RSUSSH 2020
NA20-062 การศึกษาผ่านความเชื่อและประเพณีแต่งงานของชาวอาข่าใน ชุมชนหล่อโย อำเภอ แม่จัน จังหวัด เชียงราย เพื่อการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม
นำเสนอโดย: เปมิกา แซ่เล้า
มหาวิทยาลัยรังสิต, ไทย
Abstract
การศึกษานี้ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาลักษณะทางกายภาพของชุมชน หล่อโย อำเภอ แม่จัน จังหวัด เชียงราย 2) เพื่อศึกษาวัฒนธรรมจารีตประเพณีการแต่งงานของชาวอาข่าและวัฒนธรรมเรือนหอ “กูเลาะห์” ที่จะนำไปสู่การส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม 3) เพื่อเสนอแนะการวางผังและออกแบบพัฒนาโฮมสเตย์จากเรือนหอ (กูเลาะห์) และส่งเสริมพื้นที่สาธารณะชุมชนเพื่อรองรับประเพณีการแต่งงานของชาวอาข่า จากประเด็นปัญหาด้านวัฒนธรรมของชาวอาข่าที่มีความเลือนลางและหายไป โดยเฉพาะวัฒนธรรมการแต่งงาน และเรือนหอกูเลาะห์ อันเป็นอัตลักษณ์เฉพาะของพื้นที่ชุมชนหล่อโยนี้ จึงได้นำมาศึกษาวิจัยเพื่อการฟื้นฟูวัฒนธรรมนี้ให้กลับมา และนำมาซึ่งการส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมให้กับพื้นที่ โดยการดำเนินงานวิจัยในรูปแบบของการบูรณาการทางสังคมกับการออกแบบทางกายภาพโดยการสำรวจพื้นที่ศึกษาแผนพัฒนาของจังหวัดเชียงราย และชุมชน นำมาวิเคราะห์โดยนำทฤษฎีจินตภาพของเมือง (Image of city) รวมทั้งทฤษฎีการออกแบบวางผังชุมชนในแนวทางการพัฒนาเชิงวัฒนธรรม นำมาใช้กับการออกแบบวางผังชุมชน ผลการวิจัย เสนอแนะออกแบบชุมชนเบื้องต้นเป็น 3 ส่วน โดยส่วนที่หนึ่ง จุดต้อนรับนักท่องเที่ยว ส่วนที่สอง ที่พักอาศัยโฮมสเตย์โดยพัฒนาจากรูปแบบเรือนหอกูเลาะห์เดิมให้เป็นที่พักอาศัยสำหรับนักท่องเที่ยวที่มาเป็นคู่รัก เพื่อส่งเสริมวัฒนธรรมและวิถีชีวิตดั่งเดิมของชาวอาข่า และส่วนสุดท้ายเสนอแนะพื้นที่สาธารณะชุมชนบริเวณลานสาวกอดเดิมให้เป็นพื้นที่รองรับกิจกรรมประเพณีการแต่งงานเพื่อเรียนรู้ และสร้างประสบการณ์เกี่ยวกับประเพณีการแต่งงาน โดยพื้นที่ทั้ง 3 จะเป็นแหล่งการเรียนรู้ สร้างประสบการณ์ใหม่ในการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม และ ประเพณีการแต่งงานโดยการพัฒนาเชิงอนุรักษ์นี้ คาดหวังว่าจะช่วยส่งเสริมในด้านการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมได้ซึมซับประสบการณ์ประเพณีการแต่งงานของชาวอาข่า พร้อมกับการสร้างเศรษฐกิจฟื้นฟู วิถีชีวิตและอัตลักษณ์ ชุมชนให้กลับมา
Citation format:
สมสฤทธิ์ ตาณพันธุ์, ณัฐวุฒิ อุทัยช่วง, ณัฐ คำภีระ, เสกสรรค์ พงษ์ประเสริฐ, กิตติธัช ลิ้มประเสริฐ, เปมิกา แซ่เล้า, พรรณิการ์ พราหมณ์ยอด, นครินทร์ เลิศรัศมีมาลา, และธนกฤต แก้ววิลัย. (2020). การศึกษาผ่านความเชื่อและประเพณีแต่งงานของชาวอาข่าใน ชุมชนหล่อโย อำเภอ แม่จัน จังหวัด เชียงราย เพื่อการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม. เอกสารสืบเนื่องจากการประชุมระดับชาติมหาวิทยาลัยรังสิต ประจำปี 2563. วันที่ 1 พฤษภาคม 2563.QUESTIONS & ANSWERS
การนำประเพณีการแต่งงานของชาวอาข่ามาฟื้นฟู และส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมนั้น เป็นสิ่งที่น่าสนใจมาก ท่านคิดว่าสามารถนำไปใช้ในหมู่บ้านอื่นๆได้มัย ได้อย่างไรที่จะช่วยเศรษฐกิจชุมชน และรักษาอัตลักษณ์ดั้งเดิมของชุมชนนั้นได้?
สวัสดีครับ ถ้าเป็นไปได้ผมขอให้ช่วยอธิบายเพิ่มเติม เรื่องการนำระหว่างทฤษฎีจินตภาพของเมือง (Image of city) ว่าสะท้อนผ่านงานออกแบบผังอย่างไรครับ ขอบคุณครับ
- พื้นที่จัดกิจกรรมประเพณีการแต่งงาน ชาวอาข่าสามารถเข้ามาใช้ทำพิธีจริงได้หรือไม่
หากสามารถทำได้ การเลือกตำแหน่งที่ตั้งของพื้นที่จัดกิจกรรมประเพณีการแต่งงาน
รวมถึงการวางผัง มีหลักการในการเลือกพื้นที่หรือไม่
เนื่องจากชาวอาข่า เป็นชนเผ่ามีความเชื่อโบราณอยู่มาก
- จากรูปแบบเรือนหอทั้ง 4 มีการเลือกใช้วัสดุหรือไม่ อย่างไร
@ EKA CHAROENSILPA การนำประเพณีการแต่งงานที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัวของแต่ละท้องถิ่น สามารถนำมาส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมได้สามารถนำไปปรับใช้ได้กับหมู่บ้านอื่นๆที่มีวัฒนธรรมที่แตกต่างกันสร้างอัตลักษณ์และแรงดึงดูดให้กับหมู่บ้านส่งเสริมการท่องเที่ยวและเศรษฐกิจ ขอบคุณค่ะ
@ SIRADOL CHAMNANKADI นำมาใช้ในการสังเกตุ ผังเดิมของหมู่บ้าน ว่ามีลักษณ์เช่นไรตามทฤษฎี เพื่อนำมาพัฒนาผังหมู่บ้านเพิ่มเติมลานกิจกรรมและโฮมสเตย์ ให้อยู่ในเส้นทางที่เหมาะสมต่อการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม ที่จะส่งผลดีต่อนักท่องเที่ยวและไม่ทำลายวิถีชีวิตของคนในชุมชน ขอบคุณค่ะ
@ SASATHORN BORISUTNARUDOM ลานกิจกรรมสามารถทำพิธีจริงได้ หลักการในการเลือกพื้นที่กิจกรรมนี้มาจากลักษณ์กายภาพที่เป็นพื้นที่ราบต่างจากพื้นที่บริเวณอื่นในหมู่บ้านที่มีลักษณะต่างระดับตามความลาดชันของภูมิประเทศและมีขนาดเพียงพอสามารถทำกิจกรรมได้รวมถึงมีวิวที่สวยงามเหมาะแก่การสร้างลานกิจกรรมหมู่บ้านที่ส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม - จากรูปแบบเรือนหอทั้ง4มีการเลือกวัสดุธรรมชาติ เช่น ไม้ ไม้ไผ่ หญ้าคา ตามแบบดั่งเดิมของชาวอาข่า ขอบคุณค่ะ