RSUSCI-2021 & RSUSOC-2021

NA21-029 การผลิตสื่อแอนิเมชันสามมิติด้วยชุดสีตาบอดสีน้ำเงินเพื่อสร้างความเข้าใจโรคตาบอดสี

นำเสนอโดย: ชนิกานต์ งามวสุศิริ
คอมพิวเตอร์อาร์ต, คณะดิจิทัลอาร์ต, มหาวิทยาลัยรังสิต

Abstract

งานวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับโรคตาบอดสี โดยสะท้อนปัญหาของโรคตาบอดสีในชีวิตประจำวันและในการเลือกเส้นทางชีวิต อาชีพ ความฝัน ซึ่งในตอนสุดท้ายจะถ่ายทอดผ่านทางแอนิเมชันสามมิติความยาวประมาณ 2-3 นาที โดยเน้นเปรียบเทียบมุมมองที่คนทั่วไปมองเห็นและมุมมองที่ผู้ป่วยตาบอดสีมองเห็น กลุ่มเป้าหมายหลักของงานวิจัยคือบุคคลทั่วไปอายุ 12-40 ปี เพื่อส่งเสริมความเข้าใจและเห็นความสำคัญของโรคนี้มากขึ้น เนื่องจากเป็นโรคที่สังเกตจากภายนอกได้ยากแต่ผู้ที่เป็นโรคตาบอดสีเองก็ต้องการได้รับความช่วยเหลือเช่นเดียวกัน เนื้อเรื่องเกี่ยวกับเด็กผู้หญิงคนหนึ่งที่ประสบอุบัติเหตุทำให้กลายเป็นโรคตาบอดสี เธอต้องปรับตัวกับชีวิตที่เปลี่ยนไปรวมทั้งความท้อท้ายต่อความฝันเกี่ยวกับสิ่งที่เธอชอบ การโดนรังแกจากคนรอบข้าง และความช่วยเหลือที่เธอได้รับจากเพื่อนของเธอทำให้เด็กหญิงมีความกล้าที่จะทำตามความฝันในการวาดรูปต่อไป แม้สีที่เธอมองเห็นจะแตกต่างจากคนทั่วไปก็ตาม การดำเนินเรื่องเน้นภาพและเพลงประกอบเป็นหลัก ไม่มีบทพูดเพื่อการเข้าถึงต่อคนทุกชนชาติ ทุกภาษา โดยจากการทำแบบสอบถามของบุคคลทั่วไปช่วงอายุ 12-40 ปีจำนวน 30 คน ผู้ชมมีความเข้าใจในเนื้อเรื่องและโรคตาบอดสีมากขึ้น มีความเห็นอกเห็นใจต่อผู้ป่วยโรคตาบอดสีและมีความคิดที่อยากจะช่วยเหลือผู้ป่วยโรคตาบอดสีหากพบเจอ

Citation format:

ชนิกานต์ งามวสุศิริ, วรรณพร ชูจิตารมย์, และชัยพร พานิชรุทติวงศ์. (2021). การผลิตสื่อแอนิเมชันสามมิติด้วยชุดสีตาบอดสีน้ำเงินเพื่อสร้างความเข้าใจโรคตาบอดสี. เอกสารสืบเนื่องจากการประชุมระดับชาติมหาวิทยาลัยรังสิต ประจำปี 2564. วันที่ 30 เมษายน 2564.