RSUSSH 2020

NA20-064 แนวทางออกแบบคอนโดมิเนียมสำหรับคนรุ่นใหม่

นำเสนอโดย: โสรยา หาทวี
มหาวิทยาลัยรังสิต, ไทย

Abstract

                งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาพฤติกรรมและความต้องการของคนรุ่นใหม่ด้านที่อยู่อาศัยประเภทคอนโดมิเนียม 2) ศึกษาและเสนอแนะแนวทางการออกแบบสถาปัตยกรรมสำหรับคนรุ่นใหม่ โดยรวบรวมข้อมูลทฤษฎี แนวคิดเกี่ยวกับ ภาวะส่วนตัว ภาวะสาธารณะ และที่ว่าง รวมทั้งการใช้แบบสอบถามความคิดเห็นของกลุ่มตัวอย่าง เพื่อให้ได้ปัจจัยที่สำคัญที่จะใช้เป็นแนวทางในการออกแบบคอนโดมิเนียมสำหรับคนรุ่นใหม่

                ผลวิจัยพบว่าพฤติกรรมความต้องการของคนรุ่นใหม่ อ้างอิงข้อมูลจากแบบสอบถาม โดยผู้วิจัยได้สรุปเป็นคำนิยามตามที่ผู้วิจัยเข้าใจตามพฤติกรรมของกลุ่มคนรุ่นใหม่คือ 1. ชอบการทำกิจกรรมในพื้นที่ว่าง ลักษณะพื้นที่ที่ใกล้ชิดกับธรรมชาติ 2. ให้ความสนใจด้านการใช้พื้นที่ว่างส่วนรวมมากกว่าพื้นที่ว่างส่วนตัว 3. ชอบพื้นที่เปิดโล่งและกึ่งเปิดโล่งมากกว่าพื้นที่ถูกปิด 4. ชอบพื้นที่ว่างที่สามารถเปลี่ยนแปลงตอบรับกิจกรรมที่หลากหลาย 5. ชอบที่ว่างส่วนตัวที่มีความเป็นส่วนตัวสูง มีลักษณะพิเศษ มีมุมมองที่ดีและมีความเป็นธรรมชาติ และด้วยพฤติกรรมความต้องการทั้ง 5 ข้อนี้ทำให้ผู้วิจัยเสนอแนะแนวทางการออกแบบออกเป็น 2 แนวทาง คือ 1 คอนโดมิเนียมในลักษณะแนวตั้ง และ 2 คอนโดมิเนียมในลักษณะแนวราบ โดยทั้งสองแนวทางมีความสัมพันธ์กัน 3 ส่วน ได้แก่ พื้นที่ส่วนตัว พื้นที่ส่วนรวม พื้นที่สีเขียว ซึ่งมีการออกแบบให้ลดพื้นที่ส่วนตัวเพื่อเพิ่มพื้นที่ส่วนรวมให้ตรงตามความต้องการของคนรุ่นใหม่ที่สนใจกิจกรรมในพื้นที่ส่วนรวมมากกว่า โดยเสนอให้เพิ่มพื้นที่สีเขียวในแนวนอนและแนวตั้ง ทั้งภายในและภายนอกของอาคารเพื่อเกิดความสัมพันธ์กันในการใช้งานและสอดคล้องกับพฤติกรรมของคนรุ่นใหม่

                การวิจัยนี้หวังว่าการเสนอแนะแนวทางการออกแบบคอนโดมิเนียมสำหรับคนรุ่นใหม่จะทำให้ตอบสนองต่อการใช้งานและความต้องการของกลุ่มคนรุ่นใหม่มากยิ่งขึ้น และจะเป็นการพัฒนาที่อยู่อาศัยสำหรับคนรุ่นใหม่ได้ในอนาคตหรืออาจจะช่วยผู้ประกอบการที่ทำธุรกิจเกี่ยวกับคอนโดมิเนียมสามารถศึกษาข้อมูลจากการวิจัย ไปใช้ในการออกแบบต่อไปได้อย่างมีประสิทธิภาพ

Keywords: คอนโดมิเนียม; คนรุ่นใหม่; การออกแบบ

Citation format:

โสรยา หาทวี, และสมสฤทธิ์ ตาณพันธุ์. (2020). แนวทางออกแบบคอนโดมิเนียมสำหรับคนรุ่นใหม่. เอกสารสืบเนื่องจากการประชุมระดับชาติมหาวิทยาลัยรังสิต ประจำปี 2563. วันที่ 1 พฤษภาคม 2563.

QUESTIONS & ANSWERS

parisa musigakama (Visitor)

ข้อค้นพบในการวิจัยมีความน่าสนใจนะคะ 

มีประเด็นคำถามและข้อสังเกตที่อยากให้ผู้วิจัยอภิปรายความคิดเห็นเพิ่มเติม 1 ข้อนะคะ

งานวิจัยเสนอแนะว่าให้ลดพื้นที่ส่วนตัวเพื่อเพิ่มพื้นที่ส่วนรวมสีเขียวทั้งทางแนวตั้งและแนวนอน หากทำตามข้อเสนอแนะนี้ ก็มีความเป็นไปได้ที่ผู้อยู่อาศัยจะมีต้นทุนค่าใช้จ่ายส่วนกลางมากขึ้น ซึ่งอาจจะไปขัดกับหลักการตลาดทั่วไป ในกรณีนี้ผู้วิจัยพอจะมีข้อเสนอแนะอย่างไรไหมคะ

ขอบคุณค่ะ

eka charoensilpa (Visitor)

แนวทางการออกแบบคอนโดสำหรับคนรุ่นใหม่( Gen Y) นั้น จะเข้าถึงพฤติกรรม และความต้องการของคนรุ่นใหม่ได้อย่างไร ?

โสรยา หาทวี (Presenter)

@PARISA MUSIGAKAMA

ขอขอบคุณสำหรับคำถามค่ะ จากประเด็นคำถามคิดว่าปัจจัยที่จะนำมาคิดค่าส่วนกลางมีอยู่หลักๆ คือ จำนวนยูนิต,ขนาดที่ดินพื้นที่ใช้สอย,สิ่งอำนวยความสะดวกในโครงการ,วัสดุการออกแบบต่างๆ และคุณภาพของบริษัทที่เข้ามาบริหารจัดการภายในโครงการ ผู้วิจัยจึงคิดว่าแน่นอนที่ค่าส่วนกลางจะมากขึ้น เนื่องจากโครงการอยู่ในทำเลที่เป็นที่นิยม สิ่งอำนวยความสะดวกแบบครบครัน มีที่จอดรถที่เพียงพอต่อความต้องการของผู้อยู่อาศัย และที่สำคัญเป็นโครงการที่ถูกออกแบบมาเพื่อกลุ่มคนรุ่นใหม่โดยเฉพาะ ดังนั้นผู้วิจัยคิดว่าค่าใช้จ่ายส่วนกลางที่ผู้อยู่อาศัยต้องจ่ายมากขึ้นนั้นจะคุ้มค่ากับ คุณภาพชีวิตและสภาพความเป็นอยู่ที่ดีซึ่งตอบโจทย์กับความต้องการของคนรุ่นใหม่แน่นอนค่ะ ขอบคุณค่ะ

โสรยา หาทวี (Presenter)

@EKA CHAROENSILPA

ขอขอบคุณสำหรับคำถามค่ะ เนื่องจากผู้วิจัยออกแบบโครงการนี้จากการวิเคราะห์พฤติกรรมและความต้องการของคนรุ่นใหม่โดยเฉพาะ จึงเป็นการทำให้ผู้อยู่อาศัยที่เป็นกลุ่มคนรุ่นใหม่มีพฤติกรรมการใช้งานตามแบบความต้องการของตัวเองอยู่แล้ว ยกตัวอย่างเช่น คนรุ่นใหม่ชอบการทำกิจกรรมต่างๆ ในพื้นที่ว่าง ลักษณะที่ใกล้ชิดกับธรรมชาติ โครงการของเราจึงมีพื้นที่ส่วนรวมที่เป็นสวนสีเขียวทั้งแนวตั้งและแนวนอน ทำให้คนรุ่นใหม่สามารถใช้งานพื้นที่ส่วนนั้นๆ ได้ตรงตามความต้องการของตนเอง เป็นต้น กล่าวคือโครงการนี้จะทำให้ผู้อยู่อาศัยรู้สึกเป็นตัวของตัวเอง ได้ใช้พื้นที่ในแบบที่ตัวเองต้องการ ซึ่งโครงการนี้เน้นการตอบโจทย์ความต้องการในการอยู่อาศัยของคนรุ่นใหม่มากที่สุด ขอบคุณค่ะ