RSUSCI-2021 & RSUSOC-2021

NA21-018 การพัฒนาต้นแบบเครื่องดูแลพืชแบบกึ่งอัตโนมัติสำหรับผู้ใช้ที่มีพื้นที่จำกัด ด้วยอินเทอร์เน็ตของสรรพสิ่ง

นำเสนอโดย: ปิติวัฒน์ จุลเกษมศักดิ์
สาขาวิชาเทคโนโลยีวิศวกรรมคอมพิวเตอร์, คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ

Abstract

       ในสภาวะปัจจุบันคนชุมชนเมืองให้ความสนใจในการดูแลสุขภาพตนเองโดยการปลูกพืชเพื่อรับประทานด้วยตนเอง แต่ด้วยข้อจำกัดของพื้นที่ในการปลูกพืชในชุมชนเมืองรวมทั้งเวลาและองค์ความรู้ในการดูแลพืชที่ไม่เพียงพอ ดังนั้นในบทความงานวิจัยนี้นำเสนอการพัฒนาต้นแบบเครื่องดูแลพืชแบบกึ่งอัตโนมัติสำหรับผู้ใช้ที่มีพื้นที่จำกัดด้วยอินเทอร์เน็ตของสรรพสิ่ง (Internet of Things, IoT) เพื่อช่วยแก้ปัญหาดังกล่าวของคนในชุมชนเมืองให้สามารถปลูกพืชด้วยตนเอง โครงสร้างของชุดการทดลองระบบต้นแบบกึ่งอัตโนมัตินี้ได้สร้างขึ้นและออกแบบด้วยโปรแกรม AutoCAD โดยปัจจัยหลักในการเจริญเติบโตของพืชประกอบด้วย ปริมาณน้ำที่เพียงพอ  แสงและอุณหภูมิที่เหมาะสม เป็นต้น ซึ่งถูกควบคุมด้วยการใช้ไมโครคอนโทรลเลอร์ร่วมกับเซนเซอร์ที่ถูกติดตั้งชุดคำสั่ง การพัฒนาเครื่องต้นแบบปลูกพืชกึ่งอัตโนมัติ เริ่มจากการศึกษาในส่วนอินเทอร์เน็ตของสรรพสิ่งและการจัดเก็บข้อมูล จากนั้นเริ่มทำการออกแบบเว็บไซต์นี้ด้วยภาษา HTML และ PHP เพื่อเชื่อมต่อการส่งข้อมูลระหว่างเครื่องต้นแบบปลูกพืชกึ่งอัตโนมัติด้วย cloud service และ web service จากผลการทดลองการปลูกพืชเป็นระยะเวลา 7  วัน ด้วยเครื่องต้นแบบปลูกพืชกึ่งอัตโนมัติ แสดงให้ว่าความยาวเฉลี่ยของลำต้นพืชเพิ่มขึ้นและให้ผลผลิตต่อพื้นที่ปลูกที่มีจำนวนมากกว่าเมื่อเปรียบเทียบกับการปลูกพืชที่ไม่ได้ควบคุมสภาวะแวดล้อม ซึ่งผลดังกล่าวแสดงให้เห็นใน ผลการทดลอง

Citation format:

ปิติวัฒน์ จุลเกษมศักดิ์, นรินทร์ จีระนันตสิน, และพนัสชัย ศรีบำรุง. (2021). การพัฒนาต้นแบบเครื่องดูแลพืชแบบกึ่งอัตโนมัติสำหรับผู้ใช้ที่มีพื้นที่จำกัด ด้วยอินเทอร์เน็ตของสรรพสิ่ง. เอกสารสืบเนื่องจากการประชุมระดับชาติมหาวิทยาลัยรังสิต ประจำปี 2564. วันที่ 30 เมษายน 2564.