RSUSSH 2020

NA20-046 นโยบายเกี่ยวกับคนไร้รัฐสมัยรัฐบาลพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา พ.ศ. 2557 – 2562

นำเสนอโดย: บงกชลักษณ์ มากดำ
มหาวิทยาลัยรังสิต, ไทย

Abstract

     การวิจัยเรื่องนโยบายคนไร้รัฐสมัยรัฐบาลพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา” (พ.ศ. 2557 – 2562) มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาถึงนโยบายเกี่ยวกับคนไร้รัฐ และปัจจัยสำคัญที่มีส่วนกำหนดการดำเนินนโยบายคนไร้รัฐของรัฐบาลพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา ระหว่างพ.ศ. 2557 ถึง พ.ศ. 2562 การวิจัยนี้เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพ โดยใช้ทฤษฎีระบบ (systems theory) และทฤษฎีการเมืองเกี่ยวพัน (linkage politics) ในการวิเคราะห์ และใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงเอกสาร

     ผลการศึกษาพบว่า รัฐบาลพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา เข้าสู่อำนาจด้วยการรัฐประหาร ย่อมส่งผลทำให้รัฐบาลขาดดุลความชอบธรรม (Legitimacy Deficit) ดังนั้น รัฐบาลย่อมต้องแสดงออกในด้านนโยบายเพื่อส่งเสริมความ ชอบธรรมให้กับตนเอง จึงได้มุ่งเน้นในด้านการส่งเสริมการคุ้มครองสิทธิมนุษยชน เพราะสิทธิมนุษยชนเป็นหลักการที่เสริมสร้างความชอบธรรมได้มากยิ่งขึ้นทั้งภายในประเทศและระดับนานาชาติ การดำเนินนโยบายที่ให้ความสำคัญกับคนไร้รัฐเกิดจากปัจจัยภายในประเทศ (Internal Factors) ได้แก่ ปัจจัยด้านความขัดแย้งทางการเมือง ปัญหาด้านเศรษฐกิจและการขาดแคลนแรงงาน ปัญหาการค้ามนุษย์ภายในประเทศ และปัจจัยภายนอก (External Factors) ได้แก่ แรงกดดันจากองค์การระหว่างประเทศ การรายงานข่าวการละเมิดสิทธิมนุษยชนจากสื่อต่างชาติ และโครงการรณรงค์ระดับโลกเพื่อขจัดความไร้รัฐให้หมดไปภายในปี 2567 ของข้าหลวงใหญ่ผู้ลี้ภัยแห่งสหประชาชาติ (UNHCR) ซึ่งผลการดำเนินนโยบายคนไร้รัฐทำให้รัฐบาลพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชาได้รับการยอมรับเพิ่มขึ้นในระดับหนึ่ง และลดแรงกดดันจากภายในและภายนอกประเทศ

Keywords: คนไร้รัฐ; สัญชาติไทย; รัฐบาลพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา

Citation format:

บงกชลักษณ์ มากดำ, และวีระ สมบูรณ์. (2020). นโยบายเกี่ยวกับคนไร้รัฐสมัยรัฐบาลพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา พ.ศ. 2557 – 2562. เอกสารสืบเนื่องจากการประชุมระดับชาติมหาวิทยาลัยรังสิต ประจำปี 2563. วันที่ 1 พฤษภาคม 2563.

QUESTIONS & ANSWERS

Wuttisak Youjomnong (Chairperson)

LIVE PRESENTATION ON MAY 1, 2020

Sataporn (Visitor)

สวัสดีครับ ขอเรียนถาม ดังนี้ 

หลักการพิจารณาให้สัญชาติกับคนไร้รัฐเป็นอย่างไร และในรัฐบาลชุดนี้ให้สัญชาติกับคนไร้รัฐประเภทไหนหรือกลุ่มไหน (รวมถึงชนกลุ่มน้อยในประเทศไทยด้วยหรือไม่)

ขอบคุณครับ

ผศ.ดร.สถาพร  คำหอม