RSUSCI-2021 & RSUSOC-2021

NA21-073 โครงการพัฒนาชุมชนปากน้ำเวฬุเพื่อการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม ตามหลักนวัตวิถี อำเภอขลุง จังหวัดจันทบุรี

นำเสนอโดย: สมสฤทธิ์ ตาณพันธุ์
สถาปัตยกรรมศาสตร์, สถาปัตยกรรมศาสตร์, มหาวิทยาลัยรังสิต

Abstract

หมู่บ้านปากน้ำเวฬุนั้นเป็นสถานที่ที่มีความน่าสนใจทางกายภาพ วัฒนธรรมและประเพณีที่มีอัตลักษณ์และมีประวัติความเป็นมายาวนาน เนื่องจากการตั้งถิ่นฐานชุมชนบริเวณปากแม่น้ำซึ่งไม่มีพื้นที่ดินสำหรับการสร้างอาคารจึงทำให้ถูกเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า หมู่บ้านไร้แผ่นดิน วัตถุประสงค์หลักในการพัฒนาชุมชนปากน้ำเวฬุคือการนำวัฒนธรรมและวิถีชีวิตมาส่งเสริมให้เกิดกิจกรรมการท่องเที่ยวตามหลักนวัตวิถี ผลการศึกษาพบว่า การออกแบบสถาปัตยกรรมและการวางผังสามารถช่วยแก้ปัญหาทางกายภาพของชุมชน โดยสร้างท่าเรือที่รองรับนักท่องเที่ยว และเป็นจุดชมวิวที่ดึงดูดสายตา ปรับปรุงท่าเรือของวัดให้เป็นจุดเรียนรู้ และเปลี่ยนวัฒนธรรมของหมู่บ้านกับนักท่องเที่ยว สร้างตลาดกลางสินค้าโอทอปของชุมชน และสุดท้ายคือการสร้างศูนย์เรียนรู้ ศึกษาธรรมชาติของป่าชายเลน เพื่อให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวตามหลักนวัตวิถีและเพื่อช่วยอนุรักษ์ระบบนิเวศป่าชายเลน ดังนั้นบทสรุปของการศึกษาแสดงให้เห็นว่าการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานที่บูรณาการวิถีชุมชนจะช่วยให้เกิดกิจกรรมท่องเที่ยวเพิ่มขึ้น ซึ่งจะส่งเสริมให้คนในหมู่บ้านมีรายได้มากขึ้น ยกระดับคุณภาพชีวิตของคนในชุมชนให้ดีขึ้น โดยผลลัพธ์ของการศึกษาครั้งนี้ยังสามารถนำไปเป็นแนวคิดต้นแบบพัฒนาชุมชนอื่น ๆ ที่มีลักษณะคล้ายกันได้

Citation format:

สมสฤทธิ์ ตาณพันธุ์, สุวิชา เบญจพร, ชนุตร์ นวกุลศิรินารถ, ศิวกร ชาวนาทุ่ง, ชัยภัทร ชัยเรือง, รัฐเขตต์ เสื่ออิ่ม, ธนโชติ รอดเนียม, และภานุ พันธุ์นาค. (2021). โครงการพัฒนาชุมชนปากน้ำเวฬุเพื่อการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม ตามหลักนวัตวิถี อำเภอขลุง จังหวัดจันทบุรี. เอกสารสืบเนื่องจากการประชุมระดับชาติมหาวิทยาลัยรังสิต ประจำปี 2564. วันที่ 30 เมษายน 2564.