RSUSCI-2021 & RSUSOC-2021

NA21-051 การออกแบบแอนิเมชัน 3 มิติเพื่อส่งเสริมความรู้และตระหนักถึงปัญหาความรุนแรงต่อเด็ก

นำเสนอโดย: อนัน วาโซะ
หลักสูตรศิลปมหาบัณฑิต สาขาวิชาคอมพิวเตอร์อาร์ต, คณะดิจิทัลอาร์ต, มหาวิทยาลัยรังสิต

Abstract

เด็กและเยาวชนไทยในปัจจุบันมีอารมณ์ก้าวร้าว รุนแรง เราจะเห็นปัญหาการทำร้ายร่างกายกันจนถึงขั้นเสียชีวิตเป็นอยู่ประจำ จากข่าวที่นำเสนอผ่านทางสื่อต่าง ๆ หลัก ๆ ของปัญหาคือ ส่วนใหญ่เด็กเหล่านี้มักจะเป็นผู้ถูกกระทำความรุนแรงมาก่อน มาจากครอบครัวที่มีปัญหา พ่อ แม่ไม่มีเวลาให้กัน ไม่ค่อยแสดงความรักต่อกัน ครอบครัวหย่าร้าง ถูกทอดทิ้งโดยพฤติกรรมต่าง ๆ ของพ่อ แม่หรือคนในครอบครัว จะมีผลกับตัวเด็กอย่างมาก ทั้งด้านดีและไม่ดี โดยเฉพาะ พ่อ และ แม่ เนื่องจากเป็นผู้ที่อยู่ใกล้ตัวเด็กมากที่สุด เด็กจะเห็นและซึมซับผ่านการมองเห็น ได้ยิน และสัมผัส บางครั้งผู้ใหญ่ไม่ตระหนักถึงความสำคัญจึงแสดงพฤติกรรมด้านลบออกมา เช่น การสบถ ดุด่า ทะเลาะ ตบ ตี คนในบ้านหรือตัวเด็กเอง การกระทำดังกล่าวสร้างบาดแผลลึกไปถึงจิตใจของเด็ก ทำให้เกิดปัญหาความรุนแรงต่อเด็กขึ้นทันที เด็กจะเก็บกด เครียด กดดัน และพร้อมที่จะระเบิดออกมาเป็นความรุนแรงได้ง่ายกว่าคนปกติ สามารถสร้างความรุนแรงต่อร่างกาย ชีวิตตนเองและคนอื่นได้ เมื่อเด็กเหล่านี้เติบโตขึ้นมีโอกาสที่จะกลายเป็นผู้กระทำความรุนแรงเสียเองในอนาคต งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมให้ผู้ใหญ่เกิดความรู้และตระหนักถึงปัญหาความรุนแรงต่อเด็ก โดยมุ่งเน้นถึงการแสดงพฤติกรรมทางลบของผู้ใหญ่ในครอบครัว ซึ่งจะส่งผลเป็นปัญหาความรุนแรงต่อเด็ก สื่อแอนิเมชัน 3 มิติ ความยาว 4 นาที จัดทำขึ้นเพื่อให้กลุ่มผู้ชม อายุตั้งแต่ 20 ปี ขึ้นไป ส่งเสริมการแสดงพฤติกรรมด้านบวกให้เด็กเห็นและซึมซับ เติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่มีแบบอย่างที่ดีในอนาคต

Citation format:

อนัน วาโซะ. (2021). การออกแบบแอนิเมชัน 3 มิติเพื่อส่งเสริมความรู้และตระหนักถึงปัญหาความรุนแรงต่อเด็ก. เอกสารสืบเนื่องจากการประชุมระดับชาติมหาวิทยาลัยรังสิต ประจำปี 2564. วันที่ 30 เมษายน 2564.