RSUSSH 2020

NA20-040 การยอมรับของผู้บริโภคที่มีต่อผลิตภัณฑ์เลียนแบบน้ำนมจากกระจับ (Trapa bicornis)

นำเสนอโดย: นราธร สัตย์ซื่อ
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร, ไทย

Abstract

                งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการยอมรับของผู้บริโภคที่มีต่อผลิตภัณฑ์เลียนแบบน้ำนมจากกระจับ โดยใช้วิธีการ Accidental Sampling การวางแผนแบบการสุ่มแบบบังเอิญ ใช้กลุ่มผู้บริโภคทั่วไป จำนวน 120 คน โดยแบ่งเป็น ผู้สูงอายุ 30 คน ผู้ใหญ่ 30 คน วัยรุ่น 30 คน และ เด็ก 30 คน ณ สวนสาธารณะท่าน้ำนนท์ และวิทยาลัยเทคโนโลยีพงษ์สวัสดิ์ ผลการศึกษาพบว่าผู้ทดสอบส่วนใหญ่ เป็นเพศหญิง (ร้อยละ 57) อาชีพส่วนใหญ่เป็นพนักงานบริษัท ลูกจ้าง (ร้อยละ 32) จากการทดสอบความชอบด้วยวิธี การให้คะแนนระดับความสำคัญที่ให้กับผลิตภัณฑ์เลียนแบบน้ำนมจากกระจับเป็น 5 ระดับ และแปรผลระดับความสำคัญโดยใช้มาตราส่วนประเมินค่า (Likert’s Scale) ผลการวิจัย พบว่าผลิตภัณฑ์เลียนแบบน้ำนมจากกระจับผู้บริโภคร้อยละ 100 ให้การยอมรับผลิตภัณฑ์ ในด้านระดับความสำคัญที่มีผลต่อการเลือกดื่มผลิตภัณฑ์พบว่าคะแนนความชอบด้านคุณค่าทางโภชนาการได้รับความชื่นชอบจากกลุ่มผู้บริโภคในระดับความสำคัญที่มากที่สุด (4.39±0.74)โดยให้เหตุผลว่ามีความสนใจในด้านสุขภาพ โดยเลือกที่จะรับประทานผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพในทุกวัน เพื่อที่จะทำให้สุขภาพร่างกายแข็งแรง ในขณะที่ผลคะแนนความชอบด้านรสชาติพบว่าผลิตภัณฑ์เลียนแบบน้ำนมจากกระจับได้รับความชื่นชอบจากกลุ่มผู้บริโภคในระดับความสำคัญที่มากที่สุด โดยมีคะแนนความชอบ เท่ากับ (4.28±0.78 คะแนน) ส่วนระดับความสำคัญที่มีผลต่อการเลือกดื่มผลิตภัณฑ์ได้รับการประเมินจากกลุ่มผู้บริโภคระดับมากในทุกปัจจัย ในด้านสี กลิ่น องค์ประกอบในส่วนผสม บรรจุภัณฑ์ฉลาก ราคา และความสะดวกในการหาซื้อพบว่าผลิตภัณฑ์เลียนแบบน้ำนมจากกระจับ ข้อเสนอแนะเพิ่มเติมให้นำกระจับไปใช้เป็นวัตถุดิบในอาหารชนิดอื่น เช่น เป็นวัตถุดิบเครื่องดื่มและไอศกรีมเพื่อเพิ่มความสดชื่นในการรับประทาน และเพิ่มกลุ่มของผู้บริโภคให้มีความสนใจมากขึ้น

Keywords: กระจับ; ผลิตภัณฑ์เลียนแบบน้ำนม; การยอมรับผู้บริโภค

Citation format:

นราธร สัตย์ซื่อ, น้อมจิตต์ สุธีบุตร, และอมรรัตน์ เจริญชัย. (2020). การยอมรับของผู้บริโภคที่มีต่อผลิตภัณฑ์เลียนแบบน้ำนมจากกระจับ (Trapa bicornis). เอกสารสืบเนื่องจากการประชุมระดับชาติมหาวิทยาลัยรังสิต ประจำปี 2563. วันที่ 1 พฤษภาคม 2563.

QUESTIONS & ANSWERS

Surasit Udomthanavong (Participant)

คำถามค่ะ

1.ถ้าเปรียบเทียบผู้บริโภคทั้ง 4 กลุ่ม กลุ่มไหนมีการยอมรับผลิตภัณฑ์นมทดแทนมากที่สุดครับ

2.มีประเด็นใดบ้างที่ผู้บริโภคไม่ยอมรับผลิตภัณฑ์ทดแทนนมชนิดนี้

ขอบคูณค่ะ

เกตุนภัส จิรารุ่งชัยกุล

นราธร สัตย์ซื่อ (Presenter)

ตอบคำถามครับ 

1.ถ้าเปรียบเทียบผู้บริโภคทั้ง 4 กลุ่ม กลุ่มไหนมีการยอมรับผลิตภัณฑ์นมทดแทนมากที่สุดครับ

ตอบ กลุ่มผู้บริโภค วัยผู้ใหญ่ ให้การยอมรับมากที่สุด

2.มีประเด็นใดบ้างที่ผู้บริโภคไม่ยอมรับผลิตภัณฑ์ทดแทนนมชนิดนี้

ตอบ 1. ด้านสี รูปลักษณ์ ของผลิตภัณฑ์

2. ภาชนะ/ฉลาก ที่ใช้ผลิตภัณฑ์

thiwaree sangjun (Visitor)

คำถามค่ะ

1. ผลิตภัณฑ์เลียนแบบน้ำนมใช้เลียนแบบนมชนิดใดและผลิตภัณฑ์เลียนแบบนมจากกระจับมีคุณสมบัติใดเทียบเท่าน้ำนมต้นแบบคะ

2.ในตลาดปัจจุบันมีผลิตภัณฑ์จากกระจับออก มาวางจัดจำหน่ายตัวอื่นไหมคะ 

นราธร สัตย์ซื่อ (Presenter)

ขออนุญาติตอบคำถามครับ

1. ผลิตภัณฑ์เลียนแบบน้ำนมใช้เลียนแบบนมชนิดใดและผลิตภัณฑ์เลียนแบบนมจากกระจับมีคุณสมบัติใดเทียบเท่าน้ำนมต้นแบบคะ

ตอบ ผลิตภัณฑ์เลียนแบบน้ำนมใช้เลียนแบบนมจากสัตว์ เช่น นมวัว ที่เลียนแบบนมวัวเพราะมีผู้บริโภคบางกลุ่ม โดยเฉพาะกลุ่มเด็กเล็กที่มีปัญหาแพ้โปรตีนจากนมวัว หรือในกรณีผู้บริโภคบางกลุ่ม ไม่สามารถย่อยแลคโตสในนมวัวได้ และลดข้อจำกัดดังกล่าวในกลุ่มผู้บริโภคที่ทานมังสวิรัติ หรือมีข้อจำกัดในการดื่มนมวัว เมื่อทำการเปรียบเทียบคุณสมบัติของน้ำนมจากกระจับในปริมาณ 100 กรัม พบว่า ผลิตภัณฑ์เลียนแบบน้ำนมจากระจับมีปริมาณโปรตีนร้อยละ 3.37 และผลิตภัณฑ์นมสดพร่องมันเนยมีโปรตีนร้อยละ 3.50 แต่ในปริมาณไขมันผลิตภัณฑ์เลียนแบบน้ำนมจากกระจับมีปริมาณไขมันร้อยละ 0.22 และผลิตภัณฑ์นมสดพร่องมันเนยร้อยละ 2.25 

2. ในตลาดปัจจุบันมีผลิตภัณฑ์จากกระจับออก มาวางจัดจำหน่ายตัวอื่นไหมคะ

ตอบ  ปัจจุบันกระจับยังไม่เป็นที่นิยมแพร่หลายในการมาทำผลิตภัณฑ์ แต่จากการสืบค้นมีผลิตภัณฑ์กระจับกระป๋องสำเร็จรูป และจากงานวิจัยเบื้องต้น พบว่าว่าผลิตภัณฑ์กระจับทอดกรอบ และข้าวเกรียบจากกระจับ และการใช้ประโยชน์จากเปลือกกระจับ นอกจากนี้วิถีชีวิตยังมีการใช้กระจับทดแทนการใช้แห้ว เช่น การทำทับทิมกรอบ การใช้กระจับทดแทนแป้งถั่วเขียวหรือแป้งมัน หรือการนำกระจับไปประกอบอาหาร