RSUSCI-2021 & RSUSOC-2021

NA21-065 การออกแบบสื่ออินโฟกราฟิกกิจกรรมควงปากกา เพื่อเสริมสร้างสมาธิและบริหารสมองให้กับวัยรุ่น

นำเสนอโดย: ศุภโชค ธีรติการกุล
สาขาคอมพิวเตอร์อาร์ต, คณะดิจิทัลอาร์ต, มหาวิทยาลัยรังสิต

Abstract

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเสริมสร้างความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับกิจกรรมควงปากกา (PenSpinning) โดยลักษณะการเล่นจะเป็นการใช้ทักษะทางมือและนิ้วทั้ง 5 เพื่อแยกประสาทแต่ละนิ้ว ให้ออกมาเป็นท่วงท่าที่สวยงามเป็นกิจกรรมที่ดึงดูดความสนใจและสร้างความเพลิดเพลินให้กับเด็กและวัยรุ่น ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งในการลดปัญหาภาวะสมาธิสั้นของเด็กวัยเรียนในปัจจุบัน ช่วยฝึกสมาธิ ฝึกทักษะการทำงานอย่างสัมพันธ์กันระหว่างระบบประสาทสมองและนิ้วมือ ทำให้สามารถหันมาจดจ่อกับสิ่งใดสิ่งหนึ่งได้เป็นเวลานานมากยิ่งขึ้น ซึ่งสื่ออินโฟกราฟิก (Infographic) ความยาวประมาณ 5 นาที จัดทำเพื่อกลุ่มผู้ชมอายุตั้งแต่ 11-18 ปี ให้เกิดความเข้าใจตัวเกี่ยวกับกิจกรรมควงปากกา เพื่อนำไปใช้ในการทำกิจกรรมใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ได้ โดยมีเนื้อหาเริ่มต้นด้วยตัวละครหลักในการดำเนินเรื่องเกิดความเครียดสะสมจากการทำงานแล้วต้องการผ่อนคลายด้วยการเล่นกิจกรรมควงปากกา จากนั้นกล่าวถึงลักษณะของการเล่นควงปากกาไปจนถึงประโยชน์ของการควงปากกา ความสัมพันธ์ระหว่าง สมอง สมาธิ และนิ้วมือ วิธีการฝึกเล่นการควงปากกาเบื้องต้น และเกณฑ์การตัดสินในการแข่งขันควงปากกา โดยสอดแทรกการใช้ภาพกราฟิก (Graphic) เพื่ออธิบายข้อมูลให้เข้าใจได้ง่ายยิ่งขึ้น โดยขั้นตอนงานวิจัยเริ่มจากการเก็บรวบรวมข้อมูลจากแหล่งต่าง ๆ ผ่านการวิเคราะห์ การถ่ายทำ การตัดต่อ กลายมาเป็นสื่ออินโฟกราฟิกที่ใช้ภาพ เสียง และบทบรรยาย ทำให้เข้าใจเนื้อหาได้ง่าย อีกทั้งผลงานวิจัยเผยแพร่ในรูปแบบออนไลน์ จากแบบสอบถามความคิดเห็นต่อสื่ออินโฟกราฟิก จำนวน 30 คน พบว่ากลุ่มผู้ชมให้คะแนนความพึงพอใจด้านความเข้าใจเกี่ยวกับกิจกรรมการควงปากกามาก ด้านเนื้อเรื่องผู้ชมให้คะแนนความพึงพอใจน้อยที่สุด ส่วนทางด้านความสนใจที่มีต่อกิจกรรมควงปากกาผู้ชมให้คะแนนมากที่สุด

Citation format:

ศุภโชค ธีรติการกุล, วัฒนะ จูฑะวิภาต, และชัยพร พานิชรุทติวงศ์. (2021). การออกแบบสื่ออินโฟกราฟิกกิจกรรมควงปากกา เพื่อเสริมสร้างสมาธิและบริหารสมองให้กับวัยรุ่น. เอกสารสืบเนื่องจากการประชุมระดับชาติมหาวิทยาลัยรังสิต ประจำปี 2564. วันที่ 30 เมษายน 2564.