RSUSSH 2020

NA20-023 การออกแบบภาพยนตร์แอนิเมชั่นเรื่องสั้น 3 มิติ เพื่อรณรงค์ให้หยุดการขับขี่ย้อนศร

นำเสนอโดย: ปณิธาน ค้ำไพโรจน์
บริษัท ยูเอ็นไอ สตูดิโอ จำกัด, ไทย

Abstract

     การขับขี่ย้อนศร เป็นพฤติกรรมที่มักพบเห็นกันบ่อย ๆ บนท้องถนนเช่นเดียวกับการ ขับบนทางเท้า และหยุดรถบนทางม้าลาย ซึ่งเป็นสิ่งที่ผิดกฎหมาย แต่คนในสังคมกลับมองเป็นเรื่องที่ปกติจึงทำให้เห็นถึงจิตสำนึกและการเคารพกฎหมายของคนในสังคมไทย ถึงจะเป็นเช่นนั้น ในทางกลับกันสภาพแวดล้อมหรือตัวท้องถนนเองก็เป็นต้นเหตุอีกอย่างที่มีผลต่อการตัดสินใจของผู้ขับขี่ด้วย การขับขี่ย้อนศรจึงเป็นเรื่องที่ยังคงแก้ไขได้ยากในปัจจุบัน ซึ่งที่ผ่านมาได้มีการช่วยกันรณรงค์ในหลายรูปแบบแต่พฤติกรรมดังกล่าวก็ยังคงอยู่กับสังคมไทย ประกอบกับปัญหาการขับขี่ย้อนศรนั้นเป็นเรื่องที่อยู่ในระดับของจิตสำนึกจึงนำไปสู่การออกแบบภาพยนตร์แอนิเมชันเรื่องสั้น 3 มิติ เพื่อรณรงค์ให้หยุดการขับขี่ย้อนศร โดยศึกษาผลกระทบและต้นเหตุของการขับขี่ย้อนศร ซึ่งจะนำเสนอในรูปแบบของแอนิเมชัน 3 มิติที่มีความยาว 5 นาทีและได้ทำการประเมินสื่อแอนิเมชันจากกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 20 คน โดยการใช้แบบสอบถามออนไลน์เพื่อสำรวจความพึงพอใจและความเหมาะสมของแอนิเมชันเรื่องสั้น 3 มิติ

Keywords: การขับขี่ย้อนศร; แอนิเมชั่น 3 มิติ; รณงค์

Citation format:

ปณิธาน ค้ำไพโรจน์, อวิรุทธ์ เจริญทรัพย์, และชัยพร พานิชรุทติวงศ์. (2020). การออกแบบภาพยนตร์แอนิเมชั่นเรื่องสั้น 3 มิติ เพื่อรณรงค์ให้หยุดการขับขี่ย้อนศร. เอกสารสืบเนื่องจากการประชุมระดับชาติมหาวิทยาลัยรังสิต ประจำปี 2563. วันที่ 1 พฤษภาคม 2563.

QUESTIONS & ANSWERS

Thanunchai Limpakom (Visitor)

ตัวอย่าง อะนิเมชั่นที่ให้ชมสั้นมากจนจับประเด็นที่จะสื่อยาก ไม่แน่ใจว่าในการทำวิจัยจะยาวกว่านี้หรือไม่

คำถามคือ นอกจากการสอบถามจากตัวอย่าง 20 คนแล้ว {น่าจะมีการระบุว่ากลุ่มตัวอย่างเป็นกลุ่มลักษณะใด) ได้มีการนำเสนอให้หน่วยงานราชการที่มีส่วนดูแลเรื่องนี้พิจารณาและให้ feedback ด้วยหรือไม่

ปณิธาน ค้ำไพโรจน์ (Presenter)

เรียน คุณธนัญชัย ลิมปาคม
อะนิเมชั่นตัวเต็มจะมีความยาว 5-6 นาที จะมีเรื่องของสภาพสังคมเข้ามาแทรกเล็กน้อยเเละดำเนินเรื่องการขับขี่ย้อนศรเป็นประเด็นหลัก

เเละกลุ่มตัวอย่าง 20 คน จะมีอายุระหว่าง 15-40 ปี ซึ่งเป็นผู้ที่ใช้รถใช้ถนนเป็นประจำ เนื่องจากมีประสบการณ์เคยพบเห็นการขับขี่ย้อนศรบนท้องถนนอยู่พอสมควรและบางคนก็เคยขับย้อนศรมาเเล้วด้วยเช่นกัน

นอกจากนั้น ตอนนี้ยังไม่มีการนำเสนอกับหน่วยงานราชการครับ เนื่องจาก ผู้วิจัยมองว่าอะนิเมชั่นยังมีข้อบกพร่องเเเละไม่สมบูรณ์พอที่จะทำให้ผู้ชมส่วนมากเข้าใจประเด็นการขับขี่ย้อนศรได้ดี ดังนั้น การนำเสนอกับหน่วยงานราชการจึงเป็นเรื่องในอนาคตเมื่ออะนิเมชั่นมีความสมบูรณ์มากพอเเล้ว
เพื่อให้หน่วยงานราชการนั้น ๆ สามารถพิจารณาเเละให้ feedback ได้ โดยมีความเข้าใจเนื้อหาของอะนิเมชั่นอย่างครบถ้วน

ขอบคุณครับ