RSUSCI-2021 & RSUSOC-2021
NA21-072 แนวทางพัฒนาเพื่อการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมอาข่าของชุมชนผาฮี้ ตำบลโป่งงาม อำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย
นำเสนอโดย: ปัฐน์ ธุวาทร
สถาปัตยกรรมศาสตร์, สถาปัตยกรรมศาสตร์, มหาวิทยาลัยรังสิต
Abstract
บทความวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาบริบทชุมชนวิถีชีวิตวัฒนธรรมประเพณีของชาวอาข่าชุมชนบ้านผาฮี้จากอดีตจนถึงปัจจุบันสำหรับการส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม 2) เพื่อนำเสนอการออกแบบสถาปัตยกรรมที่ผสมผสานวิถีชีวิตและวัฒนธรรมสู่กระบวนการออกแบบ จากประเด็นปัญหาด้านกิจกรรมประเพณีดั้งเดิมของชาวอาข่าที่กำลังเลือนลางและจางหายไปตามยุคสมัย จึงได้นำมาศึกษาวิจัยเพื่อการอนุรักษ์และฟื้นฟูประเพณีดั้งเดิมเอาไว้ และนำมาซึ่งการส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมให้กับชุมชน มีวิธีการดำเนินงานวิจัยโดยการศึกษาข้อมูลทางกายภาพ ทฤษฎีจินตภาพเมือง ศึกษาประเด็นปัญหาในพื้นที่ ทฤษฎีการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม และทฤษฎีการวางผัง เพื่อนำมาใช้ในการออกแบบสถาปัตยกรรม ให้มีความเหมาะสมและมีความพร้อมสำหรับการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมในอนาคต ผลการศึกษา พบว่าชุมชนผาฮี้ซึ่งตั้งอยู่บนภูเขาใกล้ชายแดนพม่ามีความโดดเด่นในด้านการท่องเที่ยวการเกษตรและวัฒนธรรม แต่เนื่องจากกาลเวลาและสังคมที่เปลี่ยนแปลงไปส่งผลให้วัฒนธรรมของอาข่าเลือนหายไป ทั้งนี้การอนุรักษ์ประเพณีงานเทศกาลและกิจกรรมต่าง ๆ แบบดั้งเดิมของชาวอาข่า เช่น การทำน้ำมนต์ให้บริสุทธิ์ การเดินผ่านประตูผี การตำข้าวปุก และการเต้นระบำไม้ไผ่ จะสามารถอนุรักษ์วัฒนธรรมของอาข่าแบบดั้งเดิมไว้ได้ และยังช่วยส่งเสริมการท่องเที่ยวในชุมชนผาฮี้ โดยเสนอแนะแนวทางออกแบบเบื้องต้นเป็น 3 จุด ประกอบไปด้วยจุดที่ 1 พื้นที่ต้อนรับนักท่องเที่ยว จุดที่ 2 พื้นที่เรียนรู้วัฒนธรรมดั้งเดิมเพื่อการเรียนรู้วัฒนธรรมของชาวอาข่าอาข่า เพื่อส่งเสริมประเพณีที่มีความสำคัญของชาวอาข่า และจุดที่ 3 จุดส่งเสริมการท่องเที่ยวและศึกษาวิถีชีวิต เพื่อส่งเสริมวิถีชีวิตดั้งเดิมของชาวอาข่า โดยทั้ง 3 พื้นที่จะเป็นแหล่งการเรียนรู้และสร้างประสบการณ์ใหม่ในการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม และช่วยฟื้นฟูและอนุรักษ์ประเพณีที่สำคัญของชาวอาข่าเอาไว้อย่างยั่งยืน