RSUSSH 2020

NA20-038 กระบวนการเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจในเรื่องปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง: กรณีศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี

นำเสนอโดย: สุบิน ยุระรัช
มหาวิทยาลัยศรีปทุม, ไทย

Abstract

     การวิจัยเชิงคุณภาพเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์ 2 ข้อ คือ (1) เพื่อศึกษากิจกรรมเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับศาสตร์ของพระราชาในเรื่องปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง และ (2) เพื่อนำเสนอกระบวนการเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจในเรื่องปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงให้กับนักศึกษาปริญญาตรี ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ คือ ผู้บริหารมหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี อาจารย์ผู้สอนรายวิชา ศาสตร์พระราชากับการพัฒนาที่ยั่งยืน เกษตรอำเภอ และนักศึกษาระดับปริญญาตรี รวม 10 คน เครื่องมือวิจัยมี 2 ฉบับ ได้แก่ แบบสัมภาษณ์เชิงลึก และแบบบันทึกภาคสนาม การเก็บรวบรวมข้อมูล ผู้วิจัยดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยตนเองโดยใช้การสัมภาษณ์เชิงลึก และการเก็บข้อมูลภาคสนาม ผลการวิจัยพบว่า (1) กิจกรรมเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับศาสตร์ของพระราชาในเรื่องปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง มี 3 องค์ประกอบได้แก่ การบรรยายในห้องเรียน การเรียนรู้นอกห้องเรียน และการถอดบทเรียนจากการเรียนรู้ในเชิงทฤษฎีและเชิงปฏิบัติ และ (2) กระบวนการเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจในเรื่องปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงให้กับนักศึกษาปริญญาตรีเป็นผลที่ได้มาจากการสัมภาษณ์เชิงลึกและการลงพื้นที่ในสนามวิจัย โดยกระบวนการนี้แบ่งออกเป็น 5 ขั้นตอน ได้แก่ การบ่มเพาะ การสร้างการรับรู้ การฝึกปฏิบัติ การถอดบทเรียน และการเกิดองค์ความรู้และองค์ความคิด

Keywords: ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง; ความรู้ความเข้าใจ; กระบวนการเสริมสร้าง

Citation format:

สุบิน ยุระรัช. (2020). กระบวนการเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจในเรื่องปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง: กรณีศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี. เอกสารสืบเนื่องจากการประชุมระดับชาติมหาวิทยาลัยรังสิต ประจำปี 2563. วันที่ 1 พฤษภาคม 2563.

QUESTIONS & ANSWERS

Wuttisak Youjomnong (Chairperson)

LIVE PRESENTATION ON MAY 1, 2020

Sataporn (Visitor)

สวัสดีครับ ขอเรียนถาม ดังนี้ 

1.ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงคือความหลุดพ้นและทางออกของมนุษยชาติ เราสามารถนำปรัชญานี้เข้ามาปรับใช้ในการดำเนินชีวิตได้อย่างไรบ้าง 

2.แนวทางในการสร้างความตระหนักให้ทุกคนเห็นคุณค่าของปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสามารถทำอย่างไรได้บ้าง

3.การประเมินผลลัพธ์หลังจากการใช้กระบวนการเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจในงานวิจัยสามารถทำอย่างไรได้บ้าง

ขอบคุณครับ

ผศ.ดร.สถาพร  คำหอม