RSUSCI-2021 & RSUSOC-2021

NA21-030 อิทธิพลกระแสเชื่อมโลหะโดยใช้ก๊าซแอ็คทีฟ ( MAG ) ต่อสมบัติของรอยต่อเกยเหล็กกล้า SPH590

นำเสนอโดย: อานนท์ เชียรประโคน
วิศวกรรม, วิศวกรรมการผลิต, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีธัญบุรี

Abstract

       งานวิจัยนี้มีจุดประสงค์ในการศึกษาอิทธิพลกระแสเชื่อมโลหะโดยใช้ก๊าซแอ็คทีฟ (MAG)ที่มีผลต่อสมบัติของรอยต่อเกยเหล็กกล้า SPH590 รอยต่อที่ได้จากการเชื่อมด้วยกระแสเชื่อม 200,220,240 และ260 แอมแปร์ถูกนำไปทำการศึกษาค่าความแข็งแรงดึง ความแข็ง และโครงสร้างมหภาคของรอยต่อ ผลการทดลองโดยสรุปมีดังนี้ กระเชื่อมที่เหมาะสมที่ทำให้เกิดความแข็งแรงดึงสูงสุด 619 เมกกะปาสคาล คือ กระแสเชื่อม 200 แอมแปร์ การเพิ่มกระแสเชื่อมส่งผลทำให้การหลอมลึกเพิ่มขึ้น ความแข็งของโลหะเชื่อมลดลง และความแข็งแรงดึงของรอยต่อลดลง การลดลงของค่าความแข็งเมื่อใช้กระแสเชื่อมที่มีค่าสูงสามารถทำให้เกิดการเพิ่มค่าความแข็งแรงครากและมอดูลัสยืดหยุ่นซึ่งอาจมีประโยชน์ในการออกแบบโครงสร้างที่มีความยืดหยุ่นได้ต่อไป

Citation format:

อานนท์ เชียรประโคน. (2021). อิทธิพลกระแสเชื่อมโลหะโดยใช้ก๊าซแอ็คทีฟ ( MAG ) ต่อสมบัติของรอยต่อเกยเหล็กกล้า SPH590. เอกสารสืบเนื่องจากการประชุมระดับชาติมหาวิทยาลัยรังสิต ประจำปี 2564. วันที่ 30 เมษายน 2564.