RSUSSH 2020
NA20-099 สถานภาพวิทยานิพนธ์สาขานิเทศศาสตร์และสารสนเทศ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ระหว่าง พ.ศ. 2554-2560
นำเสนอโดย: พรรฑิกา จิวรรักษ์
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, ไทย
Abstract
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) วิเคราะห์เนื้อหาวิทยานิพนธ์สาขานิเทศศาสตร์และสารสนเทศ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ระหว่าง พ.ศ. 2554-2560 จำนวน 102 เรื่อง ตามแนวคิดการสื่อสารตามทฤษฎี SMCR ของ เดวิด เค เบอร์โล และ 2) วิเคราะห์ระเบียบวิธีวิจัย ได้แก่ ลักษณะทางประชากร ทฤษฎีที่ใช้ในการวิจัย ประเภทการวิจัย วิธีสุ่มตัวอย่างในการวิจัย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย และสถิติที่ใช้ในการวิจัยในด้านระเบียบวิธีวิจัย ได้แก่ ลักษณะประชากร ทฤษฎีที่ใช้ในการวิจัย ประเภทของการวิจัย วิธีการสุ่มตัวอย่างในการวิจัย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย และสถิติที่ใช้ในการวิจัย โดยใช้แบบบันทึกข้อมูลเป็นเครื่องมือการวิจัย และวิเคราะห์ข้อมูลแจกแจงความถี่ และหาค่าร้อยละ ผลการวิจัยพบว่า วิทยานิพนธ์สาขานิเทศศาสตร์และสารสนเทศส่วนใหญ่ศึกษาผู้ส่งสารเป็นองค์กร/หน่วยงาน ภาคเอกชน ขอบเขตเนื้อหาที่ส่วนใหญ่ศึกษา คือ ด้านนิเทศศาสตร์ธุรกิจ การจัดการการสื่อสาร และการสื่อสารการตลาด ด้านช่องทาง คือ ศึกษาสื่อสังคมออนไลน์เกี่ยวกับเว็บไซต์ และผู้รับสารเป็นนักเรียน/นิสิต/นักศึกษา ส่วนในด้านระเบียบวิธีวิจัย พบว่า ส่วนใหญ่ศึกษาเพศชาย ช่วงวัยผู้ใหญ่ โดยมีอายุระหว่าง 26-60 ปี อยู่ในเขตกรุงเทพมหานคร โดยใช้แนวคิดและทฤษฎีเกี่ยวกับความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรม เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ มีการสุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง แบบสอบถามเป็นเครื่องมือการวิจัย และใช้สถิติเชิงพรรณนา คือ ความถี่ ร้อยละ
Citation format:
พรรฑิกา จิวรรักษ์, วราพรรณ อภิศุภะโชค, และศรัณย์ธร ศศิธนากรแก้ว. (2020). สถานภาพวิทยานิพนธ์สาขานิเทศศาสตร์และสารสนเทศ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ระหว่าง พ.ศ. 2554-2560. เอกสารสืบเนื่องจากการประชุมระดับชาติมหาวิทยาลัยรังสิต ประจำปี 2563. วันที่ 1 พฤษภาคม 2563.QUESTIONS & ANSWERS
คำถาม : งานวิจัยนี้ ทำให้เห็นงานวิจัยในแง่นิเทศศาสตร์ในหลายประเด็นที่สอดคล้องกับคณะและสาขาเป็นอย่างดี มีรายละเอียดชัดเจน จึงต้องการทราบว่า ผู้วิจัยมีความคิดเห็นเกี่ยวกับแนวโน้มในอนาคตของสาขานิเทศศาสตร์อย่างไรบ้าง?
คำตอบ : แนวโน้มในอนาคตของสาขานิเทศศาสตร์นั้น ผู้วิจัยมองว่าในสังคมยุคดิจิทัลในปัจจุบันยังเป็นสังคมที่การใช้สื่อและเทคโนโลยีสารสนเทศเข้ามามีบทบาทสำคัญต่อการเรียนการสอนและการทำงาน การพัฒนาประเทศ การพัฒนาด้านการแพทย์ ฯลฯ ทั้งนี้การศึกษาประเด็นด้านสื่อสมัยใหม่และเทคโนโลยีสารสนเทศจะทำให้เกิดองค์ความรู้ใหม่ๆ ในสาขานิเทศศาสตร์และสารสนเทศ และยังเป็นประโยชน์ต่อการปรับตัวให้รู้เท่าทันต่อข้อมูลข่าวสารให้สอดรับกับการเปลี่ยนแปลงด้านสื่อและเทคโนโลยีสารสนเทศ รวมทั้งเพื่อให้สอดคล้องกับตลาดแรงงานด้านสื่อและเทคโนโลยีในยุคสังคมดิจิทัลค่ะ
*แก้ไขคำตอบ : แนวโน้มในอนาคตของสาขานิเทศศาสตร์นั้น ผู้วิจัยมองว่าในสังคมยุคดิจิทัลในปัจจุบันและอนาคต ยังเป็นสังคมที่การใช้สื่อและเทคโนโลยีสารสนเทศเข้ามามีบทบาทสำคัญต่อการเรียนการสอนและการทำงาน การพัฒนาประเทศ การพัฒนาด้านการแพทย์ ฯลฯ ทั้งนี้การศึกษาประเด็นด้านสื่อสมัยใหม่และเทคโนโลยีสารสนเทศจะทำให้เกิดองค์ความรู้ใหม่ๆ ในสาขานิเทศศาสตร์และสารสนเทศ และยังเป็นประโยชน์ต่อการปรับตัวให้รู้เท่าทันต่อข้อมูลข่าวสารให้สอดรับกับการเปลี่ยนแปลงด้านสื่อและเทคโนโลยีสารสนเทศ รวมทั้งเพื่อให้สอดคล้องกับตลาดแรงงานด้านสื่อและเทคโนโลยีในยุคสังคมดิจิทัลค่ะ