับเครื่องกลึงคอมพิวเตอร์ซีเอ็นซี (CNC; Computer Numerical Control) เพื่อควบคุมแรงกดโดยวางหน้าตัดเข็มกรอกากเพชรให้หน้าตัดรูปโคนด้านบนขนานและแนบบริเวณหน้าตัดของชิ้นงานเซอร์โคเนีย ดังรูปในวิดีโอนำเสนอ ตัวเครื่องทำงานโดยแท่นจับชิ้นงานของเครื่องกลึงคอมพิวเตอร์ซีเอ็นซีจะเคลื่อนที่เป็นเส้นตรงทิศทางเดียวจากซ้ายไปขวาในขณะที่หัวกรอทำงานอยู่กับที่ โดยสามารถควบคุมระยะห่างระหว่างชิ้นงานและเข็มกรอเท่ากันค่ะ

ขอบคุณค่ะ

Spun Lenglerdphol (Visitor)

การทำ sandblasting ด้วยผง Aluminum oxide และการ grinding with burs เป็นการสร้าง mechanical surface treatment เช่นกันทั้งคู่ จากการศึกษาที่ผ่านมาพบว่า การทำ zirconia surface treatment with the combination of mechanical and cheminal surface treatment มักให้ผลดีกว่า การทำ mechanical หรือ chemical surface treatment เดี่ยวๆ

อยากทราบความเห็นของผู้วิจัยค่ะในส่วนของผลของการทดลองค่ะ ว่า คิดว่าทำไมการทำ mechanical surface treatment + chemical surface treatment (zirconia primer) ของกลุ่ม SZ จึงมีค่าต่ำกว่า กลุ่ม G ที่เป็น chemical surface treatment หรือกลุ่ม S ที่เป็น mechanical surface treatment เท่านั้นคะ? เพราะถึงแม้จะ discuss ในแง่ของพื้นที่ในการยึดติดแต่ในการทดลองนี้พื้นที่ในการยึดติดนั้นก็ถูกควบคุมให้เท่ากันในพื้นที่วงกลมรัศมี 2.38 mm เท่าๆกันทุกชิ้น และใน study อื่นๆที่ผ่านมาก็มักมีการ control ในส่วนของ bonding area ให้เท่ากันอยู่แล้ว ส่วนมากจึงสรุปผลออกมาในทางเดียวกัน

หรือผู้วิจัยมีความเห็นเช่นไรในกรณีถ้าทำการเพิ่มพื้นที่ยึดติดให้กว้างขึ้นคะ?

 

สุดท้ายมีคำถามเพื่อขอความรู้ในเรื่องเทคนิคการเจาะกระดาษกาวให้ได้รูกลมขนาด 2.38 mm ว่าใช้เครื่องมืออะไร เพราะเคยทำการทดลองที่คล้ายกันพบว่า ขั้นตอนนี้ทำยากมากเลยค่ะ

ขอบคุณค่ะ

 

พลอยลดา วิทวัสพันธุ์ (Presenter)

ขออนุญาตตอบคำถามคุณ SPUN LENGLERDPHOL (VISITOR) ดังนี้ค่ะ

เห็นด้วยค่ะ ที่กล่าวว่าการทำ zirconia surface treatment with the combination of mechanical and cheminal surface treatment มักให้ผลดีกว่า การทำ mechanical หรือ chemical surface treatment เดี่ยวๆ จากการทดลองก่อนหน้านี้ และการทดลองนี้ในกลุ่มของ Grinding and Zirconia primer ในขณะที่กลุ่ม SZ มีค่าน้อยอาจจะเนื่องจากมาจากการออกแบบการทดลองที่ใช้การพ่นผงอะลูมิเนียมออกไซด์ด้วยอนุภาค 50 ไมครอน รูปร่างกลม ที่แรงดัน 0.25 เมกะปาสคาล โดยสาเหตุที่เลือกใช้ขนาด รูปร่าง และแรงดันนี้เพราะมีการศึกษาก่อนหน้านี้กล่าวว่าเป็นการเตรียมพื้นผิวเซอร์โคเนียที่ทำให้เกิดความขรุขระบนพื้นผิว มีการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างผลึกเตตระโกนอลไปเป็นโครงสร้างผลึกโมโนคลินิกในระดับที่เหมาะสม ไม่ทำให้ความแข็งแรงของเซอร์โคเนียต่ำลงซึ่งน้อยกว่าการทดลองอื่นๆ อาจมีผลต่อแนวโน้มของผลการทดลองทำให้ไม่ออกมาในทิศทางเดียวกัน รวมถึงการมีผงอะลูมิเนียมเกาะที่ผิวเซอร์โคเนีย ทำให้การเชื่อมติดด้วยพันธะเคมีระหว่าง MDP และเซอร์โคเนียลดลง และการทำ grinding จะได้ความขรุขระมากกว่าการทำ sandblast การยึดติดจึงดีกว่า ในแง่ของพื้นที่ยึดติดเนื่องจากในการทดลองนี้ใช้พื้นที่ยึดติด 2.38 mm ทำให้ค่าที่ได้น้อยกว่าผลการทดลองก่อนหน้านี้ค่ะ ซึ่งแนวโน้มที่ออกมามีทั้งแตกต่างและเป็นไปในทิศทางเดียวกัน การเพิ่มพื้นที่ยึดติดอาจทำให้ค่าเพิ่มขึ้นในทุกกลุ่ม แต่อาจจะไม่มีผลต่อแนวโน้มของผลการทดลองค่ะ 

การเจาะเทปกาวใช้ที่เจาะที่ขึ้นรูปมาให้ได้ตามขนาดเพื่อทำงานวิจัยค่ะ เมื่อเจาะรูแล้ววัดด้วย vernier caliper อีกทีเพื่อควบคุมให้ได้เส้นผ่านศูนย์กลาง 2.38 mm ค่ะ

ขอบคุณค่ะ