RSUSCI-2021 & RSUSOC-2021

NA21-060 การหาขนาดการผลิตที่เหมาะสมเพื่อลดของเสียจากการปรับตั้งเครื่องจักร: กรณีศึกษาอุตสาหกรรมพลาสติกแปรใช้ใหม่

นำเสนอโดย: ศิลปชัย วัฒนเสย
ภาควิชาวิศวกรรมอุตสาหการ, วิทยาลัยวิศวกรรมศาสตร์, มหาวิทยาลัยรังสิต

Abstract

       งานวิจัยนี้ศึกษากระบวนการผลิตอุตสาหกรรมพลาสติกที่นำกลับมาแปรใช้ใหม่ ศึกษาการหาขนาดการผลิตและการปรับตั้งเครื่องจักรที่เหมาะสม จากการศึกษาการทำงานจากโรงงานกรณีศึกษาแล้วพบว่ามีชนิดของพลาสติกที่ดำเนินการผลิต 4 ชนิด นั้นคือ พอลิโพรพิลีน (PP), พอลิเอทิลีน (PE), อะคริโลไนไตรล์-บิวทาไดอีน-สไตรีน (ABS) พอลิเอทิลีนเทเรฟทาเลต (PET) การผลิตเม็ดพลาสติกด้วยเครื่องอัดรีด กระบวนการผลิตมีการการปรับตั้งเครื่องจักรบ่อยครั้ง เมื่อมีการเปลี่ยนชนิดของเม็ดพลาสติกจึงทำให้เกิดของเสียจากการปรับตั้งเครื่องอัดรีดเป็นจำนวนมาก ดังนั้นงานวิจัยจึงได้ศึกษาและวิเคราะห์การหาขนาดการผลิต และจำนวนครั้งการปรับตั้งเครื่องจักรที่เหมาะสม การศึกษาวิธีการทำงานเพื่อหาแนวทางในการลดของเสียจากเครื่องอัดรีดด้วยการจัดตารางการผลิตที่เหมาะสมสัมพันธ์กับวัตถุดิบพลาสติกที่นำกลับมาแปรใช้ใหม่ ที่ได้รับมาจากผู้ส่งมอบ หลังจากปรับปรุงแล้ว การปรับตั้งเครื่องอัดรีด เดิม 94 ครั้งต่อเดือน เหลือ 33 ครั้งต่อเดือน ลดลงไป 61 ครั้งต่อเดือน และสามารถเพิ่มเวลาการผลิตได้ 92 ชั่วโมง มีปริมาณการผลิตเพิ่มขึ้น 31 ตันต่อเดือน และลดต้นทุนการผลิตได้ 6,584,400 บาทต่อปี

Citation format:

ศิลปชัย วัฒนเสย, และพิษณุ มนัสปิติ. (2021). การหาขนาดการผลิตที่เหมาะสมเพื่อลดของเสียจากการปรับตั้งเครื่องจักร: กรณีศึกษาอุตสาหกรรมพลาสติกแปรใช้ใหม่. เอกสารสืบเนื่องจากการประชุมระดับชาติมหาวิทยาลัยรังสิต ประจำปี 2564. วันที่ 30 เมษายน 2564.