RSUSSH 2020

IN20-039 The Effect of Different Hemostatic Agents on Shear Bond Strength Between Resin Composite and Lithium Disilicate Ceramic

Presenter: Sirirat Manopinives
Srinakharinwirot University, Thailand

Abstract

          The objective of this study is to evaluate the shear bond strength between resin bonded and lithium disilicate ceramic that was contaminated with hemostatic agents. Forty ceramic discs were prepared by being treated with 5% HF for 20 seconds and applying silane coupling agent (ClearfilTM Ceramic Primer Plus). All specimens were randomly divided into four groups, namely, Group 1: control, Group 2: aluminum chloride, Group 3: aluminum sulfate, and Group 4: ferric sulfate. All groups were cemented with resin cement (Panavia V5), and then the shear bond strength was measured using a universal testing machine at a crosshead speed of 0.5 mm/min. The results were statistically analyzed using one-way ANOVA and Tukey’s multiple comparison tests at a 95% confidence level. The shear bond strengths of Groups 2-4 were significantly lower than the control group (P<0.05). There was no significant difference between Group 2 and Group 3, whereas Group 4 had the lowest shear bond strength. From stereomicroscopic images, most specimens represented mixed failure.

Keywords: Contamination; Hemostatic agent; Lithium disilicate

Citation format:

Manopinives, S., Sriamporn, T., & Chiaraputt, S.. (2020). The Effect of Different Hemostatic Agents on Shear Bond Strength Between Resin Composite and Lithium Disilicate Ceramic. Proceeding in RSU International Research Conference, May 1, 2020. Pathum Thani, Thailand.

QUESTIONS & ANSWERS

Asst. Prof. Umaporn Vimonkittipong, DDS. (Chairperson)

จากการทดลอง ได้มีการทาสาร hemostatic ที่แตกต่างกันบนผิวของเซรามิกที่มีการเตรียมผิวด้วยกรดและไซเลน และดูความแข็งแรงเฉือนที่เกิดขึ้นกับเรซินซีเมนต์ panavia F นะคะ

สำหรับการนำไปใช้งานในคลินิก เมื่อมีการปนเปื้อนของสาร hemostatic บนผิวฟันที่กำจัดออกไม่หมด โดยเฉพาะกลุุ่่มสุดท้าย ที่ไม่ใช่การปนเปื้อนบนผิวเซรามิก สามารถใช้ผลการทดลองนี้เอาไป apply ได้หรือไม่คะ

Asst. Prof. Jirat Srihatajati, DDS (Chairperson)

นอกเหนือจากความหนาของ gel consistency ของ ferric sulfate-based hemostatic solution ที่มีผลทำให้ bond strength ต่ำในกลุ่มที่ 4 แล้ว

ยังมีเหตุผลอื่นๆอีกไหมคะ เช่นองค์ประกอบอื่น หรือตัว ferric เอง ที่ส่งผลต่อค่า bond strength ค่ะ

Sirirat Manopinives (Presenter)

     สำหรับ ferric sulfate ค่ะอาจารย์ มีการศึกษาของ Isabela et al. 2017 ได้ทำการศึกษาสมบัติทาง Physicochemical ของ resin cement ที่ปนเปื้อนด้วยน้ำยาห้ามเลือดที่แตกต่างกัน ได้แก่ Hemostop (aluminum chloride), Viscostat clear (aluminum chloride) และ Viscostat (ferric sulfate) ทำการทดสอบโดยปนเปื้อนน้ำยาห้ามเลือดลงไปใน resin cement แล้วนำไปดูคุณสมบัติต่างๆ โดยมีการทดสอบที่ดู degree of conversion และ microshear bond strength พบว่า degree of conversion ของ กลุ่มที่เป็น ferric sulfate มีค่ามากที่สุด เมื่อเทียบกับน้ำยาห้ามเลือดอีก 2 ตัว แต่เมื่อมาดูค่า bond strength แล้ว พบว่ากลุ่มของ Viscostat และ Viscostat clear มีค่าต่ำกว่ากลุ่ม Hemostop ผู้วิจัยในงานวิจัยนี้จึงคาดว่าการที่ปนเปื้อนน้ำยาห้ามเลือด 2 ตัวนี้ลงใน resin cement ส่งผลให้ resin cement มี consistency ที่สูงขึ้น เป็นผลให้ค่า bond strength ลดลง
    นอกจากนี้ยังมีการศึกษาที่ทำในเนื้อฟัน (Ebrahimi et al. 2013, Pucci et al. 2016 ) โดยพบว่าการปนเปื้อนน้ำยาห้ามเลือดที่เป็น ferric sulfate บนเนื้อฟันหลังจากนั้นนำไปทดสอบค่าแรงยึดติด พบว่ากลุ่มที่เนื้อฟันปนเปื้อนด้วยน้ำยาห้ามเลือด ferric sulfate มีค่าแรงยึดติดที่ต่ำกว่ากลุ่มควบคุมที่ไม่มีการปนเปื้อน โดยเนื่องจากคุณสมบัติของ ferric sulfate เอง ที่ทำให้เกิดการตกตะกอนของโปรตีนในท่อเนื้อฟันเป็นผลทำให้ค่าแรงยึดติดลดลง นอกจากนี้ด้วย pH ของน้ำยาห้ามเลือดที่มีความเป็นกรด เมื่อทาบนผิวฟัน จะเกิดการ dissolve smear layer และอุดตัน dentinal tubule โดยมีการศึกษาที่พบว่าถ้ามีการปนเปื้อนน้ำยาห้ามเลือดบนเนื้อฟันร่วมกับการใช้ self-etch adhesive resin cement ส่วนของน้ำยาห้ามเลือดจะไม่ได้ถูกกำจัดออก ทำให้ค่าแรงยึดติดต่ำกว่ากลุ่มที่ใช้สารยึดติดในระบบ etch and rinse (Ebrahimi et al. 2013, Kuphasuk et al.2007, Karaman et al. 2015, O'Keefe et al. 2005)
     แต่เนื่องจากการศึกษานี้ผู้วิจัยทำการทดสอบบนชิ้นทดสอบเซรามิก ดังนั้นจึงคาดว่าค่าแรงยึดติดของกลุ่มที่ 4 ที่ต่ำกว่ากลุ่มอื่นอย่างมีนัยสำคัญน่าจะเป็นผลมาจาก consistency ของน้ำยาห้ามเลือด ซึ่งผลอาจแตกต่างออกไปหากทดสอบบนเนื้อฟันแทนค่ะ
 

Sirirat Manopinives (Presenter)

     สำหรับการปนเปื้อนบนผิวฟันค่ะอาจารย์ มีหลายการศึกษา (Pucci et al. 2016, Chaiyabutr & Kois 2011, Kuphasuk et al. 2007) ที่พบว่า เมื่อเนื้อฟันมีการปนเปื้อนของน้ำยาห้ามเลือดก่อนการนำไปยึดติดจะส่งผลให้ค่าแรงยึดเฉือนลดต่ำลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ

 
     สำหรับการศึกษาที่ใช้น้ำยาห้ามเลือดที่มีส่วนประกอบของ ferric sulfate อยู่ เช่น การศึกษาของ Pucci et al. 2016, Chaiyabutr & Kois 2011 และ Kumar et al. 2012
- การศึกษาของ Pucci et al. 2016 พบว่าการใช้น้ำยาห้ามเลือดที่มีส่วนของ ferric sulfate นี้จะทำให้เกิดการตกตะกอนของโปรตีนในท่อเนื้อฟันของน้ำยาห้ามเลือดหลงเหลืออยู่
- การศึกษาของ Chaiyabutr & Kois 2011 ที่ดูค่าแรงยึดติดหลังการ contaminate เนื้อฟันด้วยเลือด+น้ำยาห้ามเลือดที่ต่างกัน 2 ชนิด ได้แก่ Aluminum chloride และ Ferric sulfate แล้วนำไปทำความสะอาดด้วยสารต่างๆ พบว่ากลุ่มที่มีการ contaminate จะให้ค่าแรงยึดติดที่ต่ำกว่ากลุ่มที่ไม่ได้มีการ contaminate อย่างมีนัยสำคัญ และการ contaminate ด้วย Aluminum chloride หรือ Ferric sulfate ให้ค่าการยึดติดที่ไม่แตกต่างกัน
- นอกจากนี้ยังมีการศึกษาของ Kumar et al. 2012 ไม่ได้เป็นการศึกษาค่าแรงยึดเฉือนแต่ศึกษา Microleakage โดยพบว่าเมื่อนำฟันมาปนเปื้อนด้วยสาร ได้แก่ น้ำลาย น้ำยาห้ามเลือด เลือด และ caries disclosing agent พบว่าน้ำยาห้ามเลือดที่มีส่วนผสมของ ferric sulfate ทำให้เกิด microleakage มากที่สุดเมื่อเทียบกับกลุ่มอื่น


     สำหรับการศึกษานี้ใช้ Panavia V5 ซึ่งเป็น self-etch adhesive resin cement จากหลาย ๆ การศึกษาพบว่า เมื่อใช้ระบบ self-etch กับเนื้อฟันที่ปนเปื้อนด้วยสารห้ามเลือดจะให้ค่ากำลังการยึดติดที่ต่ำลงเมื่อเทียบกับกลุ่มควบคุม (Kuphasuk et al.2007, Karaman et al. 2015, O'Keefe et al. 2005) เนื่องจากไพรเมอร์ในระบบสารยึดติดนี้ส่วนของน้ำยาห้ามเลือดจะไม่ได้ถูกกำจัดออกไป เช่นเดียวกับการศึกษาของ Chaiyabutr & Kois 2011 ซึ่งใช้เป็น self-adhesive resin cement จากการศึกษาของ Kuphasuk et al.2007 พบว่าการใช้สารยึดติดระบบ self-etch นี้กับเนื้อฟันที่ปนเปื้อนน้ำยาห้ามเลือดที่มีส่วนประกอบของ Aluminum chloride เมื่อนำชิ้นทดสอบดังกล่าวไปทำการวิเคราะห์ปริมาณธาตุพบว่ามี Aluminum จากน้ำยาห้ามเลือดหลงเหลืออยู่บนผิวของเนื้อฟันซึ่งเป็นผลให้ค่ากำลังแรงยึดติดลดลง จากการศึกษาเดียวกันยังพบอีกว่าเมื่อเปลี่ยนระบบสารยึดติดเป็นแบบ etch and rinse ค่ากำลังแรงยึดติดทั้งของกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมที่ไม่ได้มีการปนเปื้อนใดไม่แตกต่างกัน เนื่องมาจากมีการใช้ Phosphoric acid ที่ช่วยกำจัดส่วนของ Aluminum ออกไปได้มากกว่า ซึ่งต่างจากการศึกษาของ Harnirattisai et al. 2009 พบว่าเมื่อใช้ระบบ self-etch กับเนื้อฟันทั้งกลุ่มที่ถูกปนเปื้อนด้วยน้ำยาห้ามเลือดและกลุ่มที่เป็นเนื้อฟันปกติ ให้ค่ากำลังการยึดติดที่ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทาง สถิติ โดยการศึกษาของ Harnirattisai et al. ใช้ self-etch adhesive คือ Panavia F ผู้วิจัยให้เหตุผลว่าเนื่องจาก ED primer ใน Panavia F สามารถ etch ส่วนของเนื้อฟันได้มากกว่าของอีกการศึกษา (Kuphasuk et al. 2007) ที่ใช้ Clearfil SE Bond al.2007) เนื่องจากองค์ประกอบทางเคมีของ adhesive 2 ยี่ห้อนี้แตกต่างกัน รวมถึง mode of cure และ ระยะเวลาที่ทา primer ต่างกัน เป็นผลให้ผลการศึกษาที่ได้แตกต่างออกไป            
     ดังนั้นสำหรับการมา apply ใช้ทางคลินิก หากเนื้อฟันมีการปนเปื้อนด้วยน้ำยาห้ามเลือดควรที่จะทำความสะอาดผิวเนื้อฟันก่อนทำการยึดติด เนื่องจากหลายการศึกษาพบว่าการปนเปื้อนน้ำยาห้ามเลือดบนเนื้อฟันจะส่งผลให้ค่าการยึดติดลดต่ำลงเมื่อเทียบกับกลุ่มที่ไม่มีการปนเปื้อนค่ะ
 

Win Hiriotappa (Visitor)

Thank you for your marvelous presentation and study.

If you have an opportunity to conduct a furthur research, what is your idea to make the study can be applied for real clinical situation?

Sirirat Manopinives (Presenter)

Thank you for your question, Dr. Win Hiripo

In this study, we found that hemostatic agent contamination affected the bond strength between ceramic restoration and resin cement. So, in a clinical situation after restoration or an abutment tooth was contaminated with hemostatic agent. The surface of the restoration and the abutment tooth need to be cleaned before the bonding procedure. Therefore, the cleansing agent or the cleaning method which is used to remove the contaminant must be investigated further. Besides, we will add another independent variable such as blood to create a more realistic clinical situation.