RSUSSH 2020

NA20-036 การพัฒนาความสามารถในการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ของนักศึกษา มหาวิทยาลัยเอกชน ระดับปริญญาตรี ที่จัดการเรียนรู้ตามทฤษฎีพัฒนาการ ทางสติปัญญา

นำเสนอโดย: รัชนีภรณ์ คล่องแคล่ว
มหาวิทยาลัยกรุงเทพสุวรรณภูมิ, ไทย

Abstract

                การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ของการวิจัย 1. เพื่อพัฒนาความสามารถในการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ของนักศึกษามหาวิทยาลัยเอกชน ระดับปริญญาตรี ที่จัดการเรียนรู้ตามทฤษฎีพัฒนาการทางสติปัญญา 2. เพื่อศึกษาประสิทธิภาพเชิงประจักษ์ของความสามารถในการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ของนักศึกษามหาวิทยาลัยเอกชน ระดับปริญญาตรี ที่จัดการเรียนรู้ตามทฤษฎีพัฒนาการทางสติปัญญา ที่พัฒนาขึ้น การวิจัยนี้เป็นการวิจัยและพัฒนา โดยกำหนดรูปแบบหนึ่งกลุ่มทดลอง ก่อนและหลังการทดลอง กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นนักศึกษามหาวิทยาลัยเอกชน ระดับปริญญาตรี ชั้นปีที่ 1 จำนวน 680 คน จากนั้นสุ่มมาโดยวิธีแบ่งชั้นภูมิโดยใช้ระดับคะแนนความสามารถในการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์โดยมีค่าเปอร์เซ็นไทล์อยู่ในระดับ สูง กลาง ต่ำ จำนวน 20 คน เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ แบบสอบถาม แผนการจัดการเรียนรู้ตามทฤษฎีพัฒนาการทางสติปัญญา แบบวัดความสามารถในการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ แบบประเมินคุณลักษณะของผู้ที่มีความสามารถในการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ และแบบประเมินความพึงพอใจ วิเคราะห์ทางสถิติ ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติ t-test และการวิเคราะห์เนื้อหา

                ผลการวิเคราะห์ข้อมูลพบว่า การพัฒนาความสามารถในการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ของนักศึกษา มหาวิทยาลัยเอกชน ระดับปริญญาตรี ที่จัดการเรียนรู้ตามทฤษฎีพัฒนาการทางสติปัญญา มีความสามารถในการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ สูงขึ้นกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 โดยมีคะแนนเฉลี่ยความสามารถในการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ของนักศึกษามหาวิทยาลัยเอกชน ระดับปริญญาตรี หลังการทดลอง
( X
 = 52.18, S.D. = 4.12) อยู่ในระดับสูงซึ่งสูงกว่าก่อนการทดลอง ( X  = 38.27, S.D. = 6.41) ที่อยู่ในระดับปานกลาง และคะแนนเฉลี่ยความสามารถในการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ของนักศึกษามหาวิทยาลัยเอกชน ระดับปริญญาตรี จำแนกเป็นรายด้าน พบว่า หลังการทดลองมีค่าเฉลี่ยเพิ่มขึ้นทุกด้าน ทั้งนี้พบว่า หลังการทดลองด้านที่มีคะแนนเฉลี่ยสูงที่สุด คือ การประเมินผล ( X  =13.58, S.D. = 1.97) และการเลือกกลวิธีการแก้ปัญหา (X  =13.27, S.D. = 2.23) อยู่ในระดับสูงมาก และด้านที่มีคะแนนเฉลี่ยต่ำสุด คือ การลงมือปฏิบัติ ( X  = 10.53, S.D. = 2.66) การกำหนดปัญหา ( X  = 12.48, S.D. = 2.64) และการค้นหาความคิด (X  =12.56, S.D. = 1.80) อยู่ในระดับสูง เป็นลำดับสุดท้ายและนักศึกษามหาวิทยาลัยเอกชน ระดับปริญญาตรีมีความพึงพอใจต่อรูปแบบการเรียนรู้ที่พัฒนาขึ้นโดยภาพรวมในระดับดีมาก ทั้งนี้ด้านประโยชน์และความพึงพอใจที่ได้รับมีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด

Keywords: ความสามารถในการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์; จัดการเรียนรู้ตามทฤษฎีพัฒนาการทางสติปัญญา; นักศึกษาระดับปริญญาตรี

Citation format:

รัชนีภรณ์ คล่องแคล่ว, และสิริรัตน์ เทียมเสรี. (2020). การพัฒนาความสามารถในการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ของนักศึกษา มหาวิทยาลัยเอกชน ระดับปริญญาตรี ที่จัดการเรียนรู้ตามทฤษฎีพัฒนาการ ทางสติปัญญา. เอกสารสืบเนื่องจากการประชุมระดับชาติมหาวิทยาลัยรังสิต ประจำปี 2563. วันที่ 1 พฤษภาคม 2563.

QUESTIONS & ANSWERS

Siriwan Wasukree (Visitor)

การพัฒนาความสามารถในการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ของนักศึกษา การวิจัยครั้งนี้ ผู้วิจัยคิดว่าความสามารถในการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์จะมีความคงทนได้นานเพียงใด

รัชนีภรณ์ คล่องแคล่ว (Presenter)

ความสามารถในการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์จะมีความคงทนติดตัวไปกับนักศึกษาตอนตลอดไป ไม่ว่าจะเกิดสถานการณ์ปัญหาอะไรขึ้นในชีวิตการเรียน การทำงานเมื่อสำเร็จการศึกษาไปแล้วก็ยังสามารถนำไปใช้ได้ ความสามารถแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ที่ได้รับการจัดประสบการณ์แล้วเป็นเหมือนเกราะหรือวิธีการทีผู้เรียนเผชิญแล้วค้นหาวิธีการแก้ไขได้ด้วยตนเอง