RSUSSH 2020

NA20-031 การเปรียบเทียบกำลังแรงยึดเฉือนของเซอร์โคเนียชนิดใส เมื่อยึดด้วยเรซินซีเมนต์สองชนิด ร่วมกับไพรเมอร์ที่ประกอบด้วยหมู่ฟอสเฟต

นำเสนอโดย: ศิรวิชญ์ จิตสุธีศิริ
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, ไทย

Abstract

                ปัจจุบันเซอร์โคเนียเป็นวัสดุที่นิยมใช้กันแพร่หลายในทางทันตกรรมบูรณะ เรซินซีเมนต์หลายชนิดได้ถูกอ้างว่าให้แรงยึดที่ดีกับวัสดุชนิดเซอร์โคเนีย งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อต้องการศึกษาค่ากำลังแรงยึดเฉือนของเรซินซีเมนต์ที่ประกอบด้วยหมู่ฟอสเฟตต่างชนิดกันบนเซอร์โคเนียชนิดใสต่อคอมโพสิตเรซิน และผลของไพรเมอร์ที่มีหมู่ฟอสเฟตเป็นหมู่ฟังก์ชันต่อกำลังแรงยึดเฉือนของคอมโพสิตเรซินบนเซอร์โคเนียชนิดใสโดยแผ่นเซอร์โคเนียชนิดใส (Ceramil zolid fx White) เส้นผ่านศูนย์กลาง 8.5 มม. หนา 3.2 มม. จำนวน 24 แผ่น ได้ถูกยึดติดกับคอมโพสิตเรซินชนิดนาโนคอมโพสิต (FiltekTM Z350 XT) เส้นผ่านศูนย์กลาง 3 มม. หนา 2 มม. ด้วยเรซินซีเมนต์ 2 ชนิด ได้แก่ PANAVIA ™ V5 และ Rely X ™ U200 โดยกำหนดพื้นที่ยึดติดตาม ISO 29022:2013 เรซินซีเมนต์แต่ละชนิดถูกแบ่งเป็น 2 กลุ่มย่อย ซึ่งประกอบด้วยชิ้นงาน 6 ชิ้นได้แก่ กลุ่มที่ใช้ร่วมกับ Clearfil ceramic primer plus,  และกลุ่มที่ไม่ใช้ Clearfil ceramic primer plus หลังจากยึด กลุ่มตัวอย่างทั้งหมดได้ผ่านกระบวนการเทอร์โมไซคลิง และ ถูกทดสอบกำลังแรงยึดเฉือนด้วยเครื่องทดสอบแรงดึงแรงอัด (EZ-S, SHIMADZU) จนชิ้นงานหลุดจากกัน ค่ากำลังแรงยึดเฉือนได้ถูกนำมาคำนวนด้วยสถิติการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว และเปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างกลุ่มด้วยการทดสอบชนิดทูกีย์ ผลการทดลองพบว่า กลุ่ม Rely X™ U200 ที่ใช้ร่วมกับ Clearfil ceramic primer plus ให้แรงยึดสูงที่สุด (1.27 ± 0.17 เมกะพาสคาล) การใช้เรซินซีเมนต์ที่ประกอบด้วยหมู่ฟอสเฟตต่างชนิดกันให้ค่าแรงยึดที่ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p>0.05) ยกเว้นกลุ่ม PANAVIA ™ V5ที่ไม่ใช้ Clearfil ceramic primer plus ซึ่งมีกำลังแรงยึดที่น้อยกว่าเรซินซีเมนต์กลุ่มอื่นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) โดยสรุปค่ากำลังแรงยึดเฉือนระหว่างเรซินซีเมนต์ที่มีเอ็มดีพี (MDP) และเรซินซีเมนต์ที่มีฟอสฟอริกเมทะไครเลทเอสเตอร์ (phosphoric methacrylate ester) เป็นส่วนประกอบนั้นมีค่าไม่แตกต่างกัน PANAVIA ™ V5 มีค่ากำลังแรงยึดที่ต่ำที่สุด และต้องใช้ร่วมกับ Clearfil ceramic primer plus เพื่อเพิ่มค่ากำลังแรงยึด ดังนั้นการยึดเซอร์โคเนียชนิดใสนั้นควรใช้เรซินซีเมนต์ชนิดที่มีหมู่ฟอสเฟตเป็นส่วนประกอบ และ ควรทาสารไพรเมอร์ที่มีหมู่ฟอสเฟตเพิ่มหากใช้เรซินซีเมนต์ชนิดที่ไม่มีหมู่ฟอสเฟตเป็นส่วนประกอบ

Keywords: เซอร์โคเนียชนิดใส; กำลังแรงยึดเฉือน; เรซินซีเมนต์

Citation format:

ศิรวิชญ์ จิตสุธีศิริ, ประเวศ เสรีเชษฐพงษ์, และชรินธร อิสสระยางกูล. (2020). การเปรียบเทียบกำลังแรงยึดเฉือนของเซอร์โคเนียชนิดใส เมื่อยึดด้วยเรซินซีเมนต์สองชนิด ร่วมกับไพรเมอร์ที่ประกอบด้วยหมู่ฟอสเฟต. เอกสารสืบเนื่องจากการประชุมระดับชาติมหาวิทยาลัยรังสิต ประจำปี 2563. วันที่ 1 พฤษภาคม 2563.

QUESTIONS & ANSWERS

Asst. Prof. Umaporn Vimonkittipong, DDS. (Chairperson)

ขอถามผู้วิจัยว่า 

1) การใช้ 99% isopropanal ใช้เพืออะไร

2) ในการทดลองเราต้องการผลของการยึดติดเป็น 2 กลุ่มใหญ่ๆ คือ  10 MDP กับ  phosphoric methacylate ester ใช่ไหมคะ 

ซึ่งกลุ่่ม แรก (10 MDP คือ panavia v-5 และ ccp   และอีกกลุ่มนึง (phoshoric ester) คือ rely x u200  ใช่ไหมคะ

ถ้าเป็นไปตามนี้ การออกแบบการทดลอง ทำไมถึงต้องออกแบบให้มีการใช้ Panavia V5 ร่่วมกันกับ ccp คะ เพราะมันคือ กลุ่มเดียวกัน 

3) การสรุุปตอนท้ายว่า ข้อ 1 การยึดเซอร์โคเนียควรใช้เรซินซีเมนต์ที่มีฟอสเฟตเป็นหมู่ฟังก์ชัน

ผู้วิจัยไม่ได้ทำการศึกษาแยกระหว่าง กลุ่มที่มีฟอสเฟตเป็นหมู่ฟังก์ชัน และกลุ่มที่ไม่มีไม่ใช่เหรอคะ ในเมื่อที่ศึกษาทั้งหมดคือกลุ่่มที่มีฟอสเฟตหมดแต่สูตรโครงสร้างต่างกัน

ศิรวิชญ์ จิตสุธีศิริ (Presenter)

ขออนุญาตตอบคำถาม อาจารย์ ผศ. ทญ. อุมาพร วิมลกิตติพงศ์ (CHAIRPERSON) ครับ

1)ใช้  99% isopropanal เพื่อทำความสะอาดพื้นผิวของ zirconia ภายหลังการพ่นทรายครับ เพื่อจะได้ลด contamination ที่อาจตกค้างที่ผิวก่อนกระบวนการยึดติดให้มากที่สุดครับ

2) กลุ่มทดลอง มี 4 กลุ่มครับอาจารย์ ถ้าแยกตามการแบ่งแบบ phosphate monomer แล้ว กลุ่มแรก PAN เป็นตัวแทนกลุ่มไม่มี phosphate monomer,  กลุ่ม RXU แสดง phosphoric methacylate ester, กลุ่ม PAN-C เป็นตัวแทน MDP, กลุ่ม RXU-C เป็นตัวแทน MDP+phosphoric methacylate ester ครับ

เนื่องจากว่า ตัว Panavia V5 เองไม่มี phosphate monomer เป็นส่วนผสมในตัวของ resin cement เองครับอาจารย์ ตาม composition ที่อยู่ในตารางที่1 ในpaper ครับ เนื่องจากบริษัทแยกส่วน MDP ออกมาให้อยู่ใน primer แทนครับ ดังนั้นตัวมันเองเมื่อไม่ได้ใช้ร่วมกับ CCP จะเป็น resin cement ที่ไม่มี phosphate monomer เป็นส่วนประกอบครับ ในการทดลองนี้จึงเลือกใช้กลุ่มนี้เป็น control ได้ด้วย ดังนั้นการทดลองจึงออกแบบมาให้มีการ ใช้ CCP ร่วมกับ Panavia v5 ซึ่งจะเป็นตัวแทนของกลุ่มที่มี phosphate monomer เป็น MDP เท่านั้น ครับอาจารย์

3) จากการอธิบายในข้อ 2 ครับ กลุ่มที่เป็นตัวแทนของ resin cement ที่ไม่มี phosphate monomer คือ กลุ่ม Panavia v5 ที่ไม่ได้ใช้ร่วมกับ CCP ครับ และค่ากำลังแรงยึดเฉือนที่วัดได้ในกลุ่มนี้ ต่ำกว่ากลุ่มอื่นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติครับ จึงสรุปได้ว่า การยึดเซอร์โคเนียชนิดใสควรใช้เรซินซีเมนต์ที่มีฟอสเฟตเป็นหมู่ฟังก์ชัน ครับ

ขอบคุณครับ

Asst. Prof. Jirat Srihatajati, DDS (Chairperson)

เขียนบทความได้ดีนะคะ แต่มีคำถามดังนี้ค่ะ

จากตารางที่ 2 พบว่า รูปแบบการแตกหักที่ไม่พึงประสงค์มักจะเกิดในกลุ่ม  resin cement Panavia V5 เท่านั้น ซึ่งแตกต่างจาก REly X

สามารถอธิบายได้ไหมคะว่า resin cement Panavia V5 มีการบ่มตัวที่ไม่สมบูรณ์ หรือมีการบ่มตัวไม่เต็มที่ สู้ Rely X ไม่ได้

หรือเกิดจากปัจจัยอื่นๆจากขั้นตอนการทดลองในการใช้ Panavia V5 หรือไม่คะ

Prof., Clinic Issarawan Boonsiri (Chairperson)

Prof., Clinic Issarawan Boonsiri
STATUS: Chairperson

ชิ้นงานทดสอบ แผ่นเซอร์โคเนียชนิดใส (Ceramil zolid fx White) เส้นผ่านศูนย์กลาง  8.5 มม. หนา 3.2 มม. จานวน 24 แผ่น แบ่งเป็น 4กลุ่ม กลุ่มละ 6 ชิ้น

ทำการทดสอบ การยึดด้วยเรซินซีเมนต์และกระบวนการเทอร์โมไซคลิง n=6 data ที่ได้มีความน่าเชื่อถือได้แค่ไหนคะ

ศิรวิชญ์ จิตสุธีศิริ (Presenter)

ขออนุญาตตอบคำถาม อาจารย์ ผศ ทญ จิรัฏฐ์ ศรีหัตถจาติ (CHAIRPERSON) ครับ

- Mode of failure ที่ PANAVIA V5 (PAN) ซึ่งเป็นแบบ adhesive  และ Mixed failure ซึ่งแตกต่างจาก Rely X U200 (RXU) ซึ่ง เป็น Mixed failure นั้น คาดว่าน่าจะเกิดจากปัจจัยที่กลุ่ม PAN นั้นไม่มี phosphate monomer เป็นส่วนประกอบ ทำให้ไม่สามารถเกิดการยึดติดที่ดีได้ ดังนั้นจึงมี failure แบบ adhesive ในส่วนของ mixed failure นั้นส่วนของเรซินซีเมนต์อาจจะติดได้จาก micromechanical retention จากการ พ่นทรายด้วยครับ แต่จะเห็นว่าสัดส่วนเรซินซีเมนต์ที่ติดอยู่ มีจำนวนน้อยกว่ากลุ่ม ที่มี phosphate monomer เป็นส่วนประกอบ ( RXU, PAN-C, RXU-C) ในขณะที่เมื่อใช้ PANAVIA V5 + CCP (PAN-C) แล้วสามารถสังเกตความล้มเหลวเป็นแบบ Cohesive และ mixed failure ซึ่งประเด็นเรื่อง การบ่มตัวที่ไม่สมบูรณ์นั้นผู้วิจัยได้คาดว่าอาจเป็น อีกหนึ่งปัจจัยที่อาจจะเป็นไปได้ในการอธิบายการเกิด Mixed และ Cohesive failure ที่เกิดขึ้นซึ่งมักเกิดจากความไม่แข็งแรงของเรซินซีเมนต์ ซึ่งอาจมาจาก hydrolysis effect จากสภาวะทดลองที่มีการสัมผัสน้ำเป็นเวลานาน และ อาจมาจากปัจจัยเรื่องการบ่มตัวครับ

- เรื่องการเปรียบเทียบประเด็นเรื่องการบ่มตัวของ PANAVIA V5 และ RelyX U200 นั้น จากการทบทวนวรรณกรรมของผู้วิจัย ยังไม่พบการศึกษาไหนที่เปรียบเทียบ degree of conversion ของ PANAVIA V5 รวมถึงการนำมาเทียบกับ RelyX U200 จึงไม่สามารถอธิบายได้ว่า degree of conversion ของ resin cement ชนิดไหนดีกว่ากัน ซึ่งประเด็นนี้อาจจะต้องทำการศึกษาเพิ่มเติมต่อไปอย่างไรก็ตาม รายงานของ Jang et. Al. ในปี 2017 ได้ศึกษา Rely X U200  ณ เวลาต่างๆซึ่งก็จะพบว่า การฉายแสงมีผลให้เกิด degree of conversion ของเรซินซีเมนต์ชนิดนี้มากกว่า การบ่มตัวด้วยตัวเอง การฉายแสงในปริมาณที่น้อยเกินไปอาจะส่งผลต่อการบ่มตัวไม่สมบูรณ์ นอกจากนี้ จากการศึกษาของ Pareira et aL. ในปี คศ 2010 เรื่อง degree of conversion ของ dual cured resin cement ก็ได้มีการอภิปรายเรื่อง polymerization kinetic และปริมาณ filler ที่อาจสัมพันธ์ต่อ การลดลงของ mobility of polymer radical ได้ด้วยครับ

1.Jang Y, Ferracane JL, Pfeifer CS, Park JW, Shin Y, Roh BD. Effect of Insufficient Light Exposure on Polymerization Kinetics of Conventional and Self-adhesive Dual-cure Resin Cements. Oper Dent. 2017;42(1):1-9.

2. Pereira SG, Fulgencio R, Nunes TG, Toledano M, Osorio R, Carvalho RM. Effect of curing protocol on the polymerization of dual-cured resin cements. Dent Mater. 2010;26(7):710-8.

ศิรวิชญ์ จิตสุธีศิริ (Presenter)

ขออนุญาตตอบคำถาม อาจารย์ PROF., CLINIC ISSARAWAN BOONSIRI (CHAIRPERSON) ครับ

ก่อนเริ่มทดลองผู้วิจัยได้ทำ pilot study ที่ระดับความเชื่อมั่นร้อยละ 95 ก่อนครับ จากสูตร

n=(Z1-α2+Z1-β2 )2 12+σ22/r) / 2

∆ = ความแตกต่างระหว่างข้อมูลสองกลุ่ม (Different data between two groups)

σ= ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard deviation)

r= n2 / n1

 

โดยได้นำผล pilot กลุ่ม PANAVIA ™ V5 ร่วมกับ Clearfil ceramic primer plus (PAN-C) และกลุ่ม PANAVIA ™ V5 (PAN) ซึ่งมีค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานมีค่าเท่ากับ 1.43±0.32 เมกะพาสคาล (MPa) และ 0.82±0.10 เมกะพาสคาล (MPa)  ตามลำดับ เมื่อแทนค่าในสูตรคำนวณ

n={(1.96+1.282)2x 0.11} /0.3721

พบว่าจะได้ n=3.107  หรือก็คือ n=3

ผู้วิจัยจึงเพิ่มจำนวนตัวอย่างเป็น n=6 แล้วเมื่อได้ผลการทดลองแล้ว และนำผลไปหา ค่า power อีกครั้งพบว่า = 0.99

ซึ่งเป็นตัวช่วยยืนยันอีกครั้งว่า n=6 ให้ความน่าเชื่อถือที่เพียงพอครับ

ขอบคุณครับ