RSUSCI-2021 & RSUSOC-2021

NA21-015 การพัฒนาไบโอเซนเซอร์ด้วยเทคนิคแอปตาไซม์สำหรับตรวจหาเชื้อเอนเทอโรฮีโมเรจิก เอสเชอริเชีย โคไล

นำเสนอโดย: ศิวะพร ประชูโชติ
ภาควิชาชีวเคมี, คณะวิทยาศาสตร์ วิทยาเขตบางเขน, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

Abstract

       เอนเทอโรฮีโมเรจิก อี โคไล (Enterohemorrhagic Escherichia coli; EHEC) เป็นสาเหตุหลักของโรคบวมน้ำ (Edema disease) ในสุกร ลูกสุกรจำนวนมากตายด้วยโรคนี้ ซึ่งส่งผลกระทบต่ออุตสาหกรรมของสุกรเป็นอย่างมาก และยังทำให้เกิดการสูญเสียทางเศรษฐกิจของประเทศไทย ปัจจุบันวิธีวินิจฉัยลูกสุกรที่ติดเชื้ออี โคไล (Escherichia coli; E. coli) ต้องใช้ระยะเวลานาน และราคาแพง ด้วยเหตุผลนี้ จึงได้มีการพัฒนาไบโอเซนเซอร์ (Biosensor) สำหรับตรวจจับเชื้ออี โคไล โดยใช้เทคนิคแอปตาไซม์ (Aptazyme) อันดับแรกในการพัฒนาแอปตาไซม์เป็นไบโอเซนเซอร์ คือ การออกแบบโพรบของแอปตาไซม์ และทดสอบความเป็นเอนไซม์เพอร์ออกซิเดสของแอปตาไซม์ ซึ่งทำหน้าที่เร่งปฏิกิริยา และให้ผลิตภัณฑ์ที่มีสี ในสารละลายที่มีเชื้ออี โคไล แอปตาไซม์ที่ทำหน้าที่คล้ายเอนไซม์เพอร์ออกซิเดสจะสูญเสียหน้าที่ในการเร่งปฏิกิริยาออกซิเดชันของสับสเตรท ABTS (2,2’-azino-bis(3-ethylbenzothiazoline-6-sulfonic acid)) จึงไม่เกิดผลิตภัณฑ์ที่มีสีเขียว ชุดแอปตาไซม์ที่ออกแบบนี้ตรวจจับเชื้ออี โคไลได้อย่างจำเพาะเจาะจง และตรวจหาเชื้ออี โคไลได้น้อยสุดที่ความเข้มข้น 108 เซลล์ต่อมิลลิลิตร (cells/ml) ข้อดีของชุดแอปตาไซม์นี้ ได้แก่ สามารถตรวจเชื้ออี โคไลที่เป็นตัวเซลล์ ใช้ระยะเวลาน้อยในการตรวจวินิจฉัย และสังเกตผลที่เกิดขึ้นได้ด้วยตาเปล่า ดังนั้น แอปตาไซม์นี้จึงเป็นไบโอเซนเซอร์ที่น่าสนใจสำหรับการนำไปใช้ตรวจเชื้ออี โคไลในฟาร์มสุกรในอนาคต

Citation format:

ศิวะพร ประชูโชติ, และเกียรติทวี ชูวงศ์โกมล. (2021). การพัฒนาไบโอเซนเซอร์ด้วยเทคนิคแอปตาไซม์สำหรับตรวจหาเชื้อเอนเทอโรฮีโมเรจิก เอสเชอริเชีย โคไล. เอกสารสืบเนื่องจากการประชุมระดับชาติมหาวิทยาลัยรังสิต ประจำปี 2564. วันที่ 30 เมษายน 2564.