RSUSSH 2020

NA20-016 การศึกษาและผลิตสื่อภาพยนตร์แอนิเมชัน 3 มิติ เพื่อสร้างความตระหนักในปัญหาผู้สูงอายุ

นำเสนอโดย: ศาสตราภัทร์ สุวรรณโรจน์
มหาวิทยาลัยรังสิต, ไทย

Abstract

       ในปัจจุบันสถานการณ์การสูงวัยของประชากรเป็นปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นกับประเทศต่าง ๆ ทั่วโลก พบว่าประเทศไทยได้เป็นประเทศที่มีแนวโน้มผู้สูงอายุเพิ่มมากขึ้นอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ จึงทำให้เกิดปัญหาต่าง ๆ ตามมา เกี่ยวข้องกับความรุนแรงในด้านต่าง ๆ ที่พบมากที่สุด คือ การกระทำรุนแรงทางด้านจิตใจ รองลงมา คือ การทอดทิ้งละเลย และผู้สูงอายุถูกละเมิดสิทธิเพิ่มขึ้นกว่าในอดีตและมีแนวโน้มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยโครงการออกแบบสื่อแอนิเมชัน 3 มิติ เพื่อให้เห็นความสำคัญของผู้สูงอายุและเกิดความตระหนักต่อปัญหาที่จะเกิดขึ้นกับผู้สูงอายุ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. ศึกษาและค้นคว้าข้อมูลเกี่ยวกับปัญหาของผู้สูงอายุ 2. เพื่อศึกษากระบวนการผลิตสื่อแอนิเมชัน 3 มิติ เพื่อสร้างความตระหนักในปัญหาผู้สูงอายุ อันเนื่องมาจากรูปแบบการดำเนินชีวิต สังคม และเศรษฐกิจที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วและมีความซับซ้อนมากขึ้นในปัจจุบัน โดยนำเสนอในแง่มุมผลกระทบจากเรื่องราวความสัมพันธ์ที่มีอุปสรรคระหว่างผู้สูงอายุกับลูกหลาน และมุมมองที่เป็นเหตุและผลผ่านตัวละครต่างวัย โดยการเลือกใช้เทคนิคแอนิเมชัน 3 มิติ ซึ่งเป็นสื่อที่กำลังได้รับความนิยมในปัจจุบัน ทำให้สื่อเป็นที่ดึงดูดความสนใจของทุกวัย  จากนั้นจึงนำแอนิเมชันนี้ให้กลุ่มตัวอย่างซึ่งอยู่ในช่วงวัยรุ่นถึงวัยผู้ใหญ่ตอนกลาง จำนวน 50 คน ได้รับชมและประเมินโดยใช้แบบสอบถาม พบว่าผู้ชมมีความพึงพอใจกับเนื้อหาโดยทราบถึงเหตุผลที่นำไปสู่ปัญหาความสัมพันธ์ระหว่างคนใกล้ชิดที่มีต่อผู้สูงอายุ และมีความพึงพอใจในด้านเทคนิคในเกณฑ์ดีถึงดีมาก มีการแลกเปลี่ยนประสบการณ์เรื่องราวเกี่ยวกับปัญหาผู้สูงอายุ ซึ่งมีส่วนช่วยอย่างมากในการวิจัย และได้รับความคิดเห็นต่าง ๆ
 เพิ่มมากขึ้น

Keywords: แอนิเมชัน 3 มิติ; ผู้สูงอายุ; ความตระหนัก

Citation format:

ศาสตราภัทร์ สุวรรณโรจน์, พรรณเพ็ญ ฉายปรีชา, และชัยพร พานิชรุทติวงศ์. (2020). การศึกษาและผลิตสื่อภาพยนตร์แอนิเมชัน 3 มิติ เพื่อสร้างความตระหนักในปัญหาผู้สูงอายุ. เอกสารสืบเนื่องจากการประชุมระดับชาติมหาวิทยาลัยรังสิต ประจำปี 2563. วันที่ 1 พฤษภาคม 2563.

QUESTIONS & ANSWERS

กฤษกร บุญประเสริฐ (Participant)

จากการที่ได้รับชมวีดีโอการนำเสนอ และได้ออ่านบทคัดย่อแล้ว มีจ้อสงสัยอยากสอบถามผู้วิจัยเพิ่มเติมเกี่ยวกับแบบประเมินในการสอบถามความพึงพอใจ
ว่าแบบประเมินที่ผู้วิจัยได้ใช้นั้นมีกี่ด้าน และแต่ล่ะด้านมีกี่ข้อ ให้น้ำหนักกับด้านไหนมากน้อยกว่ากัน ขอบคุณครับ   

ศาสตราภัทร์ สุวรรณโรจน์ (Presenter)

เกี่ยวกับแบบประเมินในการสอบถามความพึงพอใจซึ่งผู้วิจัยได้ใช้นั้นมีทั้งหมด 3 ด้าน

1. ด้านประโยชน์  

2. ด้านเนื้อเรื่อง

3. ด้านเทคนิคและการออกแบบ

 

โดยแบ่งเป็นข้อในแต่ละด้านดังนี้                                                           

ด้านประโยชน์ 

1. สะท้อนให้เห็นถึงปัญหาผู้สูงอายุ                                                                                             

2. เป็นประโยชน์ต่อสังคม                                                                                                           

ด้านเนื้อหา

1. เนื้อหามีความน่าสนใจ                                                                                                        

2. ให้ข้อคิด/สร้างความตระหนักเกี่ยวกับปัญหาผู้สูงอายุ                                                                     

ด้านเทคนิคและการออกแบบ

1. ความสวยงามของการออกแบบตัวละคร                                                                                   

2. ความสวยงามของการออกแบบฉาก                                                                                         

3. เสียงดนตรีประกอบ             

 

ผู้วิจัยนั้นได้ให้น้ำหนักของ ด้านเทคนิคและการออกแบบมากที่สุด

 

เนื่องจากหัวข้อวิจัยในครั้งนี้เป็นการวิจัยเรื่องการผลิตสื่อแอนิเมชัน 3 มิติ และปัญหาผู้สูงอายุ

โดยผู้วิจัยคิดว่า ถ้าหากตัวสื่อนั้นมีความสวยงาม และมีการใช้เทคนิคต่าง ๆ ได้ดีอยู่เป็นพื้นฐานแล้ว

ก็จะทำให้ผู้ชมเกิดความสนใจในการที่จะรับชมสื่อ ส่วนเรื่องข้อปัญหาของผู้สูงอายุนั้น

การที่ผู้ชมเห็นความสวยงามแล้ว ก็หวังว่าจะต้องติดตามรับชมสื่อจนจบ อันเป็นผลให้ผู้ชม

สามารถซึมซับตัวเนื้อเรื่อง และได้รับรู้ว่าที่ผู้วิจัยต้องการที่จะสื่อถึงเรื่องราวของผู้สูงอายุ

ซึ่งอาจจะสกิดใจ หรือนำไปศึกษาถึงผลกระทบของผู้สูงอายุได้อย่างไม่มากก็น้อยตามการ

ให้ความสำคัญต่อปัญหาผู้สูงอายุของผู้ชมในแต่ละท่าน       

 

ขอบคุณครับ