RSUSCI-2021 & RSUSOC-2021

NA21-016 การศึกษาปัจจัยเพื่อวิเคราะห์พื้นที่เสี่ยงอุทกภัย กรณีศึกษาลุ่มน้ำมูลตอนล่าง

นำเสนอโดย: พชรพรรค์ พรมเหลา
ภาควิชาวิศวกรรมโยธา สาขาวิศวกรรมโครงสร้างพื้นฐานและการบริหาร, วิศวกรรมศาสตร์ บางเขน, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

Abstract

      งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลกระทบในการเกิดอุทกภัยและวิเคราะห์พื้นที่เสี่ยงอุทกภัยในลุ่มน้ำมูลตอนล่าง มีขนาดพื้นที่ 29,620.57 km2 นำมาทำการวิเคราะห์พื้นที่เสี่ยงอุทกภัยโดยการประยุกต์ใช้ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ร่วมกับกระบวนการวิเคราะห์แบบลำดับชั้นในการจำลองพื้นที่เสี่ยงอุทกภัย ใช้ปัจจัยสำหรับศึกษา 9 ปัจจัย เรียงลำดับความสำคัญจากมากไปน้อยดังนี้ ปริมาณฝน ความหนาแน่นสิ่งกีดขวางเส้นทางน้ำ การใช้ประโยชน์ที่ดิน ระยะห่างจากลำน้ำ ความหนาแน่นของลำน้ำ ความลาดชัน ขนาดพื้นที่ลุ่มน้ำย่อย การระบายน้ำของดิน และระดับความสูงของพื้นที่ จากผลการวิจัยสามารถแบ่งระดับความเสี่ยงพื้นที่อุทกภัยได้ 5 ระดับ พื้นที่เสี่ยงอุทกภัยสูงมากร้อยละ 5.24 พื้นที่เสี่ยงอุทกภัยสูงร้อยละ 11.77 พื้นที่เสี่ยงอุทกภัยปานกลางร้อยละ 13.54 พื้นที่เสี่ยงอุทกภัยต่ำ ร้อยละ 9.16 พื้นที่เสี่ยงอุทกภัยต่ำมากร้อยละ 3.43 คิดเป็นพื้นที่เสี่ยงอุทกภัยรวมทั้งสิ้น 12,777.96 km2 ผลงานวิจัยนี้มีการพัฒนาผลให้มีแนวโน้มของพื้นที่เสี่ยงอุทกภัยใกล้เคียงกับการเกิดอุทกภัยจริง จึงได้ทำการรวบรวมข้อมูล และเพิ่มปัจจัยในการศึกษาจากงานวิจัยอื่นที่ผ่านมา

 

Citation format:

พชรพรรค์ พรมเหลา, และพิพัฒน์ สอนวงษ์. (2021). การศึกษาปัจจัยเพื่อวิเคราะห์พื้นที่เสี่ยงอุทกภัย กรณีศึกษาลุ่มน้ำมูลตอนล่าง. เอกสารสืบเนื่องจากการประชุมระดับชาติมหาวิทยาลัยรังสิต ประจำปี 2564. วันที่ 30 เมษายน 2564.